การศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนิสิตสาขาวิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

ผู้แต่ง

  • พลากร อุดมกิจปกรณ์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2022.7

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการเรียน, นิสิตสาขาวิชากายภาพบำบัด, เกรดเฉลี่ยสะสม

บทคัดย่อ

         การวิจัยเรื่อง การศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนิสิตสาขาวิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนิสิตสาขาวิชากายภาพบำบัด และเปรียบเทียบพฤติกรรมการเรียนรู้ของนิสิตสาขาวิชากายภาพบำบัดระหว่างชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 ตลอดจนศึกษาเปรียบเทียบเกรดเฉลี่ยสะสม ของนิสิตสาขาวิชากายภาพบำบัด ปีการศึกษา 2563 คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 119 คน โดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการเรียนรู้ของนิสิตสาขาวิชากายภาพบำบัด ทำการวิเคราะห์ผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่อบรรยาย ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ใช้สถิติ t-test เพื่อทดสอบความแตกต่างของข้อมูล กำหนดให้ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05

         ผลการวิจัยพบว่า นิสิตสาขาวิชากายภาพบำบัดมีพฤติกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีพฤติกรรมด้านแรงจูงใจในการเรียนและยุทธวิธีในการสอบและการเตรียมตัวสอบมากที่สุด ซึ่งนิสิตชั้นปี 4 จะมีพฤติกรรมในด้านการมีสมาธิและการเอาใจใส่ต่อการเรียน และยุทธวิธีในการสอบและการเตรียมตัวสอบ มากกว่านิสิตชั้นปีที่ 3 และนิสิตที่มีผลการเรียนดี จะมีแรงจูงใจในการเรียนที่ดี และมีความวิตกกังวลในการเรียนน้อยกว่านิสิตที่มีผลการเรียนปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < 0.05

References

ชำนาญ ด่านคำ. (2559). การศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 10(1), 23-31.

ณัฏฐ์พัชร์ ลาภบำรุงวงศ์. (2562). การประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์), 9(2), 161-171.

นันทิชา บุญละเอียด. (2554). การปรับตัวของนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. ภาคนิพนธ์การศึกษาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ประณต เค้าฉิม. (2549). ปัจจัยด้านพฤติกรรมการเรียนและการสนับสนุนทางสังคมที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทร-วิโรฒ. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 12(1),72-90.

ผ่องใส เพ็ชรรักษ์, อาทร จิตสุนทรชัยกุล, และ ศิรัตน์ แจ้งรักษ์สกุล. (2555). รายงานวิจัยการศึกษาถึงการศึกษาพฤติกรรมการเรียนที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พรทิพา ทักษิณ, ศุกร์ใจ เจริญสุข, และ อุบล สุทธิเนียม. (2554). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การเตรียมความพร้อม และผลการสอบความรู้เพื่อขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาล และการผดุง-ครรภ์ ชั้นหนึ่ง ของผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี. วารสารสภาการพยาบาล, 26(3), 117-129.

รวงดี ชีวะสุทโธจรนะ. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการสอน พฤติกรรมการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี. วารสารสภาการพยาบาล, 27(4), 43-56.

รุ่งฤดี กล้าหาญ. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาคปฏิบัติของนิสิตพยาบาล ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 412-420.

สิงห์ ไทยวงศ์. (2544). ผลการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวทางทฤษฎีพิจารณาเหตุผลต่อยุทธวิธีการเรียนและระดับผลสัมฤทธิ์อารมณ์ พฤติกรรมทางการเรียนของนักศึกษาที่มีสถานภาพรอพินิจ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จิตวิทยาการให้คำปรึกษา, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุนันท์ มีเทศ. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. เวชบันทึกศิริราช, 11(3), 151-157.

Broussard, S.C., & Garrison, M.E.B. (2004). The relationship between classroom motivation and academic achievement in elementary school-aged children. Family and Consumer Sciences Research Journal, 33(2), 106-120.

Frymier, Jack R. & Wells, Robert J. (1966). Junior High School Student Motivation. Guidance Journal, 4(19), 90-95.

Marina, S.L. & Lurdes, V. (2013). The relationships between intrinsic motivation, extrinsic motivation, and achievement, along elementary school. International Conference on Education & Educational Psychology, 112(2014), 930-938.

Nuchnoi, R. (2008). A survey of the motivation of the Rangsit University English major students towards learning English. Journal of Humanities and Social Sciences, 5(9), 93-116.

Rai, PN. (1980). Achievement Motive in Low and High Achievement a Comparative Study. Indian Educational Review, 15(3), 117-122.

Yu Yue. (2012). A Study of English Learning Motivation of Less Successful Students. Journal of Contemporary English Teaching and Learning in Non-English Speaking Countries, 1(2), 1-20.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-12

ฉบับ

บท

บทความวิจัย