ปัจจัยทำนายพฤติกรรมความปลอดภัยในการให้ยาเคมีบำบัดของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

อัจฉรา นบนอบ
แอนน์ จิระพงษ์สุวรรณ
สุรินธร กลัมพากร
สุคนธา ศิริ

บทคัดย่อ

            การวิจัยภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมความปลอดภัยในการให้ยาเคมีบำบัดของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้แนวคิดปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการให้ยาเคมีบำบัด ได้แก่ ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล บรรยากาศความปลอดภัยในการให้ยาเคมีบำบัด ความรู้ในหลักปฏิบัติการให้ยาเคมีบำบัดอย่างปลอดภัย และแรงจูงใจที่จะปฏิบัติตามหลักปฏิบัติการให้ยาเคมีบำบัดอย่างปลอดภัย เป็นกรอบในการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 244 คน จากโรงพยาบาล 3 แห่ง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแนวคิดเรื่องปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความปลอดภัย ประกอบด้วย คุณลักษณะส่วนบุคคล บรรยากาศความปลอดภัยในการให้ยาเคมีบำบัด ความรู้ในหลักปฏิบัติการให้ยาเคมีบำบัดอย่างปลอดภัย แรงจูงใจที่จะปฏิบัติตามหลักปฏิบัติการให้ยาเคมีบำบัดอย่างปลอดภัย และพฤติกรรมความปลอดภัยในการให้ยาเคมีบำบัด ความตรงตามเนื้อหาของแบบสอบถาม อยู่ในช่วง 0.82 - 0.98 ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามอยู่ในช่วง 0.72 - 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา เปรียบเทียบความแตกต่างของพฤติกรรมความปลอดภัยด้วยสถิติ Mann-Whitney U-test วิเคราะห์ปัจจัยทำนายด้วยสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
            ผลการศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมความปลอดภัยในการให้ยาเคมีบำบัดของพยาบาลวิชาชีพ อยู่ในระดับมากที่สุด และพบว่า ระยะเวลาในการบริหารยาเคมีบำบัด มีความสัมพันธ์เชิงลบกับพฤติกรรมความปลอดภัยในการให้ยาเคมีบำบัดของพยาบาลวิชาชีพ (r = -0.13, p = 0.048) ประสบการณ์การได้รับการอบรมเกี่ยวกับการให้ยาเคมีบำบัด (r = 0.07, p = 0.293)  บรรยากาศความปลอดภัยในการให้ยาเคมีบำบัด (r = 0.45, p < .001) ความรู้ในหลักปฏิบัติการให้ยาเคมีบำบัดอย่างปลอดภัย (r = 0.23, p < .001) และแรงจูงใจที่จะปฏิบัติตามหลักปฏิบัติการให้ยาเคมีบำบัดอย่างปลอดภัย (r = 0.53, p < .001) มีความ สัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการให้ยาเคมีบำบัดของพยาบาลวิชาชีพ (z = 3.66, r = 0.45, r = 0.23, r = 0.53) และพบว่า แรงจูงใจที่จะปฏิบัติตามหลักปฏิบัติการให้ยาเคมีบำบัดอย่างปลอดภัย และบรรยากาศความปลอดภัยในการให้ยาเคมีบำบัด สามารถทำนายพฤติกรรมความปลอดภัยในการให้ยาเคมีบำบัดของพยาบาลวิชาชีพได้ ร้อยละ 31.3

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Maikiaw C, Tamdee D. The effects of clinical nursing practice guideline to prevent oral mucositis among cancer patients received chemotherapy. Nursing Journal 2010;37(1):86-95. (in Thai).

Polovich M. Developing a hazardous drug safe-handling program. Community Oncology 2005;2(5):403-5.

Vollono C, Badoni G, Petrelli G. Risk perception and self assessment of exposure to antineoplastic agents in a group of nurses and pharmacists. G Ital Med Lav Ergon 2002;24(1):49-55.

Skov T, Maarup B, Olsen J, Rørth M, Winthereik H, Lynge E. Leukaemia and reproductive outcome among nurses handling antineoplastic drugs. Br J Ind Med 1992;49(12):855-61.

Krstev S, Perunicić B, Vidaković A. Work practice and some adverse health effects in nurses handling antineoplastic drugs. Med Lav 2003;94(5):432-9.

Thailand Nursing and Midwifery Council. Announcement of the Thailand Nursing and Midwifery Council about prohibition do not give drugs or solutions intravenously. Royal Thai Government Gazzette B.E.2551, 125 (Session No.4ง): 103-4. (7 January B.E.2551). (in Thai).

Hengpraprom S, Kulwanvijit N, Jiamjarasrangsi W. Investigation of safety precautions of healthcare workers in handling antineoplastic drugs at King Chulalongkorn Memorial Hospital. Chula Med J 2006;50(5):319-30.

Najuang N. Factors associated with occupational exposure to chemotherapeutic drugs of personel in Onco wards. [Master’s Thesis, Faculty of Medicine]. Srinakharinwirot University; 2012. (in Thai).

Silpasuwan P. Occupational health nursing: concepts and practice. 3rd ed. Bangkok: Danex Intercorporation; 2015. (in Thai).

Thetkhathuek A. Occupational health and safety. 3rd ed. Bangkok: Odean Store; 2008. (in Thai).

Yoosook W. Occupational health safety and environments. 2nd ed. Bangkok: Nam Akson Printing House; 2011. (in Thai).

Jirapongsuwan A. Work environment and health risk: principles and application for occupational health nursing. Bangkok: Danex Intercorporation; 2018. (in Thai).

Banchuen K. Safety and pollution control. Nonthaburi: SSO Books; 2003. (in Thai).

Neal A, Griffin MA, Hart PM. The impact of organizational climate on safety climate and individual behavior. Safety Science 2000;34(1-3):99-109.

Bloom BS, editor. Taxonomy of educational objective, handbook I: the cognitive domain. New York: David McKay; 1956.

Boonbumroe S. Work safety behaviors of nurse in Maharat Nakhon Ratchasima hospital, Nakhon Ratchasima. The Journal of Boromarajonani College of Nursing, Nakhonratchasima 2014;20(2):82-92. (in Thai).

Bunrodrux J, Khumyu A, Wongsuttitham S. Factors predicting patient safety competence of professional nurse in community hospitals, Chonburi province. Royal Thai Navy Medical Journal 2019;46(3):552-65. (in Thai).

Probst TM, Brubaker TL. The effect of job insecurity on employee safety outcomes: cross-sectional and longitudinal explorations. J Occup Health Psychol 2001;6(2):139-59.

Pound R. Employees behaving safety in 2009. [Internet]. [cited 2016 November 15]. Available from: http://www. Apbusinesscontact.com/ hr-pb_4/health-employees.aspx.