การประเมินระบบการติดตามผลการเรียนและให้คำปรึกษานิสิตระดับปริญญาตรี ที่มีความเสี่ยงต่อการพ้นสภาพการเป็นนิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2023.31คำสำคัญ:
การติดตามผลการเรียน, การให้คำปรึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อประเมินระบบการติดตามผลการเรียนและให้คำปรึกษานิสิตระดับปริญญาตรีที่มีความเสี่ยงต่อการพ้นสภาพการเป็นนิสิต 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของนิสิตระดับปริญญาตรีต่อการใช้ระบบที่สังกัดกลุ่มคณะวิชาและชั้นปีแตกต่างกัน 3) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของอาจารย์และเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการสังกัดคณะต่อการใช้ระบบที่สังกัดกลุ่มคณะวิชาและมีอายุการทำงานแตกต่างกัน และ 4) เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาระบบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ 1) นิสิตระดับปริญญาตรีที่มีความเสี่ยงต่อการพ้นสภาพการเป็นนิสิตที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคปลาย ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1,356 คน และ 2) อาจารย์และเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการสังกัดคณะ จำนวน 565 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม จำนวน 2 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแปรปรวน F-test (One-way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า 1) นิสิต อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการระดับคณะมีความคิดเห็นต่อระบบการติดตามผลการเรียนและให้คำปรึกษานิสิตระดับปริญญาตรีที่มีความเสี่ยงต่อการพ้นสภาพการเป็นนิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) นิสิตที่เรียนชั้นปีและสังกัดกลุ่มคณะวิชาแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อระบบการติดตามผลการเรียนและให้คำปรึกษานิสิตระดับปริญญาตรีที่มีความเสี่ยงต่อการพ้นสภาพการเป็นนิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยรวมไม่แตกต่างกัน (p > 0.05) 3) อาจารย์และเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการระดับคณะ ที่มีอายุการทำงานแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบการติดตามผลการเรียนและให้คำปรึกษานิสิตระดับปริญญาตรี ที่มีความเสี่ยงต่อการพ้นสภาพการเป็นนิสิต โดยรวมไม่แตกต่างกัน (p > 0.05) และ 4) นิสิตได้เสนอแนวทางในการพัฒนาระบบให้สามารถใช้งานได้ง่าย มีความรวดเร็ว และมีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น สำหรับอาจารย์และเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการระดับคณะได้เสนอให้มีระบบการแจ้งเตือนเมื่อมีข้อความใหม่จากนิสิตผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์หรือผ่านโทรศัพท์มือถือของอาจารย์เพื่อให้มีความสะดวกในการเปิดอ่านข้อความมากยิ่งขึ้น
References
ชิตชนก ทิพย์โสดา และ ฐาปนี สีเฉลียว. (2564). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการประเมินผลการปฏิบัติราชการของบุคลากรสายวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 4(11), 207-222. พฤษภาคม-สิงหาคม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. สุวีริยาสาส์น.
ภุชงค์ พรหมลาศ. (2561). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารงานนโยบายและแผนมหาวิทยาลัราชภัฏอุบลราชธานี [วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี].
รุ้งทอง เขื่อนขัน. (2560). ประสิทธิภาพการนำระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารโครงการ(E-Project) มาใช้ในการบริหารโครงการของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารปัญญา. 24(1), 57-65. มกราคม-มิถุนายน.
สมนึก ภัททิยธนี. (2558) การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 10. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.
สวัสดิ์ วิชระโภชน์. (2562). การศึกษาแนวทางการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการพ้นสภาพการเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. กองทะเบียนและประมวลผล สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สวัสดิ์ วิชระโภชน์. (2563). การศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการพ้นสภาพและติดตามผลการเรียนของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. กองทะเบียนและประมวลผล สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สวัสดิ์ วิชระโภชน์. (2560). ผลกระทบของการเปิด - ปิด ภาคเรียนตามสถาบันอุดมศึกษาในกลุ่มประชาคมอาเซียนต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สวัสดิ์ วิชระโภชน์ และ สังวาล ศิริ. (2553). ศึกษาศักยภาพของระบบการลงทะเบียนเรียน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Alves, J.M., Albino, D.B.L., Resener, M.C., Zannin, M., Savaris, A., Wangenheim, C.G., & Wangenheim, (2016) "Quality Evaluation of Poison Control Information Systems: A Case Study of the DATATOX System," 2016 IEEE 29th International Symposium on Computer-Based Medical Systems CBMS), 2016, pp. 30-35. doi: 10.1109 /CBMS.
Lasode, A.O., Olanrewaju, L., & Ofodile, (2017). “Students’ Need For, Awareness, Perception and Use of Guidance and Counseling Services in Federal University of Agriculture, Abeokuta, Nigeria,” Problems of Education in the 21st Century, 75(2), 170-181.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Mahidol R2R e-Journal
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.