ประสิทธิผลของโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้เท้าเขียนหนังสือกลางอากาศกับ การออกกำลังกายทั่วไปในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2

ผู้แต่ง

  • จิรวัฒน์ ทิววัฒน์ปกรณ์ โรงพยาบาลหาดใหญ่
  • ฮาซาน๊ะ สลีฝีน โรงพยาบาลหาดใหญ่
  • ทวีศักดิ์ วงศ์กีรติเมธาวี โรงพยาบาลหาดใหญ่
  • สินีนาฎ สุขอุบล โรงพยาบาลหาดใหญ่
  • พัฒนสิน อารีอุดมวงศ์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2021.20

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2, การรับความรู้สึกที่เท้า, ค่าดัชนีการไหลเวียนของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย

บทคัดย่อ

บทนำ ภาวะเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อมบริเวณขาในผู้ป่วยเบาหวานสามารถพบได้บ่อย เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังมีผลทำให้ผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงเส้นประสาทส่วนปลายหนาตัวขึ้น ส่งผลต่อให้การไหลเวียนเลือดลดลงและเกิดการเสื่อมของเส้นประสาท ทำให้ผู้ป่วยมีการรับความรู้สึกบกพร่องและการไหลเวียนเลือดผิดปกติ จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าการออกกำลังกายเท้าสามารถเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปบริเวณเท้าได้

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลการออกกำลังกายโดยใช้เท้าเขียนหนังสือกลางอากาศ (Alphabets Foot Exercise) และการออกกำลังกายทั่วไปต่อการรับรู้ความรู้สึกที่ฝ่าเท้าและค่าดัชนีการไหลเวียนของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย (Ankle Brachial Index:ABI) ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2

วิธีการวิจัย: การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงทดลอง โดยอาสาสมัครที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ ที่เข้ารับการรักษาในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลหาดใหญ่ ตั้งแต่เดือน มกราคม 2560 – มกราคม 2562 สุ่มแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 54 คน และกลุ่มควบคุม 60 คน คือ กลุ่มควบคุมที่รับโปรแกรมการแกกำลังกายทั่วไปที่เป็นมาตรฐานเดิม และกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการออกกำลังโดยใช้เท้าเขียนหนังสือกลางอากาศ ใช้เวลาในการออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที ทุกคนจะได้รับการตรวจประเมินการรับความรู้สึกที่เท้าด้วยวิธีการ Monofilament และการตรวจค่าดัชนีการไหลเวียนของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย (Ankle Brachial Index:ABI) โดยจะทำการวัด 3 ครั้ง คือ แรกรับ หลังได้รับโปรแกรม 4 สัปดาห์ และ 12 สัปดาห์ เปรียบข้อมูล Monofilament โดยใช้สถิติ Friedman test และ ABI โดยใช้สถิติ Mixed-ANOVA

ผลการทดลอง: กลุ่มทดลองมีค่าการรับความรู้สึกและค่าดัชนีการไหลเวียนของหลอดเลือดแดงส่วนปลายดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05

สรุป: การออกกำลังกายโดยใช้เท้าเขียนหนังสือกลางอากาศสามารถเป็นทางเลือกให้กับผู้ป่วยในการออกกำลังกายเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือดที่เท้า

References

Aboyans, Victor, Elena Ho, Julie O. Denenberg, Lindsey A. Ho, Loki Natarajan, and Michael H. Criqui. 2008. “The Association between Elevated Ankle Systolic Pressures and Peripheral Occlusive Arterial Disease in Diabetic and Nondiabetic Subjects.” Journal of Vascular Surgery 48(5):1197–203.

Al-Delaimy, Wael K., Anwar T. Merchant, Eric B. Rimm, Walter C. Willett, Meir J. Stampfer, and Frank B. Hu. 2004. “Effect of Type 2 Diabetes and Its Duration on the Risk of Peripheral Arterial Disease among Men.” The American Journal of Medicine 116(4):236–40.

Beckman, Joshua A., Mark A. Creager, and Peter Libby. 2002. “Diabetes and Atherosclerosis Epidemiology, Pathophysiology, and Management.” JAMA 287(19):2570–81.

Boulton, Andrew J. M., David G. Armstrong, Stephen F. Albert, Robert G. Frykberg, Richard Hellman, M. Sue Kirkman, Lawrence A. Lavery, Joseph W. LeMaster, Joseph L. Mills, Michael J. Mueller, Peter Sheehan, and Dane K. Wukich. 2008. “Comprehensive Foot Examination and Risk Assessment: A Report of the Task Force of the Foot Care Interest Group of the American Diabetes Association, with Endorsement by the American Association of Clinical Endocrinologists.” Diabetes Care 31(8):1679–85.

Boulton, Andrew JM, Loretta Vileikyte, Gunnel Ragnarson-Tennvall, and Jan Apelqvist. 2005. “The Global Burden of Diabetic Foot Disease.” The Lancet 366(9498):1719–24.

