แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์มูลค่าสูงของวิสาหกิจชุมชนบ้านกุ่มพัฒนา อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • ปริษฐา ถนอมเวช คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธนบุรี
  • วราภรณ์ สุ่มมาตย์ สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยธนบุรี
  • พิสมัย เหล่าไทย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธนบุรี
  • อินทิรา มีอินทร์เกิด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธนบุรี

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2023.22

คำสำคัญ:

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร, วิสาหกิจชุมชน, เศรษฐกิจสร้างสรรค์มูลค่าสูง, การสร้างมูลค่า

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เครื่องมือสื่อสารทางการตลาดและการตัดสินใจมาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของวิสาหกิจชุมชนบ้านกุ่มพัฒนา และ 2) แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์มูลค่าสูงของวิสาหกิจชุมชนบ้านกุ่มพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 384 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ประธาน รองประธาน และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์ตีความเนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า 1) เครื่องมือสื่อสารทางการตลาดและการตัดสินใจมาแหล่งท่องเที่ยวโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์มูลค่าสูงของวิสาหกิจชุมชนบ้านกุ่มพัฒนา ประกอบด้วย 2 แนวทางหลัก ๆ ที่สำคัญ และเป็นแนวทางที่สามารถนำไปพัฒนาได้อย่างเป็นรูปธรรม คือ 1) ด้านเครื่องมือสื่อสารทางการตลาด ควรเพิ่มการโฆษณาและสื่อประชาสัมพันธ์ การแนะนำบอกต่อของนักท่องเที่ยว เพื่อนและคนรู้จัก และสื่อสังคมออนไลน์ และด้านสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวก โดยมีสถานที่จอดรถให้แก่นักท่องเที่ยว และ 2) ด้านการพัฒนาศักยภาพและวางรูปแบบการบริหารวิสาหกิจชุมชน แก้ไขจุดอ่อนของชุมชนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผสมผสานฐานความคิดสร้างสรรค์งาน ประยุกต์ใช้องค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นก่อให้เกิดกระบวนการสร้างสรรค์รูปแบบในการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของชุมชน และด้านการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและการดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งควรจัดให้มีการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวภายในชุมชนอย่างมีแบบแผนให้ชุมชนมีส่วนร่วมได้รับผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวในลักษณะที่มีการตลาดและการบริการท่องเที่ยวที่ครบวงจรตามเกณฑ์ อีกทั้งการส่งเสริมสนับสนุนในการพัฒนาจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการผลิตสินค้าและบริการโดยผ่านชุมชนที่เป็นเจ้าของ และ 3) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เครื่องมือการสื่อสารทางการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจมาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของวิสาหกิจชุมชนบ้านกุ่มพัฒนา อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 เมื่อพิจารณาน้ำหนักของผลกระทบของตัวแปรอิสระที่ส่งผลต่อการตัดสินใจมาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของวิสาหกิจชุมชนบ้านกุ่มพัฒนา ได้แก่ ด้านโฆษณา (β=0.290) ด้านการส่งเสริมการขาย (β=0.203) ด้านการตลาดทางตรง (β=0.193) ด้านการใช้พนักงานขาย (β=0.136) ด้านการจัดกิจกรรมทางการตลาด (β=0.126) และด้านการประชาสัมพันธ์ (β=0.124) ตามลำดับ มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยหรืออำนาจพยากรณ์เท่ากับ 0.752 (R=0.752) และค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจเท่ากับ 0.565 (R Square=0.565)

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2557). การท่องเที่ยวเชิงเกษตร. พิมพ์ครั้งที่ 1. ม.ป.ท.

กันยพัชร์ วิชญชัยสิทธิ์. (2560). กระบวนการตัดสินใจทำศัลยกรรมเสริมความงามของผู้บริโภค. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ].

ขวัญกมล ดอนขวา. (2559). แบบจำลองเศรษฐกิจสร้างสรรค์และพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์มีผลต่อยุทธศาสตร์ระยะยาวการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของประเทศไทย. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยสุรนารี.

จิตต์โสภา เฉลียวศักดิ์, ชัยยุทธ กลีบบัว, อังคณา รุ่งอุทัย, และ ทิพย์สุดา ธิอูป. (2562). การออกแบบและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น: ผ้าถุงพิมพ์ลายผ้าซิ่นอีสาน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 7(3), 226-237.

