ความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่อาศัยในชุมชน จังหวัดปทุมธานี: ความแตกต่างระหว่างเพศ

ผู้แต่ง

  • วิมลรัตน์ บุญเสถียร
  • Wilawan Udomkankaset School of Nursing, Rangsit University

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, เพศ, เบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงเปรียบเทียบแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ และเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพของหญิงและชายที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งอาศัยในชุมชน จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เลือกโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 330 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐาน และแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และความแตกต่างของความรอบรู้ด้านสุขภาพระหว่างเพศหญิงและชายโดยใช้สถิติ Mann Whitney U test ผลการวิจัย พบว่า ร้อยละ 54.4 ของหญิงที่เป็นเบาหวานมีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับที่ไม่เพียงพอ และร้อยละ 55.3 ของชายที่เป็นเบาหวานมีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับเพียงพอ ชายที่เป็นเบาหวานมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวม (Z= -1.989, p=.047) และด้านปฏิสัมพันธ์ (Z= -2.005, p=.045) สูงกว่าหญิงที่เป็นเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ข้อค้นพบนี้จะช่วยให้พยาบาลเข้าใจความแตกต่างของความรอบรู้ด้านสุขภาพระหว่างเพศหญิงและชายที่เป็นเบาหวาน และสามารถปรับรูปแบบการให้ข้อมูลด้านสุขภาพที่เหมาะสมกับเพศสภาพของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการต่อไป

References

กองโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. (2563). ข้อมูลโรคไม่ติดต่อ จำนวนอัตราป่วย ตาย ปี 2559-2562. Retrieved from http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=13893&tid=32&gid=1-020

ดุลยา จิตตะยโศธร. (2551). บทบาททางเพศ: ในทัศนะของนักจิตวิทยา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 28(1), 195–208.

นวพร วุฒิธรรม, พิมพ์นิภา ศรีนพคุณ, และฐิติวัชร์ วารีรัตน์ภากร. (2564). ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ทางสุขภาพในการควบคุม ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานขนิดที่ 2. วารสารการพยาบาลทหารบก, 22(2), 252–259.

นันทวรรณ อุดม, สุภาพิชย์ ขวานทอง, ณฐมน ธนภรสุวรรณ, ประเสริฐ ประสมรักษ์, และจนัญญา โหง่นคา. (2564). เปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่มีและมีภาวะแทรกซ้อน ในตำบลนาผือ อาเภอเมืองจังหวัดอานาจเจริญ. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 35(2), 77–93.

บุญสืบ โสโสม. (2560). การคำนึงถึงเพศสภาพ: ประเด็นสำคัญสำหรับการปฏิบัติในคลินิกและการศึกษาพยาบาล. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 25(2), 1–8.

พงษ์ศิริ งามอัมพรนารา, และสุจิตรา สุคนธทรัพย์. (2563). ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 46(2), 68–79.

ภานุวัฒน์ คำวังสง่า, และอรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์. (2563). สถานการณ์โรคไม่ติดต่อตาม 9 เป้าหมายระดับโลกของประเทศไทย. In อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์, ภาณุวัฒน์ คำวังสง่า, & สุธิดา แก้วทา (Eds.), รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562 (pp. 1–24). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

ยวิษฐา สุขวาสนะ, อรพินท์ สีขาว, และทวีศักดิ์ กสิผล. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลตนเองกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์, 11(1), 52–65.

วิไล วิชากร. (2561). แบบรายงานการตรวจราชการระดับจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 คณะที่ 1 การส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคและการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ หัวข้อ อัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน และ อัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จากกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง จังหวัดปทุมธานีเขตสุขภาพที่ 4 ตรวจราชการวันที่ 9 – 13 กรกฎาคม 2561. Retrieved from http://bie.moph.go.th/e-insreport/file_report/2018-08-06-08-21-46-11.pdf

สมพร รุ่งเรืองกลกิจ, อิงคฏา โคตนารา, เนตรชนก แก้วจันทา, และชมพูนุท กาบคำบา. (2560). ทัศนคติของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งต่อเพศภาวะในสังคมไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 43(2), 84–114.

