คำถามที่พบบ่อย

images บทความทางวิชาการ หรือคู่มือปฏิบัติงาน ทำมานานมากแล้วจะนำมาใช้นับเป็นชิ้นงานที่นำเสนอได้ หรือไม่ (มีอายุงานของชิ้นงานกำหนดหรือไม่)?

ตอบ ผลงานที่ใช้เสนอขอตำแหน่งสูงขึ้นไม่มีกำหนดระยะเวลาในการนำมาใช้ แต่ถ้าผลงานนั้นเก่ามากเกินไป และมีองค์ความรู้ใหม่หรือวิทยาการใหม่ในเรื่องนั้นๆ มักจะทำให้คุณภาพของผลงานดังกล่าวด้อยลง


imagesผลงานวิจัย กำหนดอายุงานหรือไม่?

ตอบ ไม่มีกำหนดระยะเวลาแต่ถ้าผลงานนั้นเก่ามากเกินไป และมีองค์ความรู้ใหม่หรือวิทยาการใหม่ในเรื่องนั้นๆ มักจะทำให้คุณภาพของผลงานดังกล่าวด้อยลง


imagesผลงานวิจัยที่ได้จัดทำมีการออกไปนำเสนอที่ประชุมในระดับประเทศ (วทท) เสนอโปสเตอร์ 4 ครั้ง จะนำมาเสนอขอตำแหน่งได้หรือไม่?

ตอบ การเผยแพร่ผลงานวิจัยสามารถเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังนี้
1.    เผยแพร่ในรูปของบทความวิจัยในวารสารทางวิชาการ ที่มีกองบรรณาธิการประเมินและตรวจสอบ คุณภาพ ทั้งนี้วารสารทางวิชาการนั้น อาจเผยแพร่เป็นรูปเล่ม สิ่งพิมพ์  หรือเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีกำหนดการเผยแพร่อย่างแน่นอน ชัดเจน
2.   เผยแพร่ในหนังสือรวมบทความวิจัยในรูปแบบอื่นที่มีกองบรรณาธิการประเมินและตรวจสอบคุณภาพ
3.   นำเสนอเป็นบทความวิจัยต่อที่ประชุมวิชาการ ซึ่งภายหลังจากการประชุมทางวิชาการได้มีกองบรรณาธิการ นำไปรวมเล่ม เผยแพร่ในหนังสือประมวลผลการประชุมทางวิชาการ (Proceedings) ของการประชุมทางวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติกรณีบทคัดย่อ (Abstract) หรือการเสนอโปสเตอร์ (Poster Presentation) ไม่เข้าข่ายเป็นผลงานวิจัย ตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
4.   การเผยแพร่รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ที่มีรายละเอียดและความยาวต้องแสดงหลักฐานว่าได้ผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ  และแสดงหลักฐานว่าได้เผยแพร่ไปยังวงวิชาการและวิชาชีพนั้น และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องในประเทศและต่างประเทศอย่างกว้างขวาง


imagesคุณภาพงานในระดับดี ดีมาก หรือดีเด่น วัดจากตรงไหน แบบฟอร์มการขอเลื่อนตำแหน่งขอได้ที่ไหน?

ตอบ เกณฑ์ระดับคุณภาพ และแบบฟอร์มต่างๆ สามารถศึกษารายละเอียดและ download แบบฟอร์มได้จากใน website   ของกองทรัพยากรบุคคล ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินเพื่อแต่งตั้งพนักงาน     มหาวิทยาลัยประเภทสนับสนุนให้มีความก้าวหน้าในตำแหน่งผู้ชำนาญงาน ผู้ชำนาญงานพิเศษ ผู้ชำนาญการพิเศษ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้เชี่ยวชาญพิเศษ พ.ศ.2556


imagesขณะนี้อยู่ระดับชำนาญการ จะทำผลงานระดับชำนาญการพิเศษ ผลงานที่เสนอขอประกอบด้วย        
    1. ผลงานเชิงวิเคราะห์ และ 2. งานวิจัยหรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ใช่หรือไม่?

