Publication Ethics

วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม เป็นวารสารวิชาการทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้กำหนดจริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงานในวารสาร ดังนี้
บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ (Duties of Editors)
1. บรรณาธิการมีหน้าที่ในการพิจารณาความครบถ้วน สมบูรณ์ และคุณภาพของบทความ รวมถึงมีการปรับปรุงวารสารอย่างสม่ำเสมอ เพื่อคงไว้ซึ่งความถูกต้องของผลงานทางวิชาการ ที่ตีพิมพ์ในวารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
2. บรรณาธิการต้องไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์เผยแพร่จากที่อื่นมาแล้วทั้งในรูปแบบของวารสาร กรณีบทความที่เคยผ่านการนำเสนอในการประชุมวิชาการฉบับเต็ม (Proceeding) ผู้นิพนธ์ต้องแจ้งกองบรรณาธิการและระบุในบทความบริเวณเชิงอรรถ โดยระบุชื่อการประชุมและปีที่นำเสนอ
3. บรรณาธิการต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบทความแก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง ทั้งในด้านข้อมูลของผู้นิพนธ์หรือผู้ประเมินบทความ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการปกปิดข้อมูลทั้งสองทาง (double-blind) และปราศจากผลประโยชน์ทับซ้อน (conflict of interest: COI)
4. บรรณาธิการมีการดำเนินการให้บทความที่ส่งมาเพื่อขอรับการตีพิมพ์ในวารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ต้องได้รับการตรวจสอบคุณภาพของบทความว่ามีเนื้อหาที่มีความสอดคล้องตรงตามวัตถุประสงค์ของวารสาร โดยบทความต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (peer reviews) อย่างน้อย 2 คน เพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมและความถูกต้อง
5. บรรณาธิการต้องไม่ปฏิเสธการตีพิมพ์บทความที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดจนกว่าจะมีหลักฐานพิสูจน์ข้อสงสัยเหล่านั้น
6. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใดๆ กับผู้นิพนธ์และผู้ประเมิน รวมถึงปกป้องมาตรฐานของทรัพย์สินทางปัญญาจากความต้องการทางธุรกิจ
7. บรรณาธิการต้องมีการตรวจสอบการคัดลอกผลงานของผู้อื่น (Plagiarism) และคัดลอกผลงานของตนเอง (Self- Plagiarism) และหากมีหลักฐานหรือข้อยืนยันที่ชัดเจนว่ามีการคัดลอกผลงานของผู้อื่นหรือคัดลอกผลงานของตนเอง โดยไม่มีการปรับรูปแบบการเขียนหรือแก้ไขให้ถูกต้องตามหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณของนักวิจัยและนักวิชาการ บรรณาธิการจะปฏิเสธการตีพิมพ์บทความนั้นๆ ทันที
บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Authors)
1. ผู้นิพนธ์รับรองว่าบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ในวารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม จะต้องไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาเผยแพร่ขอตีพิมพ์ในวารสารอื่น
2. ผู้นิพนธ์รับรองว่าเนื้อหาในบทความเกิดจากการสังเคราะห์ความคิดขึ้นโดยผู้นิพนธ์เอง ไม่ได้ลอกเลียนหรือตัดทอนมาจากผลงานวิจัยของผู้อื่นรวมถึงคัดลอกผลงานวิชาการของตนเอง หรือจากบทความอื่นที่โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือปราศจากการอ้างอิงที่เหมาะสม
3. ผู้นิพนธ์ต้องเตรียมต้นฉบับบทความตามรูปแบบที่วารสารกำหนดใน “คำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับ วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม” (Author Guidelines)
4. ผู้นิพนธ์ยินดีแก้ไขบทความตามที่ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) และบรรณาธิการเสนอแนะ ภายในระยะเวลาที่กำหนด
5. ผู้นิพนธ์รับรองว่าบทความวิจัยที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นี้ ได้ผ่านการทำวิจัยและได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์แล้ว โดยบรรณาธิการวารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม สามารถร้องขอให้ผู้นิพนธ์ ส่งเอกสารการขออนุมัติจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (IRB) จากคณะกรรมการทางจริยธรรมในงานของผู้นิพนธ์ เพื่อยืนยันความถูกต้องตามหลักจริยธรรมอันเป็นการคุ้มครองผู้ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
6. ผู้นิพนธ์รับรองว่าบทความที่ส่งมาได้รับความเห็นชอบจากผู้นิพนธ์ร่วมทุกท่านแล้ว และต้องมีหนังสือรับรองจริยธรรมการส่งบทความ (วพมส 02) ตามรูปแบบของวารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
7. ผู้นิพนธ์รับรองว่าผลงานได้ผ่านการตรวจสอบการลอกเลียนงานวรรณกรรมด้วยระบบอักขราวิสุทธิ์หรือโปรแกรมอื่นที่เทียบเคียง (กรณีดุษฎีนิพนธ์/วิทยานิพนธ์) พร้อมแนบหลักฐาน (ถ้ามี)
8. ผู้นิพนธ์รับทราบว่าบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่นได้
9. ผู้นิพนธ์ต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (conflict of interest: COI) (ถ้ามี)
บทบาทและหน้าที่ของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ (Duties of peer reviews)
1. เมื่อทรงคุณวุฒิได้รับการประสานให้พิจารณาประเมินบทความ ขอให้แจ้งตอบรับการพิจารณาบทความให้บรรณาธิการวารสารทราบ ในกรณีที่ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ เช่น เป็นผู้ร่วมโครงการ หรือรู้จักผู้นิพนธ์เป็นการส่วนตัว หรือเหตุผลอื่นๆ ที่ไม่สามารถให้ข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะได้อย่างอิสระ ขอให้ผู้ทรงคุณวุฒิปฏิเสธการประเมินบทความในเรื่องนั้น
2. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ จะได้รับการประสานขอให้ประเมินบทความในสาขาที่ท่านมีความเชี่ยวชาญ ชำนาญตามที่ท่านได้ให้ข้อมูลไว้กับบรรณาธิการ โดยมีการประเมินและวิจารณ์เนื้อหาเชิงวิชาการ และให้ข้อคิดเห็นเชิงวิชาการ รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะต่อผู้นิพนธ์ในการอ้างอิงที่เหมาะสม น่าเชื่อถือ เพื่อให้บทความมีคุณภาพ มิใช่ ประเมินเฉพาะรายละเอียดของภาษาหรือ Format และไม่ควรใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลทางวิชาการรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความ
3. ในกรณีที่ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาแล้วเห็นว่าบทความที่ประเมินมีความเหมือน หรือซ้ำซ้อนกับผลงาน/บทความชิ้นอื่นๆ ขอให้ผู้ทรงคุณวุฒิแจ้งให้บรรณาธิการทราบด้วย เพื่อป้องกันการลอกเลียนผลงานทางวิชาการ (Plagiarism)
4. ผู้ทรงคุณวุฒิ ต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบทความที่ได้รับพิจารณาแก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ (Confidentiality)

กองบรรณาธิการ วารสารพยาบาลศาสตร์ มหวิทยาลัยสยาม

20 พฤศจิกายน 2562