การศึกษาสภาพปัจจุบันในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) กรณีศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2022.19คำสำคัญ:
สภาพปัจจุบัน, การดำเนินงานที่เป็นเลิศ, การประกันคุณภาพการศึกษาบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีเพื่อการศึกษาสภาพปัจจุบันในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) กรณีศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหาร อาจารย์ และบุคลากรจำนวน 52 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอในรูปแบบสถิติเชิงพรรณนา
ผลวิจัยพบว่า 1) ที่ตอบแบบสอบถามส่วนมากเป็นผู้หญิง (ร้อยละ 67.31) มีคุณวุฒิทางการศึกษาระดับปริญญาเอก (ร้อยละ 52.58) มีสถานะเป็นอาจารย์ (ร้อยละ 36.54) มีประสบการณ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายในมากกว่า 6 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 94.23) เมื่อพิจารณาจากประสบการณ์การปฏิบัติงานประกันคุณภาพฯ ทุกคนได้รับการฝึกอบรมการประกันคุณภาพฯจากมหาวิทยาลัย และได้รับการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจด้านประกันคุณภาพฯกลุ่มงานประกันคุณภาพฯ ของคณะฯ (ร้อยละ 100) การได้รับความร่วมมือจากผู้ร่วมงานเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างสม่ำเสมอ (ร้อยละ 96.2) และ 2) สภาพปัจจุบันการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ จากเกณฑ์การประเมินทั้ง 6 หมวด พบว่า หมวดที่ 2 การวางแผนเชิงกลยุทธ์ มีผลการดำเนินงานในปัจจุบันสูงเป็นอันดับแรก (X̅=4.23 , SD= 0.12) อยู่ในระดับมาก รองลงมา ได้แก่ หมวดที่ 1 การนำองค์กร (X̅=4.02, SD=0.11) อยู่ในระดับมาก หมวดที่ 5 การมุ่งเน้นผู้ปฏิบัติ (X̅=3.89 , SD=0.17) อยู่ในระดับปานกลาง หมวด 6 การจัดกระบวนการ (X̅=3.84 , SD=0.10) อยู่ในระดับปานกลาง หมวดที่ 3 การมุ่งเน้นลูกค้า (X̅=3.78 , SD=0.08) อยู่ในระดับปานกลาง และหมวดที่ 4 การวัด วิเคราะห์และการจัดการความรู้ (X̅=3.75 , SD=0.15) อยู่ในระดับปานกลาง
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพื่อเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.
ชยภร ศิริโยธา. (2564). การวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ (EdPEx) กรณีศึกษา : คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พัฒน์พล แก้วยม. (2557). การศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จของการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคงสุวรรณภูมิ. รายงานการวิจัย. สำนักคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
ภาวนา กิตติวิมลชัย และคณะ. (2555). การศึกษาเพื่อกำหนดตัวชี้วัดผลลัพธ์ (KPIs) ตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ และปัญหาอุปสรรคในการนำเอาเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการไปสู่การปฏิบัติ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศิรินันท์ ตรีมงคลทิพย์ และ อรทัย สารกุล. (2555). ความเข้าใจและทัศนคติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรในวิทยาลัยแพทย์แผนไทยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. แผนงานและการประกันคุณภาพภาควิชา มหาวิทยาลัยราชมงคลเทคโนโลยีธัญบุรี.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2563). เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ ฉบับปี 2563-2566. สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร.
สุวัฒน์ งามดี และ ปิยพร มานะกิจ. (2560). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จตัวชี้วัดของแผนกลยุทธ์ตามเกณฑ์. EdPEx กรณีศึกษา: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. งานนโยบายและแผนประกันคุณภาพการศึกษา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 Mahidol R2R e-Journal
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.