ตอบ ประเภทผลงานและจำนวนผลงานดังกล่าวเป็นการเสนอขอตำแหน่งชำนาญการพิเศษของข้าราชการ


imagesงานวิจัยหรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น หมายถึงอะไร?

ตอบ ผลงานวิจัย หมายความว่า ผลงานทางวิชาการที่เป็นงานศึกษาหรืองานค้นคว้าอย่างมีระบบด้วยวิธีวิจัยที่เป็น ที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ และมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล คำตอบหรือข้อสรุปรวมที่จะ นำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือเอื้อต่อการนำวิชาการนั้นไปประยุกต์
         ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น หมายความว่า  สิ่งประดิษฐ์หรืองานสร้างสรรค์ อาทิ การประดิษฐ์         เครื่องทุ่นแรง  ผลงานการสร้างสิ่งมีชีวิตพันธุ์ใหม่ วัคซีน สิ่งก่อสร้าง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือผลงานด้าน     ศิลปะหรือสารานุกรม หรือผลงานทางด้านดนตรี รวมถึงงานแปลจากตัวงานต้นแบบที่ได้รับอนุญาตจาก         เจ้าของลิขสิทธิ์  ที่เป็นงานวรรณกรรม หรืองานด้านปรัชญา หรือประวัติศาสตร์ หรือวิทยาการสาขาอื่นบาง  สาขาที่มีความสำคัญและทรงคุณค่าในสาขาวิชานั้นๆ ซึ่งเมื่อนำมาแปลแล้วจะเป็นการเสริมความก้าวหน้าทาง วิชาการที่ประจักษ์ชัด เป็นการแปลจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย หรือจากภาษาไทยเป็น   ภาษาต่างประเทศ  หรือแปลจากภาษาต่างประเทศหนึ่งเป็นภาษาต่างประเทศอีกภาษาหนึ่ง หรือผลงานใน   ลักษณะอื่นตามประกาศของคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง การเสนอผลงานทางวิชาการ ๒๒ รูปแบบ     สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปกรรม

 


imagesลูกจ้างประจำสามารถทำผลงานขอตำแหน่งได้หรือไม่?

ตอบ ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วย วิธีการประเมินเพื่อแต่งตั้งพนักงานมหาวิทยาลัยประเภทสนับสนุนให้ดำรงตำแหน่งผู้ชำนาญงาน ผู้ชำนาญงานพิเศษ ผู้ชำนาญการพิเศษ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้เชี่ยวชาญพิเศษ พ.ศ. 2555 กำหนดให้พนักงานมหาวิทยาลัยหมวดเงินอุดหนุนและพนักงานมหาวิทยาลัย (ชื่อส่วนงาน) เสนอขอตำแหน่งสูงขึ้นได้ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่มีสถานภาพเป็นลูกจ้างประจำ


imagesนักวิชาการคอมพิวเตอร์ ป.ตรี (เดิม) บรรจุเป็นพนักงานเงินรายได้ เมื่อ พ.ศ.2551 (ต่อมา) เปลี่ยนเป็นพนักงาน (ส่วนงาน) เมื่อ พ.ศ.2552 หลังจากนั้นเปลี่ยนเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ปี พ.ศ.2553 ถามว่าขอตำแหน่งชำนาญการพิเศษได้หรือไม่?

