การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านการพยาบาลอนามัยชุมชนของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

ผู้แต่ง

  • Sanikan Seemanee, Lecturer (Ph.D) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
  • Chanida Mattavangkul, Lecturer (Ph.D) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
  • Penrung Nualcham, Lecturer คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

DOI:

https://doi.org/10.14456/jnsu.v20i39.185362

คำสำคัญ:

การพัฒนาตัวบ่งชี้, สมรรถนะด้านการพยาบาลอนามัยชุมชน, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

             การวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ รวมทั้งการยืนยันองค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านการพยาบาลอนามัยชุมชนของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ อาจารย์พยาบาลประจำสาขาการพยาบาลอนามัยชุมชนในคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม และ พยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่เป็นแหล่งฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 313 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม จำนวน 100 ข้อ ผ่านการตรวจสอบความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการศึกษาพบว่า 1. องค์ประกอบสมรรถนะด้านการพยาบาลอนามัยชุมชนของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ประกอบด้วย 4 สมรรถนะ 42 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) สมรรถนะด้านการปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชนตามมาตรฐานวิชาชีพ มี 22 ตัวบ่งชี้ 2) สมรรถนะด้านความสามารถในการบริหารจัดการตามหลักฐานเชิงประจักษ์และการเสริมสร้างพลังอำนาจ มี 13 ตัวบ่งชี้ 3) สมรรถนะด้านคุณธรรม จริยธรรม และผู้นำการเปลี่ยนแปลง มี 4 ตัวบ่งชี้ และ 4) สมรรถนะด้านมนุษยสัมพันธ์และการสื่อสาร มี 3 ตัวบ่งชี้                2. การยืนยันองค์ประกอบสมรรถนะด้านการพยาบาลอนามัยชุมชนของนักศึกษาพยาบาล โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญยืนยันงานวิจัยครั้งนี้ ทั้ง 4 องค์ประกอบในประเด็นความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ และความถูกต้องครอบคลุมคิดเป็นร้อยละ100  จากผลการวิจัยนี้ให้ข้อเสนอแนะว่าควรนำตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านการพยาบาลอนามัยชุมชนไปประยุกต์ใช้ในการกำหนดนโยบายและกรอบทิศทางการบริหาร การจัดทำแผนกลยุทธ์ การจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการพัฒนานักศึกษา เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการพยาบาลอนามัยชุมชนให้กับนักศึกษาพยาบาล

Author Biography

Sanikan Seemanee, Lecturer (Ph.D), คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม เลขที่ 38 แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพ 10160

References

กองการพยาบาลสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. (2551). สมรรถนะพยาบาลเยี่ยมบ้าน. วันที่ค้นข้อมูล 10 กรกฎาคม 2559, เข้าถึงได้จาก https://phn.bangkok.go.th
กิตติพร เนาว์สุวรรณ, เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ และวิทวัส ดิษยะศริน สัตยารักษ์. (2558). การพัฒนาตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 7(3), 59-73.
คณะกรรมการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ. (2555). การประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5. วันที่ค้นข้อมูล 10 กรกฎาคม 2559, เข้าถึงได้จาก https:// www.samatcha.org/node/67
จันทิมา พรเชนศวรพงศ์, เพ็ญศรี ละออ และกวินทร์นาฏ บุญชู. (2559). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บตามหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลนครนายก. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 26(2), 89-102.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2550) การสรรหา การคัดเลือกและการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุศบงค์ ตุ้มสวัสดิ์, สหัทยา รัตรจรณะ และสุวดี สกุลคู. (2556). สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง หอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลศูนย์ กระทรวงสาธารณสุข. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 21(3), 36-47.
ปานทิพย์ ปูรณานนท์ และทัศนีย์ เกริกกุลธร. (2554). ความสามารถและทัศนคติในการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์, 29(1), 45-53.
ปานทิพย์ ปรูณานนท์. (2557). สภาพการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้นักศึกษาพยาบาลมีความสามารถในการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ภายใต้หลักฐานเชิงประจักษ์. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 24(1), 30-44.
พิศสมัย อรทัย และเพชรรัตน์ เกิดดอนแฝก.(2553). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณธรรมจริยธรรมสำหรับนักศึกษาพยาบาล. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 16(3), 350-363.
มุสลินท์ โต๊ะกานิ, อัชฌา สุวรรณกาญจน์. (2555). วิจัยและพัฒนาสมรรถนะเชิงพื้นที่ทางการพยาบาลอนามัยชุมชนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานของพยาบาลในจังหวัดชายแดนภาคใต้. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
เยาวเรศ ประภาษานนท์, บัณฑิตา ภูอาษา, แสงเดือน กิ่งแก้ว. (2559). การรับรู้สมรรถนะปฏิบัติการพยาบาลอนามัยครอบครัวและชุมชนของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 26(1), 23-33.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ. วันที่ค้น
ข้อมูล 10 กรกฎาคม 2559, เข้าถึงได้จาก: https://polsci.pn.psu.ac.th สภาการพยาบาล. สมรรถนพยาบาลวิชาชีพทั่วไปที่สําเร็จการศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรีพ.ศ. 2552.
วันที่ค้นข้อมูล 10 กรกฎาคม 2559, เข้าถึงได้จาก: https://www.tnc.or.th

