ปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของสตรีวัยรุ่นที่ฝากครรภ์ ในโรงพยาบาลกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • สมฤดี ชื่นกิติญานนท์
  • พิชาภรณ์ จันทนกุล

คำสำคัญ:

การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์, สตรีวัยรุ่นที่มาฝากครรภ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของสตรีวัยรุ่นที่มาฝากครรภ์ โรงพยาบาลกระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ได้แก่  ค่านิยมทางเพศ สัมพันธภาพในครอบครัว  และผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ของสตรีวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ จำนวน 140 คน คัดเลือกด้วยวิธีการเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) อายุระหว่าง 11 - 19 ปี มารับบริการฝากครรภ์ที่แผนกรับฝากครรภ์ โรงพยาบาลกระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดค่านิยมทางเพศของสตรีวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์   แบบสอบถามสัมพันธภาพในครอบครัว แบบสอบถามผลต่อการตั้งครรภ์ในสตรีวัยรุ่น     เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน กรกฎาคม 2561 - สิงหาคม 2562  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและหาค่าความสัมพันธ์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า สัมพันธภาพของคนในครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับน้อย (r=.275) กับผลต่อการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของสตรีวัยรุ่นที่มาฝากครรภ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และค่านิยมทางเพศไม่มีความสัมพันธ์กับผลต่อการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของสตรีวัยรุ่นที่มาฝากครรภ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01ข้อเสนอแนะ การส่งเสริมให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลด้านสุขภาพหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น การให้ความรู้โดยเฉพาะด้านผลของการตั้งครรภ์วัยรุ่นและการปฏิบัติตัวของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น รวมทั้งครอบครัวและสถาบันการศึกษามีบทบาทสำคัญในการปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้อง

References

ฉัตรจงกล ตุลยนิษกะและวิรัชยา เจียวก๊ก. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลของการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของสตรีวัยรุ่นในจังหวัดพัทลุง. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. คณะครุศาสตร์สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี. อุบลราชธานี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประชิต สุขอนันต์, เฉลียว บุรีภักดี และสุมาลี พงศ์ติยะไพบูลย์. (2562). การพัฒนาค่านิยมและพฤติกรรมรักนวลสงวนตัวโดยการคิดเชิงระบบเสริมด้วยการกระจ่างค่านิยมและการสร้างพลังอำนาจแห่งตนของนักเรียนหญิงมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดเพชรบุรี. วารสารสมาคมนักวิจัย. 24(1): 136-150.

วิเชียร เกตุสิงห์. (2538). หลักการสร้างและวิเคราะห์เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กระทรวงสาธารณสุข. (2560). ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติ พ.ศ. 2560-2569 ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหา การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559.พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: เทพเพ็ญวานิสย์.

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กระทรวงสาธารณสุข. (2560). รายงานเฝ้าระวังการตั้งครรภ์แม่วัยรุ่น พ.ศ. 2560.

เข้าถึงจาก rh.anamai.moph.go.th/web-upload.

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานประจำปี 2563 สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์.เข้าถึงจาก rh.anamai.moph.go.th/web-upload.

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานเฝ้าระวังการตั้งครรภ์แม่วัยรุ่น พ.ศ. 2563. เข้าถึงจาก rh.anamai.moph.go.th/web-upload.

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายงานผลการวิเคราะห์สถานการณ์ตัวชี้วัดอัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปี พ.ศ. 2564. เข้าถึงจาก rh.anamai.moph.go.th/web-upload.

สุนีย์ กันแจ่ม. (2561). การพัฒนารูปแบบการป้องกันความเสี่ยงในการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นชายกับเพื่อนหญิง. ดุษฎีนิพนธ์สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

Crandall, R. C. (1980). Gerontology: A Behavioral Science Approach. Massachusetts: Addision-Wesley.

Orem, D.E. (1995). Nursing Concepts of practice. ST.Loius: Mosby-year book.

World Health Organization. (2018). World Hwalth Statistics 2018. Retrieved December 26, 2021. From https://who.int/docs/default-source/gho-documents/world-health-statistic-reports/6-june-18108-world-health-statistics-2018.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31

How to Cite

ชื่นกิติญานนท์ ส., & จันทนกุล พ. (2021). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของสตรีวัยรุ่นที่ฝากครรภ์ ในโรงพยาบาลกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 22(43), 62–76. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nursingsiamjournal/article/view/252773