ตอบ ได้ โดยนำระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งทั้ง พร.+พส.+พม. มานับรวมกันและใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับ ตำแหน่งเพื่อขอตำแหน่งชำนาญการพิเศษได้


imagesเดิมตำแหน่งนักวิชาการศึกษาทำงานในหน่วยงานเดิมมา 15 ปี โอนย้ายไปอีกหน่วยงานหนึ่งได้ประมาณ 5 เดือนก่อนโอนย้ายได้ส่งมอบงานทุกงาน ได้ทำคู่มือปฏิบัติงานและงานวิจัย R2R 2 เรื่อง เป็นชื่อแรก 1 เรื่อง ในการเสนอขอตำแหน่งชำนาญการพิเศษ สามารถนำเอาผลงานที่เคยทำมาประกอบได้หรือไม่? เนื่องจากหน้าที่ ความรับผิดชอบในหน่วยงานปัจจุบันเปลี่ยนไป?

ตอบ กรณีย้ายงาน หากดำรงตำแหน่งเดิมและลักษณะงานที่ปฏิบัติยังคงเหมือนเดิม สามารถนำผลงานเดิมมาใช้เสนอขอ  ตำแหน่งได้ เพราะผลงานที่แสดงความเป็นผู้ชำนาญงาน  ผู้ชำนาญงานพิเศษ  ผู้ชำนาญการพิเศษ ผู้เชี่ยวชาญ และ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ  ต้องเป็นผลงานในหน้าที่ความรับผิดชอบหลักของผู้ขอแต่งตั้ง โดยแสดงให้เห็นถึงความรู้  ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในงานที่ปฏิบัติ ซึ่งสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง หรืองานที่ได้รับมอบหมายอื่นที่ ได้รับการรับรองโดยผู้บังคับบัญชาและเกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่เสนอขอแต่งตั้ง กรณีเปลี่ยนตำแหน่งและลักษณะงานที่ปฏิบัติไม่เหมือนเดิม ก็ไม่สามารถนำผลงานเดิมมาใช้เสนอขอตำแหน่งได้


imagesเรื่องที่ทำ R2R ต้องเป็นเรื่องที่ตรงกับตำแหน่งเท่านั้นหรือไม่? เช่นตำแหน่งนักวิชาการศึกษา ปฏิบัติงานใน ภาควิชาฯ จึงมีภาระงานหลายด้าน เช่น งานบุคคล ประกันคุณภาพ ฯลฯ สามารถนำเรื่องเหล่านี้มาทำ R2R  ได้หรือไม่? หรือทำได้แต่เรื่องที่เกี่ยวกับการศึกษา การเรียนการสอนเท่านั้น

ตอบ ผลงานที่ใช้เสนอขอตำแหน่งสูงขึ้น ต้องเป็นผลงานที่อยู่ในหน้าที่ความรับผิดชอบหลักของผู้ขอแต่งตั้ง และ  สอดคล้องกับมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง (Job description)


imagesปัจจุบันเป็นข้าราชการตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ อายุงาน 15 ปี ถ้าจะขอตำแหน่งชำนาญการพิเศษ สามารถยื่นเรื่องได้เลยหรือไม่ ?

ตอบ ยื่นเรื่องเสนอขอได้


imagesเอกสารประกอบการบรรยาย คืออะไร? แล้วบรรยายกลุ่มใหญ่หรือกลุ่มเล็กมีระบุหรือไม่?

ตอบ เอกสารประกอบการบรรยาย หมายความว่า เอกสารที่จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการบรรยายเรื่องใดเรื่องหนึ่งในสาขาวิชาชีพของตน โดยมีเนื้อหาสาระตรงตามเรื่องที่บรรยาย และแสดงหลักฐานประกอบ เช่น หัวข้อการบรรยาย กลุ่มเป้าหมาย วัน เวลา และสถานที่ในการบรรยาย ทั้งนี้ให้จัดทำเป็นรูปเล่มอย่างเรียบร้อย สวยงาม
         รูปแบบ เป็นเอกสารหรือสื่ออื่นๆ เช่น PowerPoint ที่มีหัวข้อบรรยาย มีรายละเอียดประกอบครบถ้วน สมบูรณ์ จนสามารถทำความเข้าใจในสาระสำคัญนั้นได้โดยเบ็ดเสร็จ สามารถประเมินความชัดเจนขององค์ความรู้ ความครอบคลุมเนื้อหาและความถูกต้องได้ดียิ่งขึ้น อาจใช้ข้อมูล แผนภาพ ตัวอย่าง หรือกรณีศึกษาประกอบ เป็นต้น (เอกสารประกอบการบรรยาย จำนวน 3 หัวข้อเทียบได้กับ 1 เรื่อง) และมหาวิทยาลัยไม่ได้กำหนดกลุ่มบรรยายว่าเป็นกลุ่มใหญ่หรือกลุ่มเล็ก แต่ควรทำเอกสารให้เป็นไปตามที่  มหาวิทยาลัยกำหนด