Flahr, Donna. 2010. “The Effect of Nonweight-Bearing Exercise and Protocol Adherence on Diabetic Foot Ulcer Healing: A Pilot Study.” Ostomy/Wound Management 56:40–50.

Hirsch, Alan T., Ziv J. Haskal, Norman R. Hertzer, Curtis W. Bakal, Mark A. Creager, Jonathan L. Halperin, Loren F. Hiratzka, William R. C. Murphy, Cynthia D. Adams, Jeffrey L. Anderson, David P. Faxon, Alice K. Jacobs, Rick Nishimura, Joseph P. Ornato, Richard L. Page, and Barbara Riegel. 2006. “ACC/AHA Guidelines for the Management of Patients with Peripheral Arterial Disease (Lower Extremity, Renal, Mesenteric, and Abdominal Aortic).” Journal of Vascular and Interventional Radiology 17(9):1383–98.

International Diabetes Federation. 2019. “IDF Atlas 9th Edition and Other Resources.” Retrieved May 10, 2021 (https://diabetesatlas.org/en/resources/?utm_source= Adwords&utm_medium=Epi&utm_campaign=English&gclid=CjwKCAjwkN6EBhBNEiwADVfya3P8XdnEcc4aWkkKBx3-gVfBjZKqB58jiwQgzMb3wYWW_0lkWs7kRBoCKpcQAvD_BwE).

Most, Randi S., and Pomeroy Sinnock. 1983. “The Epidemiology of Lower Extremity Amputations in Diabetic Individuals.” Diabetes Care 6(1):87–91.

Rattana Leelawattana, Thongchai Pratipanawatr, Natapong Kosachunhanun, Sompongse Suwanwalaikorn, Sirinate Krittiyawong, Thanya Chetthakul, Nattachet Plengvidhya, Yupin Benjasuratwong, Chaicharn Deerochanawong, Sirima Mongkolsomlit, Chardpraorn Ngarmukos, and Petch Rawdaree. 2006. “Thailand Diabetes Registry Project: Prevalence of Vascular Complications in Long-Standing Type 2 Diabetes.” J Med Assoc Thai 89(1):54–9.

Wararom Kanchanasamut, and Praneet Pensri. 2017. “Effects of Weight-Bearing Exercise on a Mini-Trampoline on Foot Mobility, Plantar Pressure and Sensation of Diabetic Neuropathic Feet; a Preliminary Study.” Diabetic Foot & Ankle 8(1):1287239.

เกศศิริ วงษ์คงคำ, อรพรรณ โตสิงห์, เกศรินทร์ อุทริยะประสิทธิ์, Barbara Riegel, เฉนียน เรืองเศรษฐกิจ, และชูเกียรติ วิวัฒน์วงศ์เกษม. 2554. “ความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาการเป็นเบาหวานกับระดับความรุนแรงของการเกิดโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันในผู้ป่วยไทยที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2.” วารสารพยาบาลศาสตร์ 29(2):124–32.

ปภาดา มหัทธนะประดิษฐ์, มานพ คณะโต, และพูนรัตน์ ลียติกุล. 2561. “ความรู้ในการดูแลเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน เขตพื้นที่อำเภอกู่แก้วจังหวัดอุดรธานี.” ศรีนครินทร์เวชสาร 33(6):520–25.

สายธิดา ลาภอนนตสิน, สิริกานต์ เจตนประกฤต, เรืองรักษ์ อัศราช, วาธินี อินกลํ่า, และศิรประภาจํานงค์ผล. 2561. “ผลของการนวดร่วมกับการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดส่วนปลายต่ออาการเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อมบริเวณขาส่วนล่างในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2: การศึกษานำร่อง.” วารสารกายภาพบำบัด 36(3):97–105.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. 2564. “จำนวนและอัตราผู้ป่วยในโรคเบาหวาน (E10-14) ต่อประชากร 100,000 คน (รวมทุกการวินิจฉัยโรค) ปี พ.ศ.2550-2560 จำแนกรายจังหวัดเขตสำนักงานป้องกันควบคุมโรค. และภาพรวมประเทศ (รวมกรุงเทพมหานคร).” Retrieved May 10, 2564 (http://thaincd.com/information-statistic/non-communicable -disease-data.php).

สุมาลี เชื้อพันธ์. 2559. “ผลของโปรแกรมการดูแลเท้าแบบบูรณาการต่อพฤติกรรมดูแลเท้า สภาวะเท้า และระดับ HbA1c ของผู้ป่วยเบาหวานความเสี่ยงสูงต่อการเกิดแผลที่เท้า.” วารสารสภาการพยาบาล 31(1):111–23.

อำภาพร นามวงศ์พรหม, และน้ำอ้อย ภักดีวงศ์. 2553. “การเกิดแผลที่เท้าและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดแผลที่เท้าของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2.” วารสารสภาการพยาบาล 25(3):51–63.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย