แนะนำการเตรียมต้นฉบับ

การเตรียมต้นฉบับเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร Mahidol R2R e-Journal

  1. ให้พิมพ์ต้นฉบับทาง electronic เท่ากับขนาดกระดาษ A4  ไม่เกิน 15 หน้า (รวมบทคัดย่อ) โดยใช้ตัวอักษร Thai SarabunPSK ขนาดตัวอักษรตามกำหนดในแบบฟอร์มวารสาร
  2. การเว้นระยะขอบและการเว้นระยะห่างระหว่างบรรทัด
  • ด้านบนและด้านซ้ายเว้นจากขอบ 1.25 นิ้ว
  • ด้านล่างและด้านขวาเว้นจากขอบ 1 นิ้ว
  • ระยะห่างระหว่างบรรทัดเท่ากับ 1.5 บรรทัด
  1. การแบ่งส่วน (Section) แบ่งเป็นสองส่วน
  • ส่วนแรกประกอบด้วย เนื้อเรื่อง ผู้เขียนและผู้ร่วมงาน สถานที่ทํางานและบทคัดย่อ
  • ส่วนที่สองประกอบด้วย ส่วนที่เหลืออื่นๆ ของบทความ
  1. ตาราง ให้จัดทำไฟล์ตาราง 1 ไฟล์ต่อ 1 ตาราง และตั้งชื่อไฟล์ตารางให้สอดคล้องกับชื่อตารางที่ระบุไว้ในวารสาร เช่น

ตารางที่ 1  ชื่อไฟล์ตารางที่ 1  พิมพ์ชื่อและลำดับที่ของตารางเหนือตารางตัวอักษรขนาด 16 Point  และพิมพ์คำอธิบายเพิ่มเติมใต้ตารางตัวอักษรขนาด  14 Point ข้อความในตารางตัวอักษรขนาด 12 Point ตาราง ทุกตารางจะต้องมีหมายเลขและคำบรรยายกำกับเหนือตารางหมายเลขกำกับและคำบรรยายนี้รวมกันแล้วควรจะมีความยาวไม่เกิน 1 บรรทัด

  1. รูปภาพ ให้จัดทำไฟล์รูปภาพ 1 ไฟล์ต่อ 1 รูปภาพ และตั้งชื่อไฟล์รูปภาพให้สอดคล้องกับชื่อรูปภาพที่ระบุไว้ในวารสาร เช่น รูปภาพที่ 1 ชื่อไฟล์รูปภาพที่  1 พิมพ์ชื่อและลำดับที่ของรูปใต้รูปพร้อมคำบรรยาย รูปภาพควรมีขนาดที่เหมาะสมไม่เล็กเกินไป คำบรรยายใต้ภาพอักษรขนาด 14 Point

                              การเรียงลำดับตารางและรูปภาพให้แยกการเรียงลำดับออกจากกัน พร้อมทั้งระบุหมายเลขลำดับตารางและ

                  รูปภาพในบทความให้เป็นรูปที่ และตารางที่  เช่น รูปที่ 1, รูปที่ 2   ตารางที่ 1, ตารางที่ 2

  1. สมการ การเขียนสมการให้ระบุลำดับของสมการโดยใช้ตัวเลขที่พิมพ์อยู่ในวงเล็บ
  2. การอ้างอิงที่แทรกในเนื้อหาของบทความ ใช้การอ้างอิงท้ายข้อความหรือชื่อบุคคลที่นำมาอ้างอิงโดยใส่วงเล็บและปีพ.ศ.

      เช่น การตีพิมพ์บทความทางวิชาการ (ชื่อผู้แต่ง, (ปีพ.ศ.)

  1. การเขียนบรรณานุกรม โดยใช้รูปแบบ APA และไม่ควรเกิน 20 เล่ม

      8.1 บรรณานุกรมหนังสือภาษาไทย

                  ชื่อ/สกุล. // (ปีที่พิมพ์). // ชื่อเรื่อง. // ครั้งที่พิมพ์. // เมืองที่พิมพ์ /: /สำนักพิมพ์.

                  ตัวอย่าง การอ้างอิงในเนื้อหา : (สแกวรรณ  พูลเพิ่ม, 2561 : 12)

                  สแกวรรณ  พูลเพิ่ม. (2561). การเขียนบทความ R2R. พิมพ์ครั้งที่ 5. นครปฐม : R2Rprinter.