จีรนันท์ เขิมขันธ์. (2561). มุมมองของการพัฒนาภาคการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในประเทศไทย. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 36(2), 162-167.

ชลธิศ บรรเจิดธรรม. (2557). การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร และความเหมาะสมของตนเองส่งผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องหนังของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ].

ชูวิทย์ มิตรชอบ. (2553). เศรษฐกิจสร้างสรรค์แนวความคิดใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในทศวรรษหน้า. วารสารเศรษฐศาสตร์สุโขทัยธรรมาธิราช, 5(1), 82.

ณัฐกาญจน์ สุวรรณธารา และ ธีระ เตชะมณีสถิตย์. (2563). รูปแบบการสื่อสารตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อการรับรู้คุณค่าตราสินค้าระหว่างผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางตราสินค้าไทยกับตราสินค้าต่างประเทศในระบบ การขายตรง. วารสารสังคมศาสตร์สุรนารี, 8(2), 41-59. https://doi.org/10.1016/j.trip.2020.100154

ณรงค์รัฐ ร่วมพรภาณุ. (2559). อิทธิพลของการตลาดเชิงกิจกรรม (Event Marketing) ต่อการตัดสินใจเลือกเล่นเกมออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา เกม Dota 2 และ League of Legends. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ].

ปริษฐา ถนอมเวช. (2563). เครื่องมือการสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อค่านิยมในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรของผู้บริโภควัยรุ่นยุคดิจิทัล. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุร, 14(3), 97-106.

ปณิศา ลัญชานนท์. (2548). หลักการตลาด. โรงพิมพ์ธรรมสาร.

พิริยะ ผลพิรุฬห์. (2556). เศรษฐกิจสร้างสรรค์กับการพัฒนาประเทศไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์ปริทรรศน์ สถาบันพัฒนศาสตร์, 7(1), 6-7.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2550). การสร้างเครื่องมือวิจัย. ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร และ นภัค ทิพย์ศรี. (2559). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 10(21), 79-91.

วิสาหกิจชุมชนบ้านกุ่มพัฒนา. (2563, 10 กรกฎาคม). “ชุมชนบ้านกุ่มพัฒนา” จากวิถีแห่งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก้าวสู่แบรนด์ระดับชาติ. https://www.kasetvoice.com/post/2499

วุฒิชัย คงนวลมี และสุภาพร คูพิมาย. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อกาแฟกระป๋องพร้อมดื่มในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 6(20), 214-227.

ศิรประภา นพชัยยา. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกาแฟจากร้านคาเฟ่อเมซอนในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].

ศิระ ศรีโยธิน. (2561). เครื่องมือสื่อสารการตลาดเพื่อการสร้างแบรนด์องค์กร. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(1), 2247-2263.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2538). พฤติกรรมผู้บริโภค. ธีระฟิลม์และไซเท็กซ์.

ศศิวรรณ กลิ่นมาหอม. (2559). องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์และการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคอาหารทะเลแบบจัดส่งถึงที่ของร้านอาหารแห่งหนึ่งในเมืองพัทยา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา].

สมวงศ์ พงศ์สถาพร. (2549). Practical IMC: การสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานภาคปฏิบัติ. บลูซอพท์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2564, 7 ตุลาคม). การสร้างมูลค่า. http://designtechnology.ipst.ac.th/

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.). (2564, 18 ตุลาคม). Creative Economy พาเศรษฐกิจไทยก้าวไกลสู่สากล. https://www.nxpo.or.th/th/9440/

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564, 10 สิงหาคม). เศรษฐกิจสร้างสรรค์. https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=3712&filename=economic develop

อริสรา ไวยเจริญ. (2556). รูปแบบการโฆษณาสินค้าประเภท FMCG บนสื่ออินเทอร์เน็ตที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์].

อาทิตยา กิจประเสริฐ. (2557). การสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการที่ส่งผลต่อทัศนคติ และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้ออาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง ตราสินค้า อีซีโก เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานครปริทัศน, 4(1), 31-42.

Berlo, D. K. (1960). The Process of Communication: An Introduction to Theory and Practice. Rinehart and Winston.

Kotler, P. (2003). Marketing Management . (11th ed.) Upper Saddle River.

Likert, R. (1967). A Technique for the Measurement of Attitude. Rand me Nally Company.

Snedecor, G.W. and Cochran, W.G. (1967). Statistical Methods. (6th ed.) The Iowa State University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย