เปรียบเทียบการให้บริการยานพาหนะภายในของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • สุชานันท์ ตาลเจริญธรรม วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2023.9

คำสำคัญ:

การเปรียบเทียบ, การให้บริการ, ยานพาหนะ

บทคัดย่อ

            การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการให้บริการรับ-ส่งนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยมหิดลโดยใช้รถกอล์ฟและรถตู้  และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นด้านปัจจัยการให้บริการยานพาหนะภายในมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2563-2564 ผู้วิจัยใช้กลุ่มตัวอย่างวิจัย 465 ตัวอย่าง และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือสำหรับการวิจัย ประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Analysis) ได้แก่ ค่าสถิติ Paired Sample t-Test เพื่อเปรียบเทียบค่าความแตกต่างของความคิดเห็น นำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการพรรณนา 

            ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีเพศหญิงร้อยละ 58.7 มีเพศชายร้อยละ 38.7 ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในกลุ่ม ≤ 21 ปี คิดเป็นร้อยละ 76.5 ผลการวิจัยในแต่ละด้านพบว่านักศึกษามีความพึงพอใจในการให้บริการโดยรถกอล์ฟและรถตู้ในด้านความสะดวกในการให้บริการ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ด้านคุณภาพการบริการที่ได้รับ ด้านระยะเวลาในการดำเนินการ และด้านการสื่อสารอยู่ในระดับมาก และมีความพึงพอใจโดยรวมทุกด้านในการให้บริการรถกอล์ฟและรถตู้อยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน แต่เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นด้านปัจจัยในการให้บริการยานพาหนะโดยรถกอล์ฟและรถตู้ พบว่า ความพึงพอใจด้านความสะดวกในการให้บริการ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ด้านคุณภาพการบริการที่ได้รับ และด้านการสื่อสาร นักศึกษามีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 0.05  โดยนักศึกษามีความพึงพอใจในการให้บริการโดยรถกอล์ฟน้อยกว่ารถตู้  แต่นักศึกษามีความเห็นในด้านระยะเวลาในการดำเนินการให้บริการของรถตู้และกอล์ฟไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 0.05

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2544). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติเพื่อการตัดสินใจ. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

จิตตินันท์ นันทไพบูลย์. (2551). จิตวิทยาการบริการ. ซีเอ็ดยูเคชั่น.

มณีวรรณ ตั้นไทย. (2533). พฤติกรรมการให้บริการของเจ้าหน้าที่กองควบคุมยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาที่มีต่อประชาชนที่มาติดต่อ. สารนิพนธ์รัฐศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รัชวลี วรวุฒิ. (2548). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราขการสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศิริพร ตันติพูลวินัย. (2538). การพยาบาลยุคโลกาภิวัฒน์. กองพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข.

สุกัญญา โภกา. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพบริการของหอสมุด พระราชวังสนามจันทร์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุธาดา สนธิเวช. (2551). ความพึงพอใจของพระสงฆ์ต่อการบริหารจัดการโรงพยาบาลสงฆ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

อุทัยพรรณ สุดใจ. (2545). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อการให้บริการขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาสังคมวิทยาประยุกต์ม บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย-เกษตรศาสตร์.

Yamane. (1967). Taro Statistic: An Introductory Analysis. Harper&row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-12

ฉบับ

บท

บทความวิจัย