สุรีพร ดวงสุวรรณ์, พูลสุข หิงคานนท์, ปกรณ์ ประจัญบาน และกาญจนา สุขแก้ว. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะในการปฏิบัติงานกับคุณภาพการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิและตติยภูมิ เขตตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุขที่ 17. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 5(2), 67-77.
สุนิต โชติกุล. (2553). การศึกษาสมรรถนะตนเองของพยาบาลประจำกลุ่มภารกิจหัวหน้าศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. วารสารกองการพยาบาล, 37(2), 15-26.
สุนีย์ เครานวล, อุไร หัถกิจ และอุมาพร ปุญญโสพรรณ. (2552). การให้ความหมาย ความรู้สึก แรงจูงใจและเงื่อนไขการปฏิบัติหน้าที่ของพยาบาลในสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารสภาการพยาบาล, 24(2), 64-77.
สมใจ วินิจกุล.(2552). อนามัยชุมชน กระบวนการวินิจฉัยและการแก้ปัญหา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ:
ฟันนีพับบลิชิ่ง.
สุทธิศักดิ์ สุริรักษ์, อุไร จักษ์ตรีมงคล, อนันต์ มาลารัตน์ และปริญญา จิตอร่าม. (2560). ผลการสังเคราะห์ตัวชี้วัดสมรรถนะตามอัตลักษณ์ของบัณฑิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ (สาธารณสุขชุมชน) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร สถาบันพระบรมราชชนก. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 10(4), 76-94.
อมร สุวรรณนิมิตร.(2553). การพยาบาลปฐมภูมิกับการสร้างเสริมพลังอำนาจชุมชน. มหาสารคาม:
อภิชาติการพิมพ์.
อาภาพร เผ่าวัฒนา. (2555). การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน: การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีการปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
ภาษาอังกฤษ
Allender, J. A. (2010). Community health nursing promoting and protecting the public's Health (5th ed.). China: Lippincott Williams.
Bessie, L.M., & Huston, C.J. (1992). Leadership Roles and Management Function in Nursing:
Theory and Application. China : Lippincott Williams & Wilkins.
Clark, M. J. (2008). Community health nursing; advocacy for population health (5th ed.). U.S.A.: Pearson Prentice Hall.
Fuller, B. (2013). Evidence-based instruction strategies: Facilitating Linguistically diverse nursing student Learning. Nurse educator, 38(3), 118-121.
Grant, A. B. (1994). The professional nurse. The United State of America: springhouse.
Hakan, Ozdemir M., et al.(2009). Midwives and Nurses Awareness of Patients’ Rights.
Midwifery Journal, 25(6), 756-765.
Josse, Eklund A., et al. (2013). Individual and Organizational Factors Influencing
Registered Nurses’ Attitudes towards Patient Advocacy in Swedish Community
Health Care of Elders. Scandinavian Journal of Caring Science, 28(1), 371-380.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-23

How to Cite

Seemanee, S., Mattavangkul, C., & Nualcham, P. (2020). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านการพยาบาลอนามัยชุมชนของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 20(39), 20–35. https://doi.org/10.14456/jnsu.v20i39.185362