imagesอะไรคือองค์ความรู้ใหม่? เช่นอะไรบ้าง?

ตอบ องค์ความรู้ใหม่ หมายถึง ความรู้ที่เกิดขึ้นต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการถ่ายทอดจากประสบการณ์ หรือจากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล โดยความรู้เกิดขึ้นนั้นสามารถนำไปใช้ได้โดยตรง หรือสามารถนำมาปรับใช้ได้ เพื่อให้เหมาะกับสถานการณ์หรืองานที่กระทำอยู่ และแสดงให้เห็นว่าความรู้ในเรื่องนั้นๆยังไม่มีใครเคยทำมาก่อน รวมถึงเป็นงานบุกเบิกทางวิชาการ และสร้างผลงานขึ้นมาเพื่อให้คนอื่นค้นคว้าต่อไปได้


imagesการทำ R2R ในกรณีที่แจกแบบสอบถามให้บุคคลตอบต้องขอ IRB หรือไม่?

ตอบ การเสนอผลงานที่ใช้เสนอขอตำแหน่งสูงขึ้น
– กรณีเป็นผลงานที่จัดทำเพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการ และเป็นงานวิจัยที่ทำการทดลองในคน หรือในสัตว์ทดลอง (แล้วแต่กรณี) ขอให้แสดงหลักฐานการพิจารณารับรองจริยธรรมการวิจัยในคน หรือในสัตว์ทดลอง (แล้วแต่กรณี)
– กรณีเป็นผลงานที่จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนางานหรือหน่วยงาน และไม่ได้ทำในลักษณะการทดลองในคน
ไม่ต้องแสดงหลักฐานหรือหนังสือรับรองการได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน
– กรณีเป็นผลงานที่ต้องการได้รับการยกเว้นการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคน ต้องส่งเรื่องมาให้คณะกรรมการจริยธรรมฯ พิจารณาก่อนการทำวิจัย ซึ่งคณะกรรมการจริยธรรมฯ จะออกเอกสารรับรอง ว่าเป็นงานวิจัยที่ได้รับยกเว้นการพิจารณา (Exempt from IRB review)ให้ ซึ่งสามารถนำไปแสดงต่อบรรณาธิการวารสาร หรือคณะกรรมการพิจารณาและกลั่นกรองเพื่อแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นได้ ซึ่งในส่วนของแบบสอบถามความพึงพอใจ ไม่ต้องขอ IRB ก็ได้


imagesในกรณีตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคล สังกัดสำนักงานอธิการบดี ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบรรจุและแต่งตั้ง เสนอ         ผลงานประเภทคู่มือปฏิบัติงาน เกี่ยวกับการบรรจุและแต่งตั้ง ในขณะที่นักทรัพยากรบุคคล ซึ่งสังกัดที่คณะ/ ส่วนงาน ทำคู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบรรจุและแต่งตั้งเหมือนกัน ผลงานจะซ้ำกันหรือไม่?

