การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้ระบบออนไลน์ในสถานการณ์โควิด-19
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนการสอนออนไลน์, การเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลออนไลน์, การฝึกปฏิบัติในสถานการณ์โควิด-19บทคัดย่อ
สถานการณ์แพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ท้าทายระบบการศึกษาทั่วโลก และมีผลให้สถาบันการศึกษาต้องจัดการเรียนการสอนออนไลน์อย่างไม่มีทางเลือก เช่นเดียวกับการศึกษาพยาบาลที่การฝึกปฏิบัติต้องหยุดชะงักลง จำเป็นต้องจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลออนไลน์ โดยผู้สอนมอบประสบการณ์ผ่านเทคโนโลยี ใช้กลยุทธ์และจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบตามแนวทาง ดังนี้ 1) ขั้นเตรียมการ ได้แก่ ออกแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เตรียมเทคโนโลยีและระบบการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ เตรียมสื่อการสอน เตรียมผู้สอน และเตรียมผู้เรียน 2) ขั้นสอน ได้แก่ ปฏิบัติบทบาทผู้สอน และปฏิบัติบทบาทผู้เรียน และ 3) ขั้นประเมินผล ได้แก่ ประเมินผลการเรียนรู้ สรุปการเรียนรู้ และสรุปจบหรือปิดการเรียนรู้ประจำวัน โดยผลการจัดการเรียนการสอนพบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่รับรู้ว่า ได้รับความรู้เพิ่ม เติมเต็มจากการเรียนทฤษฎี มีเวลาวิเคราะห์ปัญหา ได้จัดเรียงความคิดอย่างเป็นระบบและเชื่อมโยง เห็นภาพการทำงานบนหอผู้ป่วย ได้ชัดเจน เป็นรูปแบบการเรียนที่สนุก และรับรู้ว่าการฝึกภาคปฏิบัติออนไลน์ไม่ได้ปฏิบัติจริงกับผู้ป่วย ไม่เข้าถึงความรู้สึกของการปฏิบัติจริง และจำกัดการเรียนรู้จากผู้ป่วยรายอื่น สอดคล้องกับผู้สอนที่รับรู้ว่า มีเวลาเสริมความรู้ ทักษะการคิดวิเคราะห์ การเชื่อมโยงปัญหาผู้ป่วยให้ผู้เรียนมากขึ้น เป็นการพัฒนาผู้เรียนด้านต่าง ๆ ยกเว้นการลงมือปฏิบัติจริงกับผู้ป่วย สอนสนุกและท้าทาย แต่เหนื่อยและใช้เวลาเตรียมสอนมาก แนวทางการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลออนไลน์นี้ ผู้สอนต้องสร้างฉากในการเรียนรู้ให้เหมือนอยู่ในหอผู้ป่วยเพื่อดึงผู้เรียนเข้าสู่โลกเสมือนจริง และควรพัฒนาผู้ป่วยจำลองให้ได้มาตรฐานและนำมาใช้ในการสอนภาคปฏิบัติออนไลน์ต่อไป
References
คเชนทร์ ปิ่นสุวรรณ. (2564). Facilitating in simulation based learning. ใน โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาอาจารย์พยาบาลในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองขึ้น. สงขลา: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา.
จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. (2564). 6 เคล็ดลับในการเรียนการสอนออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพ. เข้าถึงจาก https://www.chula.ac.th/news/40851/
เดือนเพ็ญ บุญมาชู, ธัญทิพย์ คลังชำนาญและภรณี แก้วลี. (2564). ผลของการจัดการเรียนการสอนด้วย e-Learning ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในรายวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 1 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 15(37), 352-364.
ตรีภพ เลิศบรรณพงษ์. (2558). การจัดการเรียนการสอนแพทยศาสตร์ด้วยสถานการณ์จำลอง. เวชบันทึกศิริราช, 8(1), 39-46.
บุญทิพย์ สิริธรังศรี. (2563). การจัดการเรียนการสอนออนไลน์สู่กรอบมาตรฐานวิชาชีพการ สอนและสนับสนุนการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์, 2(3), 1-17.
ปาณิสรา สิงหพงษ์. (2560). การจัดการเรียนรู้ผ่านบทเรียนออนไลน์ด้วยโปรแกรม Google Site เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาโครงงานคอมพิวเตอร์ (ง31231) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสายปัญญารังสิต. เข้าถึงข้อมูลจาก http://www.ska2.go.th/reis/data/research/25630402_093123_1617. Pdf
พิเชษฐ์ แซ่โซว, ชูศักดิ์ ยืนนานและนัฐิยา เพียรสูงเนิน. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ในการศึกษาพยาบาลภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 26(2), 189-202.
ภัททิยา จันทเวช. (2561). การเตรียมความพร้อมนักศึกษาพยาบาลเพื่อลดความเครียดในการฝึกปฏิบัติงานห้องคลอด. วารสารเกื้อการุณย์, 25(1), 184-191.
เรณุมาศ มาอุ่น. (2559). การจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 9(2), 169-176.
วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์และจรรยา คนใหญ่. (2563). การเรียนการสอนแบบอนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(34), 285-298.
ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ. (2557). กลยุทธ์การเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์: แผนที่มโนทัศน์. วารสารครุศาสตร์, 42(3), 194-210.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2558). คู่มือหลักสูตรความปลอดภัยของผู้ป่วยขององค์การอนามัยโลก: ฉบับสหวิชาชีพ. (ฉบับภาษาไทย). นนทบุรี: หนังสือดีวัน จำกัด.
สุคนธ์ทิพย์ สุภาจันทร์. (2557). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการสอนที่ใช้สื่อการสอน E-book และการสอนปกติ. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 5(1), 57-66.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2562). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562. เข้าถึงข้อมูลจาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/057/T_0054.PDF
Dhawan, S., (2020). Online Learning: a panacea in the time of COVID-19 crisis. Journal of Educational Technology Systems. Jun, 20. doi: 10.1177/0047239520934018
DUQUESNE University School of Nursing, (2020). How to teach nursing students online: tips and resources for nurse educators. Retrieved from https://onlinenursing.duq.edu/blog/how-to-teach-nursing-students-online/online/
Joubert, S. (2020). How to be a successful online learner: 9 tips & strategies. Retrieved from https://www.northeastern.edu/bachelors-completion/news/successful-online-learning-strategies/
Meakim, C, Boese, T., Decker, S., Franklin, A.E., Gloe, D., Lioce, L., Sando, C.R. & Borum, J.C. (2013). Standard of best practice: simulation standard I: terminology. Clinical Simulation in Nursing, 9(6S), S3-S11.
Timken, M. (2021). Best Practices for teaching remotely. Retrieved from https://evolve.elsevier.com/education/expertise/faculty-development/best-practices-for-teaching-remotely/
Xia, L. (2020). 8 Tips for effective online learning. Retrieved from https://blog.coursera.org/8-tips-for-effective-online-learning/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยามถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง
บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยามทุกครั้ง