ผลลัพธ์ด้านความพึงพอใจของการใช้โปรแกรมตารางปฏิทินในการจัดตารางภาระงานของอาจารย์ในภาควิชาออร์โธปิดิกส์

ผู้แต่ง

  • เพ็ญนภา อบเชย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • บุษกร น้อยแสง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชูศักดิ์ กิจคุณาเสถียร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • รองศาสตราจารย์ ดร. แพทย์หญิงภัทรวัณย์ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์สุกิจ เลาหเจริญสมบัติ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นรินทร์ อบเชย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2022.17

คำสำคัญ:

ตารางการนัดหมาย, การเรียนการสอน, ออร์โธปิดิกส์, อาจารย์แพทย์, นักศึกษาแพทย์

บทคัดย่อ

          การจัดตารางการเรียนการสอนของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 รายวิชาออร์โทพีดิกส์และเวชศาสตร์ฟื้นฟู 1 (รมคร 514)  มีความซ้ำซ้อนกับภาระงานด้านอื่น จึงทำการศึกษาการใช้โปรแกรม Google Calendar ในการจัดตารางการเรียนการสอน เพื่อประเมินผลด้านการเลื่อนกิจกรรมการเรียนการสอน ความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์แพทย์ ได้จัดเก็บข้อมูลย้อนหลังในระหว่างปีการศึกษา 2558-2562 คัดเลือกอาจารย์แพทย์หรือนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 ปฏิบัติงานในภาควิชาออร์โธปิดิกส์ ที่มีประสบการณ์ในการใช้งาน Google Calendar โดยทำการบันทึกการเข้าใช้งาน การสอนตามวันและเวลา อัตราการเลื่อนสอนและความพึงพอใจ จากผู้เข้าร่วมในการวิจัยจำนวน 110 คน เป็นผู้ชายร้อยละ 59.1 อายุระหว่าง 20-30 ปี ร้อยละ 72.7  เป็นนักศึกษาแพทย์ร้อยละ 74.6  และเป็นอาจารย์แพทย์ร้อยละ 25.4 พบอัตราการเลื่อนกิจกรรมหลังจากใช้โปรแกรม Google Calendar (ร้อยละ 14.2)  ต่ำกว่าก่อนการใช้โปรแกรม (ร้อยละ 16.0)  ในขณะที่ความพึงพอใจของนักศึกษาแพทย์ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน หลังจากใช้โปรแกรม (ร้อยละ 95.9) สูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรม (ร้อยละ 88.4) ด้วยค่า p-value = 0.001 กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 59 พึงพอใจต่อโปรแกรม Google Calendar ในการจัดการเรียนการสอน (ระดับดีและดีมาก) การใช้โปรแกรม Google Calendar ในการจัดตารางในรายวิชาออร์โทพีดิกส์และเวชศาสตร์ฟื้นฟู 1 (รมคร 514) สามารถลดอัตราการเลื่อนกิจกรรม อาจารย์แพทย์และนักศึกษาแพทย์มีความพึงพอใจหลังจากใช้โปรแกรมนี้

Author Biographies

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชูศักดิ์ กิจคุณาเสถียร, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

รองศาสตราจารย์ ดร. แพทย์หญิงภัทรวัณย์ วรธนารัตน์, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์สุกิจ เลาหเจริญสมบัติ, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

นรินทร์ อบเชย, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

References

เด่นพงษ์ สุดภักดี. (2556). ประโยชน์ของ Google Calendar. Google Calendar. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2562, จาก https://sites.google.com/site/ggcldz/prayochn-khxng-google-canlendar.

ดนัย ศักดิ์กาโร. (2561). การประยุกต์ใช้ Google for Education ในการให้คำปรึกษานักศึกษาสายครู. The applying of google for education for mentoring to teacher students. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 29(2), 219-227.

ฝ่ายทรัพย์สินและพัสดุ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. (2562).การใช้ Google Calendar. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลสืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2562, จาก http://www1.si.mahidol.ac.th/division/assets/images/Ebook%20Google%20Calendar.pdf.

พิสชานันท์ สนธิธรรม, ชูวงศ์ พรหมบุตร, ถนอมทรัพย์ ตรงสายดี และ รุ่งนภา ดัดถุยาวัตร. (2561). ระบบการจองห้องประชุมออนไลน์คณะวิทยาการจัดการ. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 2(1), 81-90.

Christian. (2014). “Advantage of Google Calendar for business.” CK Computer Solutions, https://cksolutions.ie/advantages-google-calendar-business.

Rampton, J. (2017). “The benefits of using a shared calendar with your team.” Calendar, https://www.calendar.com/blog/benefits-of-sharing-your-calendar.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-19

ฉบับ

บท

บทความวิจัย