การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกรับเข้าทำงานของผู้ประกอบการ กรณีศึกษาบัณฑิตคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2562

ผู้แต่ง

  • อนันษา ทองเหลา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2022.10

คำสำคัญ:

บุคลิกภาพ, การสื่อสาร, คณะวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

           งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเลือกรับเข้าทำงานของผู้ประกอบการ กรณีศึกษาบัณฑิตคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2562 จำนวน 138 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือ แบบสอบถามการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเลือกรับเข้าทำงานของผู้ประกอบการ กรณีศึกษาบัณฑิตคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2562 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)         

           ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกรับเข้าทำงานของผู้ประกอบการกรณีศึกษาบัณฑิตคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2562 มีอยู่ 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1) บุคลิกภาพ 2) การนำเสนอและการสื่อสาร และ 3) ความรู้ความสามารถในวิชาชีพ ดังนั้นการพัฒนาบุคลิกภาพตลอดจนการนำเสนอและการสื่อสาร เป็นสิ่งที่คณะควรให้ความสำคัญกับการผลิตบัณฑิต เพราะเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการทั้งภาครัฐและภาคเอกชนให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ซึ่งคณะควรมีการเพิ่มทักษะหรือเน้นการปฏิบัติให้มากขึ้น มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาบุคลิกภาพของนิสิต เน้นการฝึกให้นิสิตปัจจุบันนำเสนองานหน้าชั้นเรียน หรือเปิดเวทีเพื่อให้นิสิตได้มีโอกาสนำเสนอผลงาน สามารถสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้ ตลอดจนมุ่งเน้นไปที่ความรู้ความสามารถ หรือทักษะทางวิชาการของแต่ละสาขา เน้นการฝึกปฏิบัติการในห้องปฏิบัติการ เพื่อให้นิสิตได้รับความรู้และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้น

References

จิรวัฒน์ เจริญสถาพรกุล และสารี วรวิสุทธิ์สารกุล (2555). รายงานวิจัยเรื่องการมีงานทำและความพึงพอใจของนายจ้างต่อบัณฑิตเศรษฐศาสตร์ ในปีการศึกษา 2552. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชลิต ทองประยูร (2552). การวิเคราะห์ปัจจัยของหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตที่ตอบสนองเกณฑ์ การคัดเลือกเข้าทำงานของนายจ้าง : ศึกษาจากหลักสูตรสถาบัน MBA ชั้นนำ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

ดวงมณี ทองคำ ทิฆัมพร อาบสุวรรณ และกฤษณะ จันทสิทธิ์ (2554). การศึกษาความพึงพอใจของนายจ้างต่อคุณลักษณะบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา จากคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและอัญมณีศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี).

ทะนงศักดิ์ วันชัย (2549). รายงานวิจัยเรื่องความพึงพอใจของนายจ้างที่มีผลต่อบัณฑิตคณะเกษตรศาสตร์บางพร รุ่นปีการศึกษา 2547. พิมพ์ครั้งที่ 1. ชลบุรี : คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก.

เปรมศักดิ์ อาษากิจ และหฤทัย อาษากิจ (2554). ความพึงพอใจของนายจ้างที่มีต่อบัณฑิตคณะบริหารธุรกิจและศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา รุ่นปีการศึกษา 2551. วารสารวิจัย มทร.ตอ., ปีที่ 4 (2), 91 – 102.

พรทวี เถื่อนคำแสน และบุญญรัตน์ สัมพันธ์วัฒนชัย (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการตัดสินใจ เลือกทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการในนิคมอุตสาหกรรมเหมราช อีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, ปีที่ 13 (1), 1 - 23.

รัชฎา ธิโสภา และเพลินพิศ วิสัยเกษม (2545). การศึกษาความพึงพอใจของนายจ้างต่อบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ รุ่นปีการศึกษา 2545. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, ปีที่ 18 (58), 55 – 62.

สุรัตนญา อัครเอกฒาลิน. (2551). การศึกษาความพึงพอใจของนายจ้างต่อการปฏิบัติงานของบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ที่สำเร็จการศึกษา 2550. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ).

อารีย์ คณาวิวัฒน์ไชย และมาลี หังสพฤกษ์ (2543). รายงานวิจัยเรื่องความพึงพอใจของนายจ้าง ผู้ใช้บัณฑิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. สงขลา : หอสมุดคุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-12

ฉบับ

บท

บทความวิจัย