การรับรู้ ความตระหนัก และการบริหารจัดการความเสี่ยงต่อการรายงานอุบัติการณ์ของบุคลากร คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • วรัญญา เขยตุ้ย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วลัยพร จันทร์เอี่ยม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ศรัณยา ณัฐเศรษฐสกุล คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2023.16

คำสำคัญ:

การรับรู้, ความตระหนัก, การจัดการความเสี่ยง, รายงานอุบัติการณ์

บทคัดย่อ

         การศึกษาการรับรู้ ความตระหนัก และการบริหารจัดการความเสี่ยงต่อการรายงานอุบัติการณ์ของบุคลากร  คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ ความตระหนัก การบริหารจัดการความเสี่ยง และหาความสัมพันธ์ของการรับรู้ ความตระหนัก และการบริหารจัดการความเสี่ยงต่อการรายงานอุบัติการณ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสังกัดคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 298 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ทดสอบค่าความเชื่อมั่น ได้เท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

         ผลการวิจัยพบว่า บุคลากร จำนวน 298 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 69.50 อายุเฉลี่ย 26-40 ปี  คิดเป็นร้อยละ 62.40 ระดับการศึกษาอยู่ในระดับต่ำกว่าปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 49.00 ประเภทของบุคลากรส่วนใหญ่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัย คิดเป็นร้อยละ 43.30 ประสบการณ์ในการทำงานเฉลี่ย 6-10 ปี คิดเป็นร้อยละ 27.20 และประสบการณ์ในการรายงานความเสี่ยง อุบัติการณ์ ส่วนใหญ่เคยรายงานเป็นบางครั้งที่เกิดเหตุการณ์ความเสี่ยง คิดเป็นร้อยละ 44.00 ส่วนระดับการรับรู้ ความตระหนัก และการบริหารจัดการความเสี่ยงต่อการรายงานอุบัติการณ์ของบุคลากร อยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านความตระหนักของบุคลากรต่อการรายงานอุบัติการณ์ ( gif.latex?\bar{x} = 3.89, SD = 0.63) ด้านการบริหารจัดการรายงานอุบัติการณ์ของบุคลากร ( gif.latex?\bar{x} = 3.80, SD = 0.72) และด้านการรับรู้ของบุคลากรต่อการรายงานอุบัติการณ์ ( gif.latex?\bar{x} = 3.64, SD = 0.62) ตามลำดับ และการรับรู้ ความตระหนัก และการบริหารจัดการความเสี่ยงต่อการรายงานอุบัติการณ์ของบุคลากรมีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง นโยบายการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2554. (2554, 14 กุมภาพันธ์).

วาสนา อุทัยแสง. (2559). การตระหนักรับรู้การบริหารความเสี่ยงและการนำการบริหารความเสี่ยงไปปฏิบัติของบุคลากร มหาวิทยาลัยมหาสาร คาม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต].

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2561). Risk Management Guidance for Implementation of HA Standards (4 th Edition. https://www.academia.edu/38814419

หน่วยบริหารความเสี่ยง คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2561). สถิติการรายงานอุบัติการณ์ ประจำปีงบประมาณ 2561.

Cronbach, L. J. (1974). Essentials of psychological. (3rd ed.). New York. Harper and Row.

Hincheeranun, S., Phuwanun, P., Satayawiwat, W., & Kusuma Na Ayutthaya, S. (1995). Ralationship of knowledge, Attitude, and Perception as Nursing role in taking care of HIV/AIDS patient of Nursing instructor and nursing student at clinical practice. Journal of Nursing Science, 13(48), 28-41.

Saneha, C., Musikthong, J., Sripasong, S., & Samai, T. (2018). Relationships among personal factors, percep tion about safety methods in medication administration and safe medication practices of nursing students at a faculty of nursing in Bangkok. Journal of Nursing Science, 36(1), 17-30.

Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. (2nded.). New York. Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย