การเตรียมต้นฉบับและการเขียนอ้างอิง

                                                               

คำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร Mahidol R2R e-Journal

 

  1. ผู้รับผิดชอบส่งบทความ (Corresponding Author) สมัครสมาชิกผ่านระบบ Thaijo และให้พิมพ์ต้นฉบับทาง electronic เท่ากับขนาดกระดาษ A4 ไม่เกิน 15 หน้า (รวมบทคัดย่อ) โดยใช้ตัวอักษร ThaiSarabunPSK ขนาดตัวอักษรตามกำหนดในแบบฟอร์มวารสาร และขอให้แนบแบบฟอร์มการส่งบทความ ที่มีรายละเอียดประกอบไปด้วยชื่อบทความ ประเภทบทความ ชื่อผู้นิพนธ์ สถานที่ติดต่อ การรับรองจริยธรรมการวิจัย และการรับรองการส่งบทความ และส่งต้นฉบับออนไลน์ที่ https://hetci-thaijo.org/index.php/mur2r/index และสามารถติดตามสถานะใน website ดังกล่าวได้

  2. การเว้นระยะขอบ

                 - ด้านบนและด้านซ้ายเว้นจากขอบ 1.25 นิ้ว

                - ด้านล่างและด้านขวาเว้นจากขอบ 1 นิ้ว

  1. การเว้นระยะห่างระหว่างบรรทัด

                - ระหว่างหัวข้อกับเนื้อหา ใช้ระยะห่างระหว่างบรรทัดเท่ากับ 1.5 บรรทัด

                - ระหว่างเนื้อหา ใช้ระยะห่างระหว่างบรรทัดเท่ากับ 1 บรรทัด

  1. การแบ่งส่วน (Section) แบ่งเป็นสองส่วน

                - ส่วนแรกประกอบด้วย เนื้อเรื่อง ผู้เขียนและผู้ร่วมงาน สถานที่ทำงานและบทคัดย่อ

                - ส่วนที่สองประกอบด้วย ส่วนที่เหลืออื่น ๆ ของบทความ

  1. ตาราง ให้จัดทำไฟล์ตาราง 1 ไฟล์ต่อ 1 ตาราง และตั้งชื่อไฟล์ตารางให้สอดคล้องกับชื่อตารางที่ระบุไว้ในวารสาร เช่น ตารางที่ 1 ชื่อไฟล์ตารางที่ 1 พิมพ์ชื่อและลำดับที่ของตารางเหนือตารางตัวอักษรขนาด 16 Point และพิมพ์คำอธิบายเพิ่มเติมใต้ตารางตัวอักษรขนาด 14 Point ข้อความในตารางตัวอักษรขนาด 12 Point ตาราง ทุกตารางจะต้องมีหมายเลขและคำบรรยายกำกับเหนือตารางหมายเลขกำกับและคำบรรยายนี้รวมกันแล้วควรจะมีความยาวไม่เกิน 1 บรรทัด

  2. รูปภาพ ให้จัดทำไฟล์รูปภาพ 1 ไฟล์ต่อ 1 รูปภาพ และตั้งชื่อไฟล์รูปภาพให้สอดคล้องกับชื่อรูปภาพที่ระบุไว้ในวารสาร เช่น รูปภาพที่ 1 ชื่อไฟล์รูปภาพที่ 1 พิมพ์ชื่อและลำดับที่ของรูปใต้รูปพร้อมคำบรรยาย รูปภาพควรมีขนาดที่เหมาะสม ไม่เล็กเกินไป คำบรรยายใต้ภาพอักษรขนาด 14 Point การเรียงลำดับตารางและรูปภาพให้แยกการเรียงลำดับออกจากกัน พร้อมทั้งระบุหมายเลขลำดับตารางและรูปภาพในบทความให้เป็นรูปที่ และตารางที่ เช่น รูปที่ 1, รูปที่ 2 ตารางที่ 1, ตารางที่ 2

