การประเมินหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยบูรพา

ผู้แต่ง

  • วิชัย แย้มหลั่งทรัพย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2022.20

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประเมินหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยบูรพา โดยใช้รูปแบบการประเมินหลักสูตรของสตัฟเฟิลบีม (Stuffebeam: CIPP-Model) ประกอบด้วย 1) การประเมินด้านบริบทของหลักสูตร ได้แก่ วัตถุประสงค์ โครงสร้าง และเนื้อหาของหลักสูตร 2) การประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของหลักสูตร ได้แก่ นิสิต อาจารย์ ปัจจัยสนับสนุนการเรียนการสอน 3) การประเมินด้านกระบวนการของหลักสูตร ได้แก่ การบริหารหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนการสอน การวัดการประเมินผลการเรียนการสอน 4) การประเมินด้านผลผลิตของหลักสูตร ได้แก่ คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ คุณลักษณะนิสิตฝึกงานที่พึงประสงค์ คุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษา

           ประชากรที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์ บัณฑิต นิสิต ผู้ใช้บัณฑิตหรือนิสิตฝึกงาน ภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 629 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์ ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย มหาวิทยาลัยบูรพา และผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ

           ผลการวิจัยพบว่าผลการประเมินหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยบูรพามีค่าเฉลี่ยตามลำดับ ดังนี้ 1) ภาพรวมของการประเมิน ผู้บริหาร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร นิสิต บัณฑิต และผู้ใช้บัณฑิตหรือนิสิตฝึกงาน มีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2) การประเมินด้านผลผลิตของหลักสูตร มีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 3) การประเมินด้านบริบทของหลักสูตร มีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 4) การประเมินด้านกระบวนการ มีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และ 5) การประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของหลักสูตร มีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

References

กองทะเบียนและประมวลผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. (2563, 10 กรกฎาคม). สถิตินิสิต. มหาวิทยาลัยบูรพา. https://reg.buu.ac.th/registrar/stat.asp?avs947026931=8

ภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. (2559). หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559. ชลบุรี: ภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศักดิ์ศรี ปาณะกุล. (2556). การพัฒนาและประเมินหลักสูตร สังคมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2549). วิธีวิทยาการประเมิน: ศาสตร์แห่งคุณค่า. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการ การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.

Likert, R. N. (1970). A Technique for the measurement of attitude. Attitude Measurement. Chicago: Ronal McNally & Company.

Stufflebeam, D. L., et. al. (1971). Educational evaluation and decision making. Itasca: Ill Peacock. Inc.

Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. (1985). Systematic evaluation: A self-instructional guide to theory and practice. Boston: Kluwer-Nijhoff Publishing.

Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. (2007). Evaluation theory, models, & applications. San Francisco, CA: Jossey-Bass.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-19

ฉบับ

บท

บทความวิจัย