การบริหารจัดการอุบัติการณ์ในโรงพยาบาลโดยหลักการพื้นฐานของ ITIL

ผู้แต่ง

  • กิตติศักดิ์ แก้วบุตรดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อัจฉรา กิจเดช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2023.24

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการอุบัติการณ์, การบริการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ, การจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

บทคัดย่อ

            คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล มีพันธกิจในการเรียนการสอน การวิจัย และให้บริการผู้ป่วยที่ได้มาตรฐานสากล โดยจำนวนผู้ป่วยนอกที่มารับบริการในปี พ.ศ. 2561 มีจำนวนทั้งสิ้น 3,086,866 ราย และผู้ป่วยในทั้งสิ้น 84,133 ราย ในกระบวนการให้บริการตามพันธกิจของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้มีนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาสนับสนุนในการให้บริการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตามยุทธศาสตร์ที่ 1 ปฏิรูปเพื่ออนาคตเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี ส่งผลทำให้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศภายในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คือหัวใจหลักในการขับเคลื่อน และพัฒนาเพื่อบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

            ในการให้บริการผู้ป่วยที่มีจำนวนมากของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้องมีความพร้อมในการให้บริการตลอดเวลา ดังนั้นเมื่อระบบเกิดความขัดข้อง บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ต้องแจ้งอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อทำการแก้ไขอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที และเป็นการลดผลกระทบที่มีต่อการให้บริการผู้ป่วย

            ฝ่ายสารสนเทศ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้นำหลักการของ Information Technology Infrastructure Library: ITIL มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลมีวัตถุประสงค์เพื่อกู้คืน และซ่อมแซมระบบให้สามารถกลับมาให้บริการแก่ผู้ป่วยให้ไวที่สุด เพื่อลดผลกระทบและความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นในวงกว้างแก่การให้บริการผู้ป่วย

References

คณะแพทยศาสตริศิริราชพยาบาล. (2562, 28 พฤศจิกายน). รู้จักองค์กร. https://www.si.mahidol.ac.th/th/history.asp

คณะแพทยศาสตริศิริราชพยาบาล. (2563, 11 ธันวาคม). แผนยุทธศาสตร์. https://www.si.mahidol.ac.th/th/strategic.asp

ฝ่ายสารสนเทศ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. (2562, 17 ธันวาคม). รายงานการประชุม Incident. ณ ห้องประชุม 728 อาคารศรี-สวรินทิรา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. มหาวิทยาลัยมหิดล.

Agutter, C. (2019). ITIL® 4 Essentials: Your essential guide for the ITIL 4 foundation exam and beyond. Cambridgeshire, IT Governance.

ClydeBank Technology. (2017). ITIL for beginners: the complete beginner's guide to ITIL. (2nd ed.). ClydeBank Media.

Faculty of Medicine Siriraj Hospital. (2018). Statistical report 2018 (ISBN 978-616-443-354-0). Retrieved from https://www.si.mahidol.ac.th/office_h/medrecord/stunit/PDF/Statistical%20report%202018.pdf

Forte, D. (2007). Security standardization in incident management: the ITIL approach. Network Security, 2007(1), (pp. 14-16).

Line, B. M. (2015). Understanding information security incident management practices: a case study in the electric power industry. [Thesis for the degree of Philosophiae Doctor, Norwegian University of Science and Technology, Norway].

Line, M. B., Tondel, I. A., & Jaatun, M. G. (2014). Information security incident management: Planning for failure. 2014 Eighth International Conference on IT Security Incident Management & IT Forensics. (pp. 47-61).

Line, M. B., Tøndel, I. A., & Jaatun, M. G. (2016). Current practices and challenges in industrial control organizations regarding information security incident management – Does size matter? Information security incident management in large and small industrial control organizations. International Journal of Critical Infrastructure Protection, 12, 12–26.

Long, J. O. (2012). ITIL 2011 At a Glance. Springer.

Meyler, K., Hoecke, K. V., Erskine, S., & Buchanan, S. (2014). System center 2012 service manager unleashed. Sams.

Pemble, M. W. A., & Goucher, W. F. (2018). The CIO’s Guide to Information Security Incident Management.CRC Press.

Persse, J. (2016). The ITIL process manual best practice library. Van Haren.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-08

ฉบับ

บท

บทความทางวิชาการ