  3. สมการ การเขียนสมการให้ระบุลำดับของสมการโดยใช้ตัวเลขที่พิมพ์อยู่ในวงเล็บ

  4. การอ้างอิงในเนื้อหาของเอกสาร เป็นการเขียนอ้างอิงจากการถอดความ หรือการสรุปความจากผลงานของผู้อื่น จะใช้การอ้างอิงหน้าข้อความ หรือท้ายข้อความก็ได้ โดยให้ระบุชื่อผู้เขียนและนามสกุลสำหรับผู้เขียนชาวไทย ถ้าเป็นผู้เขียนชาวต่างชาติให้ระบุเฉพาะชื่อสกุล (รายละเอียดสามารถดาวน์โหลดลิงก์ล่างนี้)

  5. การเขียนรายการบรรณานุกรม และรายการอ้างอิงท้ายบทความ ให้ใช้รูปแบบ APA 7th โดยมีรูปแบบดัง (รายละเอียดสามารถดาวน์โหลดลิงก์ล่างนี้)

  6. วิธีการจัดเรียงรายการบรรณานุกรม และรายการอ้างอิงท้ายบทความ โดยจัดเรียงรายการภาษาไทยก่อนภาษาอังกฤษ  รายการภาษาไทยใช้หลักการเดียวกับการเรียงคำในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน โดยเรียงตามรูปพยัญชนะ ก-ฮ ส่วนคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะเดียวกันให้เรียงตามรูปสระ ดังนี้ อะ อัว อัวะ อา อำ อิ อี อึ อื อุ อู เอะ เอ เอาะ เอา เอิน เอีย เอียะ เอือ เอือะ แอ แอะ โอ โอะ ใอ ไอ   สำหรับรายการภาษาอังกฤษใช้หลักการเดียวกับการเรียงคำใน Dictionary โดยเรียง A-Z 

    หมายเหตุ : ข้อ 8-10 รวบรวมเรียบเรียงโดย นางสาวโสมรัศมิ์ พิบูลย์มณี สังกัดหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล

    เอกสารอ้างอิง :

                  American Psychological Association. (2020). Publication manual of the American    

                         Psychological Association: The official guide to APA style (7th ed.). American

                         Psychological Association.

  7. การตรวจแก้ไขและการยอมรับการตีพิมพ์

         11.1 การติดต่อผู้เขียนเพื่ออการตรวจแก้ไข หรือตอบรับ/ปฏิเสธการตีพิมพ์ จะดำเนินการผ่านระบบวารสาร

         11.2 เรื่องที่ผ่านการพิจารณาให้ตีพิมพ์จากผู้ทรงคุณวุฒิฯ หรือผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง (ทั้งภายในและภายนอก) อย่างน้อย 2 ท่าน จึงจะยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสาร

          11.3 กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิในการตรวจแก้ไขบทความที่จะส่งไปลงพิมพ์ทุกเรื่องตามที่เห็นสมควร โดยจะส่งบทความฉบับที่แก้ไขแล้วคืนผู้นิพนธ์ เพื่อพิจารณาและให้ความเห็นชอบอีกครั้งก่อนพิมพ์

  8. ข้อความลิขสิทธิ์ (Copyright text)

          บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร Mahidol R2R e-Journal  กองทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้นำข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ไปพิมพ์เผยแพร่ได้ แต่ห้ามนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ หรือมีเจตนาเอื้อผลประโยชน์ในทางธุรกิจใด ๆ

          ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ความรับผิดชอบ องค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว

  9. คำชี้แจงสิทธิส่วนบุคคล (Privacy statement)
    ชื่อและที่อยู่อีเมลที่ป้อนในเว็บไซต์วารสารนี้จะถูกใช้เพื่อจุดประสงค์ที่ระบุไว้ในวารสารนี้เท่านั้นและจะไม่สามารถใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นใด