สิทธานนท์ แจ่มหอม, ทัศนีย์ ศิลาวรรณ, สุนีย์ ละกำปั่น, และจุฑาธิป ศีลบุตร. (2564). ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้้าตาลในเลือดไม่ได้ ในหน่วยบริการปฐมภูมิ อ้าเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารสุขศึกษา, 44(1), 75–86.

Al Sayah, F., Majumdar, S. R., Williams, B., Robertson, S., & Johnson, J. A. (2013). Health literacy and health outcomes in diabetes: A systematic review. Journal of General Internal Medicine, 28(3), 444–452.

Bodur, A. S., Filiz, E., & Kalkan, I. (2017). Factors affecting health literacy in adults: A community based study in Konya, Turkey. International Journal of Caring Sciences, 10(1), 100–109.

Boonsatean, W., Carlsson, A., Dychawy Rosner, I, & Ostman, M. (2018). Sex-related illness perception and self-management of a Thai type 2 diabetes population: A cross-sectional descriptive design. BMC Endocrine Disorder, 18(1). DOI 10.1186/s12902-017-0229-8

Çaylan, A., Yayla, K., Öztora, S., & Dağdeviren, H. N. (2017). Assessing health literacy, the factors affecting it and their relation to some health behaviors among adults. Biomedical Research, 28(15), 6803-6807.

Charan, J., & Biswas, T. (2013). How to Calculate Sample Size for Different Study Designs in Medical Research? Indian Journal of Psychological Medicine, 35(2), 121–126.

Fransen, M. P., Von Wagner, C., & Essink-Bot, M. L. (2012). Diabetes self-management in patients with low health literacy: Ordering findings from literature in a health literacy framework. Patient Education and Counseling, 88(1), 44-53.

Goldman, B. (2017). Two minds: the cognitive differences between men and women. Retrieved from https://stanmed.stanford.edu/2017spring/how-mens-and-womens-brains-are-different.html

Hutteman, R., Hennecke, M., Orth, U., Reitz, A. K., & Specht, J. (2014). Developmental Tasks as a Framework to Study Personality Development in Adulthood and Old Age. European Journal of Personality, 28, 267–278.

Ishikawa, H., Takeuchi, T., & Yano, E. (2008). Measuring functional, communicative, and critical health literacy among diabetic patients. Diabetes Care, 31(5), 874–879.

Kim, S. H., & Lee, A. (2016). Health-Literacy-Sensitive Diabetes Self-Management Interventions: A Systematic Review and Meta-Analysis. Worldviews on Evidence-Based Nursing, 13(4), 324-333.

Nutbeam, D. (2000). Health literacy as a public health goal: A challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International, 15(3), 259–267.

Souza, J. G., Apolinario, D., Magaldi, R. M., Busse, A. L., Campora, F., & Jacob-Filho, W. (2014). Functional health literacy and glycaemic control in older adults with type 2 diabetes: A cross-sectional study. BMJ Open, 4(e004180).

Tang, Y. H., Pang, S. M. C., Chan, M. F., Yeung, G. S. P., & Yeung, V. T. F. (2008). Health literacy, complication awareness, and diabetic control in patients with type 2 diabetes mellitus. Journal of Advanced Nursing, 62(1), 74-83.

Tiller, D., Herzog, B., Kluttig, A., & Haerting, J. (2015). Health literacy in an urban elderly East-German population - Results from the population-based CARLA study. BMC Public Health, 15(1), 883.

World Health Organization. (1998). Health promotion glossary. Geneva: WHO.

World Health Organization. (2014). Process of translation and adaptation of instruments. Retrieved from http://www.who.int/Substance_Abuse/Research_Tools/Translation/En/

Wu, Y., Wang, L., Cai, Z., Bao, L., Ai, P., & Ai, Z. (2017). Prevalence and risk factors of low health literacy: A community-based study in Shanghai, China. International Journal of Environmental Research and Public Health, 14(6), E628

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31

How to Cite