ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษาแบบยืดหยุ่นตามคำนิยามของมหาวิทยาลัยมหิดล
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2024.21คำสำคัญ:
การจัดการศึกษาแบบยืดหยุ่นบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาการจัดการศึกษาแบบยืดหยุ่นตามนิยามของมหาวิทยาลัยมหิดล สำหรับหลักสูตรระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหิดล” มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปัญหาและอุปสรรคในการจัดการศึกษาแบบยืดหยุ่นตามคำนิยามของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ซึ่งพัฒนาจากคำนิยามการจัดการศึกษาแบบยืดหยุ่นของมหาวิทยาลัยมหิดล และใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษาแบบยืดหยุ่นสำหรับหลักสูตรที่มีการจัดการศึกษาแบบยืดหยุ่นตามคำนิยามของมหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบด้วย 1) ค่าธรรมเนียมการศึกษา 2) การเทียบรายวิชาและการโอนย้ายหน่วยกิต 3) การลงทะเบียนเรียน 4) การรับนักศึกษา 5) การปฏิบัติตามขั้นตอนตามข้อบังคับ/ประกาศที่เกี่ยวข้อง 6) แผนการศึกษาและระยะเวลาการศึกษา 7) ปัจจัยอื่น ๆ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษาแบบยืดหยุ่นสำหรับหลักสูตรที่ไม่ได้มีการจัดการศึกษาแบบยืดหยุ่นตามคำนิยามของมหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบด้วย 1) การปฏิบัติตามขั้นตอนตามข้อบังคับ/ประกาศที่เกี่ยวข้อง 2) รูปแบบและการจัดการเรียนการสอน 3) ความพร้อมของหลักสูตร/ส่วนงาน 4) การเทียบรายวิชาและการโอนย้ายหน่วยกิต 5) การลงทะเบียนเรียน 6) การรับนักศึกษา 7) การสำเร็จการศึกษาและการให้ปริญญา 8) ข้อกำหนดของหน่วยงานที่ให้การรับรอง/ควบคุมคุณภาพหลักสูตร 9) แผนการศึกษาและระยะเวลาการศึกษา 10) การตัดสินผลการศึกษา 11) ผู้เรียน และ 12) ปัจจัยอื่น ๆ
References
กองแผนงาน มหาวิทยาลัยมหิดล, (2564, 21 เมษายน). แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2563-2566 (ฉบับทบทวน พ.ศ. 2564). https://mahidol.ac.th/th/plan63-66/
นันทวัน ทองพิทักษ์, เสนอ ภิรมจิตรผ่อง และ สมาน อัศวภูมิ (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบยืดหยุ่นสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(3), 527-542.
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558. (2558, 13 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 132 ตอนพิเศษ 295 ง, หน้า 2-11.
มหาวิทยาลัยมหิดล. (2563, 28 พฤษภาคม). ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยการจัดการศึกษาแบบยืดหยุ่นและระบบคลังหน่วยกิต พ.ศ. 2563. https://op.mahidol.ac.th/ea/wp-content/uploads/2021/07/role-credit-bank-th.pdf
มหาวิทยาลัยมหิดล. (2564, 19 สิงหาคม). ประกาศมหาวิทยาลัย-มหิดล เรื่อง แนวปฏิบัติการจัดการศึกษาแบบยืดหยุ่นและระบบคลังหน่วยกิต ระดับต่ำกว่าปริญญาตรีและปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2564. https://op.mahidol.ac.th/ea/wp-content/uploads/2021/08/flexi-plan.pdf
มหาวิทยาลัยมหิดล. (2565, 2 มีนาคม). ประกาศมหาวิทยาลัย-มหิดล เรื่อง แนวปฏิบัติการจัดการศึกษาแบบยืดหยุ่นและระบบคลังหน่วยกิต ระดับต่ำกว่าปริญญาตรีและปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2565. https://op.mahidol.ac.th/ea/wp-content/uploads/2022/03/P124-mufe.pdf
เรณุมาศ มาอุ่น. (2559). การจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 9(2), 169-176.
โรชินี ทุ่นทอง. (2557). ปัญหาในการจัดทำหลักสูตรมหาวิทยาลัยมหาสารคามตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารสาระคาม, 5(2), 67-83
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552, 15 กรกฎาคม). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552. https://drive.google.com/file/d/1sNErvFCD2hKxEDp-6bymOMDI-J1IKSMh/view
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Mahidol R2R e-Journal
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.