ตอบ ผลงานที่เสนอขออาจเป็นผลงานชื่อเรื่องเดียวกันแต่การวิเคราะห์ วิจารณ์ การยกตัวอย่าง ปัญหา วิธีการ แก้ปัญหาและการให้ข้อเสนอแนะไม่ควรเหมือนกัน แต่ถ้าหลีกเลี่ยงได้น่าจะดีกว่า


imagesขอคำอธิบายเพิ่มเติมถึงความต่างระหว่างคำว่า “วิเคราะห์” “สังเคราะห์”และ “วิจัย” ผลที่ได้แตกต่างกัน อย่างไร?

ตอบ –  งานวิเคราะห์ หมายถึง ผลงานที่แสดงการแยกแยะองค์ประกอบต่างๆของเรื่องอย่างมีระบบ มีการศึกษาในแต่ละองค์ประกอบและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้นๆ ซึ่งเป็นประโยชน์แก่หน่วยงานและมหาวิทยาลัย
– งานสังเคราะห์ หมายถึง ผลงานที่รวบรวมเนื้อหาสาระต่างๆ หรือองค์ประกอบต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยต้อง อาศัยความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างรูปแบบหรือโครงสร้างเบื้องต้น เพื่อให้เกิดแนวทางหรือเทคนิควิธีการใหม่ๆ ในเรื่องนั้นๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อส่วนงานหรือมหาวิทยาลัย
– งานวิจัย หมายถึง ผลงานทางวิชาการที่เป็นงานศึกษาหรืองานค้นคว้าอย่างมีระบบด้วยวิธีวิทยาการวิจัยที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ และมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล คำตอบ หรือข้อสรุปรวมที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือเอื้อต่อการนำวิชาการนั้นไปประยุกต์
ซึ่งในส่วนของงานวิเคราะห์และงานสังเคราะห์อาจไม่ต้องมีการพิสูจน์สมมุติฐาน และไม่ต้องตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ


imagesCorresponding Author คืออะไร แตกต่างจากผู้ดำเนินการหลักอย่างไร?

ตอบ Corresponding Author หมายถึง ผู้ทำหน้าที่ติดต่อประสานงานกับผู้ร่วมวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดเตรียม   บทความเพื่อตีพิมพ์ เตรียมร่างต้นฉบับบทความ (manuscript draft) ติดต่อประสานงานกับบรรณาธิการวารสาร  เพื่อส่งผลงานไป peer review โต้ตอบและแก้ไขผลงานหลังกระบวนการ peer review เตรียม     ต้นฉบับสุดท้ายของบทความ และมักจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะมีชื่อใครอยู่ในบทความบ้าง ซึ่งมักจะใส่ชื่อไว้สุดท้าย และมีสัญลักษณ์ * กำกับที่ชื่อ หรือในบางกรณีอาจเป็นคนเดียวกับ first author หากเป็นผู้ลงมือเก็บข้อมูลและ/หรือวิเคราะห์ข้อมูลด้วยตนเอง
         ผู้ดำเนินการหลัก หมายถึง บุคคลที่มีบทบาทและความรับผิดชอบสำคัญในการออกแบบการวิจัย  (Research  Design) การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) และการสรุปผลการวิจัยและให้ข้อเสนอแนะ (Research Summary and Recommendation)
ทั้งนี้ ในบางครั้งผู้ดำเนินการหลักและ Corresponding Author อาจเป็นบุคคลเดียวกันก็ได้


imagesCorresponding Author คืออะไร แตกต่างจากผู้ดำเนินการหลักอย่างไร?

