หมอของถิ่น : การขับเคลื่อนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ของตำบลแม่สัน อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • นันทินา ดำรงวัฒนกูล คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • ปองปรารถน์ สุนทรเภสัช คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • พรชนก ทองลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • สุชาติ เครื่องชัย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง
  • มยุรี ชมภู คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • จตุรภัทร วงศ์สิริสถาพร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2023.4

คำสำคัญ:

หมอของถิ่น, คู่หูสารสุข, กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้, การพัฒนาที่ยั่งยืน, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

           การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนากระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลแม่สัน และเพื่อเชื่อมโยงการขับเคลื่อน อสม.สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยคัดเลือกจาก อสม. ที่เป็นแกนนำ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ การสังเกต การสัมภาษณ์เจาะลึก แบบทดสอบ การสร้างและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ โดยเน้นความตรงตามเนื้อหา ใช้เทคนิคการเก็บข้อมูลจากทฤษฎีกระบวนการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา รวมถึงการตรวจสอบจากระบบสามเส้า คือ ตรวจสอบจากบุคคลที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย

           ผลการศึกษาพบว่า 1) พลังของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของ อสม.  มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ ต้องการเติมเต็มศักยภาพตนด้านการดูแลสุขภาพชุมชน เนื่องจากสังคมคาดหวังเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน ภายใต้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่คู่หูสารสุข เกิดประโยชน์สาธารณะต่อชุมชนและต่อระบบสุขภาพ จึงให้ชื่อร่วมกันว่า หมอของถิ่น หมายถึง การสร้างพลังการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของ อสม.ตำบลแม่สัน ที่เน้นแกนนำของ อสม.มาร่วมปฏิบัติการเรียนรู้ แล้วนำไปสร้างเครือข่ายถ่ายทอดความรู้สู่คู่หูสารสุขในชุมชนของตน 2) กระบวนการเชื่อมโยงการขับเคลื่อน อสม. อาศัยความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีหลายส่วน เช่น วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ลำปาง รพ.สต.แม่เหียง องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สัน โรงเรียนผู้สูงอายุบุญฮอม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง และแกนนำ อสม.สู่คู่หูสารสุข ซึ่งพบว่า ปรัชญา วิสัยทัศน์ และพันธกิจขององค์กรเหล่านี้ ล้วนไปในทิศทางใกล้เคียงกัน คือมุ่งเน้นความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมสู่ความยั่งยืน หรือมุ่งเน้นความยั่งยืนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

References

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล . (2562). การประชุมวิชาการสาธารณสุขนานาชาติ “51st APACPH conference : SDGs in Reality” หัวข้อ “SDGs and Public Health: At Present” เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการสาธารณสุข: ณ ปัจจุบัน .วันที่ 21 พฤศจิกายน 2562 ที่โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท กรุงเทพฯ.

คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง. (2550). การประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและและสังคมแห่งชาติ.กรุงเทพฯ : สำนักงาน

เดโช แขน้ำแก้ว และคณะ. (2563). บัณฑิตพัฒนาชุมชน: วิเคราะห์ผลสำรวจและแนวทางพัฒนาคุณลักษณะ ตามอัตลักษณ์ของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคใต้.วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ.10(1), 28-29.

นิคม ชัยขุนพลม, สันทัด ทองรินทร์ และวิทยาธร ท่อแก้ว. (2560). การพัฒนารูปแบบการปฏิสัมพันธ์ในการสื่อสารเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่ ผ่านเครื่องมือสื่อสารแบบเคลื่อนที่. มนุษยศาสตร์สาร.18(2),184-185.

นุช สัทธาฉัตรมงคล และ อรรถพล ธรรมไพบูลย์. (2559). ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน.วารสารธุรกิจปริทัศน์.8(1) January - June 2016,167-182.

พงษ์ทัช จิตวิบูลย์ และ วันชัย ธรรมสัจการ. (2562). พลวัตสังคมวัฒนธรรมกับมิติการพัฒนามนุษย์องค์รวมในสังคมไทย.วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ.11(2), 117-135.

พรชนก ทองลาด ,ไพฑูรย์ อินต๊ะขัน และ บัณฑิต บุษบา. (2559). แนวทางการพัฒนาธุรกิจให้มีความยั่งยืน ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอ เพียงของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดลำปาง ลำพูน และ เชียงใหม่. วารสารสมาคมนักวิจัย, 21(1), 74-87.

วิจารณ์ พานิช. (2549). การจัดการความรู้สำหรับนักปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ.

ศูนย์พัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช. (2012). ประวัติ อสม. ค้นเมื่อ10 ตุลาคม 2563..ค้นจาก

https://www.nakhonphc.go.th/history_asm.php.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี. (2559) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ.2560-2564. ค้นเมื่อ12 ตุลาคม 2563.ค้นจาก http://www.royalthaipolice.go.th/downloads/plan12.pdf

Damrongwattanakool, N. , Soonthornpasuch, P., Kruangchai, S. and Laokuldilok.Increasing, N. (2018). Increasing the sense of self-worth in the elderly through participation in community events that transmit local wisdom about food to younger generations in Lampang province, Thailand. 4th Asiaengage Regional Conference. 26 – 28 November 2018. Chiang Mai, Thailand. p.73

Nonaka, I. and Konno, N. (1998). The Concept of Ba: Building a Foundation for Knowledge Creation. California Management Review, 40 (3), 40-54.https://doi.org/10.2307/41165942

Nonaka, I. and Takeuchi, H. (1995). The Knowledge-Creating Company: How Japanese Companies Create the Dynamics of Innovation. Oxford University Press, New York.

Putnam, R. (2008). Making Democracy Work: Civic Traditions in Modern Italy. New Jersey : Princeton University.

WHO South-East Asia Region. (2017). Cooperation Strategy between the Thai Government and the World Health Organization, 2017 - 2021. Retrieved October 26, 2020, from https://apps.who.int/iris/bitstream/hndle/10665/255510/9789746804295-tha.pdf?sequence=5&isAllowed=y.

World Health Organization. Regional Office for South-East Asia. (‎2017)‎. WHO country cooperation strategy, Thailand: 2017–2021. World Health Organization. Regional Office for South-East

World Commission on Environment and Development. (1987). Our common future. Oxford, Great Britain: Oxford University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-12

ฉบับ

บท

บทความวิจัย