      8.2 บรรณานุกรมหนังสือภาษาอังกฤษ

ชื่อ/สกุล./อักษรย่อชื่อต้น / อักษรย่อชื่อกลาง (ถ้ามี). / / (ปีที่พิมพ์). // ชื่อเรื่อง. // ครั้งที่พิมพ์. //

เมืองที่พิมพ์ / : / สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง การอ้างอิงในเนื้อหา : (OkXda, 1993 : 25-26)

OkXda, M., & OkXda, D. (1993). Star Trek chronology:The history of the future. NeZ YRUk:

                PRckeW BRRk.

 

8.3 บรรณานุกรมวิทยานิพนธ์

            ชื่อผู้เขียน. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อเรื่อง. / / ระดับวิทยานิพนธ์, / / คณะ // ชื่อมหาวิทยาลัย.

ตัวอย่าง การอ้างอิงในเนื้อหา : (ช่อเพ็ญ นวลขาว, 2548 : 50-60)

            ช่อเพ็ญ นวลขาว. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศกับแบบแผนการผลิตและ

                        วัฒนธรรมการบริโภคอาหาร ศึกษากรณีชุมชนขนาบนาก จังหวัดนครศรีธรรมราช. (วิทยานิพนธ์

                        ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์).

8.4 บรรณานุกรมบทความจากหนังสือ

            ชื่อผู้เขียน. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อบทความ. / / ใน / ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ) (ถ้ามี). / / ชื่อหนังสือ. / /

                        (หน้า / เลขหน้า). / / เมือง / : / สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง การอ้างอิงในเนื้อหา : (เสาวณีย์ จำเดิมเผด็จศึก, 2534 : 99-103)

                        เสาวณีย์ จำเดิมเผด็จศึก. (2534). การรักษาภาวะจับหืดเฉียบพลันในเด็ก. ใน สมศักดิ์ โล่ห์เลขา, ชลีรัตน์

                                    ดิเรกวัฒชัย และ มนตรี ตู้จินดา (บรรณาธิการ), อิมมูโนวิทยาทางคลีนิคและโรคภูมิแพ้. (น. 99-103).

                                    กรุงเทพฯ: วิทยาลัย กุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย.

            8.5 บรรณานุกรมจากวารสาร

                        ชื่อผู้เขียนบทความ. / (ปีพิมพ์). / ชื่อบทความ. / ชื่อวารสาร, / ปีที่ (ฉบับที่), /เลขหน้า.

ตัวอย่าง การอ้างอิงในเนื้อหา : (สแกวรรณ  พูลเพิ่ม, 261 : 1-10)

                        สแกวรรณ  พูลเพิ่ม. (2561). ชำนาญการไม่ยากถ้าอยากทำ. Mahidol R2R e-Journal, 5(1), 1-10.

                8.6 บรรณานุกรมจากเว็บไซต์

                        ชื่อผู้เขียน. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อเรื่อง. / / สืบค้นเมื่อวัน เดือน ปี , จากชื่อเว็บไซต์ : URL

ตัวอย่าง การอ้างอิงในเนื้อหา : (สแกวรรณ  พูลเพิ่ม, 2560 )

สแกวรรณ  พูลเพิ่ม. (2560). ตัวอย่างผลงาน R2R. [เว็บบล็อก]. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2561 , จาก

            https://www.sornor.org/

            หมายเหตุ : วิธีเรียงบรรณานุกรม

การเรียงบรรณานุกรมให้หลักการเดียวกับการเรียงคำในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หรือ Dictionary  ที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป โดยคำที่มีตัวสะกดจัดเรียงไว้ก่อนคำที่มีรูป สระตามลำดับตั้งแต่ ก - ฮ , A-Z

ส่วนคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะตัวเดียวกัน เรียงลำดับตามรูปสระ ดังนี้ อะ อัว อัวะ อา อ า อิ อี อื อุ อู เอะ เอ เอาะ เอา เอิน เอีย เอียะ เอือ เอือะ แอ แอะ โอ โอะ ใอ ไอ

 

ที่มา: คณะทำงานฝ่ายวิชาการ การสัมมนา PULINET วิชาการ ครั้งที่ 3. รูปแบบการเขียนบรรณานุกรมแบบ APA 6th edition. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนานยน 2561, จาก https://stin.ac.th/th/file.pdf