ตอบ Corresponding Author หมายถึง ผู้ทำหน้าที่ติดต่อประสานงานกับผู้ร่วมวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดเตรียม   บทความเพื่อตีพิมพ์ เตรียมร่างต้นฉบับบทความ (manuscript draft) ติดต่อประสานงานกับบรรณาธิการวารสาร  เพื่อส่งผลงานไป peer review โต้ตอบและแก้ไขผลงานหลังกระบวนการ peer review เตรียม     ต้นฉบับสุดท้ายของบทความ และมักจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะมีชื่อใครอยู่ในบทความบ้าง ซึ่งมักจะใส่ชื่อไว้สุดท้าย และมีสัญลักษณ์ * กำกับที่ชื่อ หรือในบางกรณีอาจเป็นคนเดียวกับ first author หากเป็นผู้ลงมือเก็บข้อมูลและ/หรือวิเคราะห์ข้อมูลด้วยตนเอง
         ผู้ดำเนินการหลัก หมายถึง บุคคลที่มีบทบาทและความรับผิดชอบสำคัญในการออกแบบการวิจัย  (Research  Design) การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) และการสรุปผลการวิจัยและให้ข้อเสนอแนะ (Research Summary and Recommendation)
ทั้งนี้ ในบางครั้งผู้ดำเนินการหลักและ Corresponding Author อาจเป็นบุคคลเดียวกันก็ได้


imagesผลงานที่เสนอขอตำแหน่งสูงขึ้น ประกอบด้วย คู่มือปฏิบัติงาน 2 เรื่อง และ งานวิจัย 1 เรื่อง สามารถใช้ขอตำแหน่งได้หรือไม่?

ตอบ จากคำถามน่าจะเป็นการเสนอขอตำแหน่งระดับชำนาญการพิเศษของพนักงานมหาวิทยาลัยฯ ตามประกาศฯ กำหนดเกณฑ์การเสนอผลงานดังนี้
เสนอผลงานอย่างน้อย 3 เรื่อง มีคุณภาพในระดับ “ดี” และมีผลงานอย่างน้อย 2 เรื่อง ที่ผู้ขอแต่งตั้งเป็น ผู้ดำเนินการหลักหรือเป็นชื่อแรก หรือเป็น Corresponding Author โดยไม่กำหนดจำนวนร้อยละการมีส่วนร่วมในผลงานนั้นๆ ทั้งนี้ผลงานต้องประกอบด้วย
             กลุ่มวิชาชีพเฉพาะหรือกลุ่มสนับสนุนวิชาการ เสนอผลงาน
            1. คู่มือปฏิบัติงาน หรืองานวิเคราะห์หรืองานสังเคราะห์ ซึ่งเกิดจากการปฏิบัติงานในตำแหน่งและสอดคล้อง กับภาระงานหลักที่รับผิดชอบของผู้ขอแต่งตั้ง และแสดงให้เห็นถึงการพัฒนางานในหน้าที่ ซึ่งผู้ขอแต่งตั้ง เป็นผู้ดำเนินการหลัก และสามารถนำไปประยุกต์ใช้หรืออ้างอิงได้ อย่างน้อย 1 เรื่อง  และ
             2. งานวิจัย หรือบทความทางวิชาการ หรือตำรา หรือหนังสือ หรืองานแปล หรือเอกสารประกอบการบรรยาย (เอกสารประกอบการบรรยายจำนวน 3 หัวข้อเทียบได้กับ 1 เรื่อง) หรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น
กลุ่มสนับสนุนทั่วไป
 เสนอผลงาน
            1. งานวิเคราะห์หรืองานสังเคราะห์ ซึ่งเกิดจากการปฏิบัติงานในตำแหน่งและสอดคล้องกับภาระงานหลัก      ที่รับผิดชอบของผู้ขอแต่งตั้ง และแสดงให้เห็นถึงการพัฒนางานในหน้าที่ ซึ่งผู้ขอแต่งตั้งเป็นผู้ดำเนินการ หลักและสามารถนำไปประยุกต์ใช้หรืออ้างอิงได้ อย่างน้อย 1 เรื่อง  และ
            2.  คู่มือปฏิบัติงาน หรืองานวิจัย หรือบทความทางวิชาการ หรือตำรา หรือหนังสือ หรืองานแปล หรือเอกสาร ประกอบการบรรยาย (เอกสารประกอบการบรรยาย จำนวน 3 หัวข้อเทียบได้กับ 1 เรื่อง) หรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น