การศึกษาความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในเรื่องการจัดการความรู้ของบุคลากร ในคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • ดารานิตย์ กิ่งวัน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นภัสสร ลาภณรงค์ชัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • กณพ คำสุข คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2024.20

คำสำคัญ:

ความรู้, ทัศนคติ, การปฏิบัติ, การจัดการความรู้

บทคัดย่อ

             การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติในเรื่องการจัดการความรู้ของบุคลากรในคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรสายวิชาการ และสายสนับสนุนที่ปฏิบัติงานอยู่ในคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 90 คน โดยตอบแบบสอบถามเรื่องความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติในเรื่องการจัดการความรู้ของบุคลากร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Pearson correlation

             ผลการวิจัยพบว่า ความรู้ของบุคลากรในเรื่องการจัดการความรู้มีคะแนนเฉลี่ย 0.87 (S.D .146) ทัศนคติในเรื่องการจัดการความรู้อยู่ในระดับดี มีคะแนนเฉลี่ย 4.27 (S.D .574) การปฏิบัติในการจัดการความรู้ของบุคลากรอยู่ในระดับดี มีคะแนนเฉลี่ย 4.14 (S.D .531) ส่วนความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติในเรื่องการจัดการความรู้ พบว่า ความรู้ไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติในการจัดการความรู้ และทัศนคติไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติในเรื่องการจัดการความรู้ของบุคลากรในคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผลการศึกษาครั้งนี้สนับสนุนให้หน่วยงานมีแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และกำหนดเป็นนโยบายสำหรับหน่วยงาน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เรื่องการจัดการความรู้อย่างทั่วถึงทั้งองค์กร

References

ไกรวุฒิ ใจคำปัน. (2549). กลยุทธ์และความสำเร็จในการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์การ:กรณีศึกษาโรงพยาบาลบ้านตาก จังหวัดตาก. [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสนศาสตร-มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].

ชมพู เนินหาด, สุชาดา นิ้มวัฒนากุล และ ปาลีธัญญ์ ฐาสิรสวัสดิ์ (2561). การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาตน พัฒนางานอย่างสร้างสรรค์: กรณีศึกษาบุคลากรสายสนับสนุนวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 29(2), 217-230

ชลทิศ ดาราวงษ์, อนุรักษ์ เรืองรอบ และ อภิชัย อภิรัตน-พิมลชัย (2557). การสื่อสารข้ามฝ่ายและผลลัพธ์ของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ CROSS-FUNCTIONAL COMMUNICATION AND NEW PRODUCT DEVELOPMENT OUTCOMES. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 11(2), 1-8.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2549). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : วี.อินเตอร์ พริ้นท์.

นภาพร จินดาลัทธ และ ผุสดี พลสารัมย์. (2559). การจัดการความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในหน่วยงานธนาคารออมสิน. บัณฑิตวิทยาลัย กลุ่มวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

รัชดาพร พุฒคำ. (2557). ทัศนคติของพนักงานธนาคารเพื่อคนไทย สำนักงานใหญ่ต่อการเข้าร่วมโครงการการจัดการความรู้. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].

ศิริพร เลิศวัฒนวิลาศ. (2557). ความคิดเห็นของบุคลากรต่อกระบวนการจัดการความรู้ของศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].

สำนักงาน ก.พ.ร. และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2548, 1 ธันวาคม). คู่มือการจัดการความรู้: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ.https://www.afaps.ac.th/kmcorner/km58/km_web/KMplanmanual.pdf

อรวรรณ อุทัยมณีรัตน์. (2551). การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานด้านกิจการนักศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่].

อมรศรี ยอดคำ. (2549, กรกฎาคม). แบบสอบถามเรื่อง “การจัดการความรู้เพื่อเพิ่มมูลค่าของตนเอง” โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ปีงบประมาณ 2549. http://203.157.7.7/KM/doc/Tool1_49.pdf

อภิชา ธานีรัตน์. (2554). รูปแบบการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏในกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต].

อิทธิกร ตานะโก. (2558). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการความรู้ในสถาบันอุดมศึกษา กรณีศึกษา : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].

เอกลักษณ์ อัตตะนัง และ ศรีสมรัก อินทุจันทร์ยง. (2561) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้ระบบจัดการความรู้ในองค์การ. วารสารระบบสารสนเทศด้านธุรกิจ (JOSB), 4(4), 30-45

Peter M. Senge. (2006). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization. (second edition). Doubleday.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย