ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกบริโภค แบรนด์คอฟฟี่ ของกลุ่มวัยรุ่น Gen Y ในเขตเทศบาลนครนครปฐม

ผู้แต่ง

  • พุทธิวัฒน์ ไวยวุฒิธนาภูมิ วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • วีรเชษฐ์ มั่งแว่น วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สมรัตน์ สันติวรานนท์ วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ฉัตรรัตน์ โหตระไวศยะ วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • วิภาวี เวลาดี วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2023.10

คำสำคัญ:

ส่วนประสมการตลาด, กลุ่มวัยรุ่น Gen Y, พฤติกรรมการตัดสินใจ, แบรนด์คอฟฟี่

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ของผู้ใช้บริการตัดสินใจเลือกบริโภค แบรนด์คอฟฟี่ ของกลุ่มวัยรุ่น Gen Y ในเขตเทศบาลนครนครปฐม 2) ศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการตัดสินใจเลือกบริโภค แบรนด์คอฟฟี่ ของกลุ่มวัยรุ่น Gen Y ในเขตเทศบาลนครนครปฐม และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกบริโภค แบรนด์คอฟฟี่ ของกลุ่มวัยรุ่น Gen Y ในเขตเทศบาลนครนครปฐม

            กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชากรกลุ่มวัยรุ่น Gen Y ในเขตเทศบาลนครนครปฐม จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) หากพบความแตกต่างจะนำไปเปรียบเทียบเป็นรายคู่ โดยใช้ LSD และใช้สถิติการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression)

            ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยด้านข้อมูลส่วนบุคคลการตัดสินใจเลือกบริโภคแบรนด์คอฟฟี่ ของกลุ่มวัยรุ่น Gen Y ในเขตเทศบาลนครนครปฐม ดังนี้ ข้อมูลส่วนบุคคล พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นเพศหญิง จำนวน 217 คน คิดเป็นร้อยละ 54.25 เพศชาย จำนวน 187 คน คิดเป็นร้อยละ 46.75 ช่วงอายุของผู้ตอบแบบสอบถาม ระหว่าง 38-53 ปี จำนวน 143 คน คิดเป็นร้อยละ 35.75 และช่วงอายุระหว่าง 21-37 ปี จำนวน 192 คน คิดเป็นร้อยละ 48.00 2) ปัจจัยด้านพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกบริโภค แบรนด์คอฟฟี่ ของกลุ่มวัยรุ่น Gen Y ในเขตเทศบาลนครนครปฐม พบว่า ผู้ใช้บริการตัดสินใจเลือกบริโภค แบรนด์คอฟฟี่ คาเฟ่ อเมซอน (Café Amazon) อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 61.25 และชอบดื่มกาแฟแบรนด์คอฟฟี่ คาเฟ่ อเมซอน (Café Amazon) แบบเย็น อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 48.00 โดยมีเหตุในการตัดสินใจเลือกบริโภค แบรนด์คอฟฟี่ ของกลุ่มวัยรุ่น Gen Y คือ รสชาติของผลิตภัณฑ์แบรนด์คอฟฟี่ คิดเป็นร้อยละ 56.75 มีความถี่ในการการตัดสินใจเลือกบริโภค แบรนด์คอฟฟี่ มากกว่าสัปดาห์ละ 5 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 50.00 และมีค่าใช้จ่ายในการใช้บริการตัดสินใจเลือกบริโภค แบรนด์คอฟฟี่ คือ 55-100 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 32.75 3) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกบริโภค แบรนด์คอฟฟี่ ของกลุ่มวัยรุ่น Gen Y ในเขตเทศบาลนครนครปฐม พบว่า อยู่ในระดับมาก (Mean = 4.46) เมื่อทำการวิเคราะห์รายละเอียดในแต่ละด้าน พบว่า ผู้ใช้บริการตัดสินใจเลือกบริโภค แบรนด์คอฟฟี่ ของกลุ่มวัยรุ่น Gen Y ในเขตเทศบาลนครนครปฐม ให้ความสนใจต่อปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์และบริการ อยู่ในระดับมากที่สุด (Mean = 4.46) ให้ความสำคัญต่อปัจจัยด้านราคารองลงมา (Mean = 4.38) และให้ความสำคัญต่อปัจจัยด้านการส่งเสริมทางการตลาด น้อยที่สุด (Mean = 4.18)

References

ฐิติยาภรณ์ จิตราภิรมณ์. (2558). พฤติกรรมของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านกาแฟสดใน อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี.[วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี]. สืบค้นจาก: https//:www.e-journal.sru.ac.th.

ณัฏฐณิชา ณ นคร. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสินเชื่อธนาคารของพนักงานเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 7(1), 295-305.

ธิญาดา กีร์ตะเมคินทร์ และ พุฒิธร จิรายุส. (2559). ปัจจัยส่วนประสมการตลาด 7P’S และปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าใช้บริการร้านกาแฟระดับพรีเมียม ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(2), 78-86.

แผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลนครนครปฐม. (2564). รายงานแผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ.25641-2565 ของเทศบาลนครนครปฐม.สืบค้นจาก: http://www.nakhonpathomcity.go.th/UploadFolder/180432Doc01.pdf

ภานุพงศ์ กังหันทิพย์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการร้านกาแฟโบราณในเขตกรุงเทพและปริมณฑล. [หัวข้อการค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัย-ธรรมศาสตร์].

ราตรี ผลพฤกษา. (2546). พฤติกรรมการซื้อและความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อขนมขบเคี้ยวกลุ่มปลาหมึกตรา “สควิคดี้” ในเขตกรุงเทพมหานคร. [สารนิพนธ์บริหารธรุกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].

วัญวิริญจ์ แจ้งพลอย และ วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2559). กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในการดำเนินธุรกิจร้านกาแฟของผู้ประกอบการรายย่อย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. Veridian E-Journal, Slipakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และ ศิลปะ ,9(3), 1331-1349

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2560). ผลการสำรวจพฤติกรรมการดื่ม กาแฟของคนไทยในปี พ.ศ. 2559. สืบค้นจาก: https://www.kasikornresearch.com.

ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร. (2565).ตลาดกาแฟในประเทศไทย. สืบค้นจาก: https://fic.nfi.or.th/market-intelligence-detail.php?smid=79

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค.ธีระฟิล์มและไซเท็ก.

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตรองค์กรมหาชน. (2560). ประวัติความเป็นมาของกาแฟ. สืบค้นจาก:http://www.arda.or.th.

สนธยา คงฤทธิ์. (2544). การบริหารการตลาด.สถาบันราชภัฏ นครปฐม.

หนึ่งฤทัย เซี่ยง ฉิน และ ประสพชัย พสุนนท์.(2558). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดและพฤติกรรมการบริโภคกาแฟ ของร้านกาแฟ สตาร์บัคส์และร้านทัม เอ็น ทัมส์ คอฟฟี่ สาขาวิคตอเรีย การ์เด้นส์. Journal,Slipakorn University. 8 (3).461-477.

Kotler, P., & Keller, K.L. (2012). Marketing management (14th ed.). Upper Saddle River, Prentice Hall.Schiffman, Leon G; & Kanuk, Leslie Lazar. (1994) Consumer Behavior. 5th ed. Prentic-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-12

ฉบับ

บท

บทความวิจัย