กล่องแปลงสัญญาณจากสายสวนชนิดพิเศษ (Box CS)

ผู้แต่ง

  • ชัชญาภา ศรีพรม ศูนย์โรคหัวใจสมเด็จพระบรมราชินีนาถ โรงพยาบาลศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ศุภลัคน์ กาญจนอุทัย โรงพยาบาลศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อานนท์ จันทะนุกูล วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2021.14

คำสำคัญ:

กล่องแปลงสัญญาณจากสายสวนชนิดพิเศษ, เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจชนิดกระตุ้นหัวใจห้องล่างสองห้องพร้อมกัน, หลอดเลือดดำของกล้ามเนื้อหัวใจ

บทคัดย่อ

          ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวบางราย พบว่ามีความผิดปกติจากการนำของสัญญาณไฟฟ้าในหัวใจ ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวไม่พร้อมกัน ทำให้สัดส่วนการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายที่คำนวณจากปริมาณเลือดก่อนและหลังบีบมีค่าลดลงน้อยกว่า ร้อยละ35 (EF<35%) ส่งผลให้ประสิทธิภาพการสูบฉีดเลือดออกจากหัวใจแย่ลงกว่าที่ควรจะเป็น จึงมีความจำเป็นที่แพทย์จะพิจารณาใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจชนิดกระตุ้นหัวใจห้องล่างสองห้องพร้อมกัน Cardiac Resyncronization Therapy, CRT) ซึ่งเป็นหัตถการที่ยากและใช้เวลานานกว่าการใส่เครื่องช่วยกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker) หรือเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ (Automated Implantable Cardioverter-Defibrillator, AICD) เนื่องจากต้องใส่สายเข้าไปในหลอดเลือดดำของกล้ามเนื้อหัวใจ (coronary sinus) ซึ่งมีความยากและแพทย์ต้องใช้ความชำนาญสูง ทางผู้ประดิษฐ์จึงได้คิดนวัตกรรมที่ช่วยให้การทำหัตถการนี้ง่ายและเร็วมากขึ้นเรียกว่า “กล่องแปลงสัญญาณจากสายสวนชนิดพิเศษ (Box CS)” ที่สามารถช่วยให้มีความแม่นยำในการหาตำแหน่งของหลอดเลือดดำของกล้ามเนื้อหัวใจ (coronary sinus) ในการใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจชนิดกระตุ้นหัวใจห้องล่างสองห้องพร้อมกัน (Cardiac Resyncronization Therapy, CRT) ลดโอกาสในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการหาตำแหน่งของหลอดเลือดดำของกล้ามเนื้อหัวใจ (coronary sinus) รวมถึงลดระยะเวลาในการทำหัตถการ ลดปริมาณสารทึบรังสี และลดปริมาณรังสีเอกซเรย์ที่ผู้ป่วยได้รับ เพื่อประโยชน์และความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญ (คมสิงห์ เมธาวีกุล, 2561 : 12-15), (ปิยภัทร ชุณหรัศมิ์, 2562 : 48)

References

คมสิงห์ เมธาวีกุล. (2561). การดูแลผู้ป่วยที่ใส่ CIEDs ที่ได้รับการผ่าตัด (Perioperative management in patients with CIEDs). CVM, 2561(กรกฎาคม-สิงหาคม), 12-15.

ปิยภัทร ชุณหรัศมิ์, ธีรภัทร ยิ่งชนม์เจริญ, ระพีพล กุญชร ณ อยุธยา. (2562). แนวทางเวชปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัยและการ ดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว. พิมพ์ครั้งที่1. สมุทรปราการ : ห้างหุ้นส่วนจํากัด เนคสเตป ดีไซน์.

ศูนย์โรคหัวใจโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย. (2556). Cardiac Resynchro Cardiac Resynchronization Therapy (CRT). สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2564, จากhttp://www.chulacardiaccenter.org/th/about-us/1-latest-advertise/242-cardiac-resynchronization-therapy-crt

Michele Brignole (Chairperson) (Italy), Angelo Auricchio (Switzerland), Gonzalo Baron-Esquivias (Spain), Pierre Bordachar (France), Giuseppe Boriani (Italy), Ole-A Breithardt (Germany), John Cleland (UK), Jean-Claude Deharo (France), Victoria Delgado (Netherlands), Perry M. Elliott (UK), Bulent Gorenek (Turkey), CarstenW. Israel (Germany), Christophe Leclercq (France), Cecilia Linde (Sweden), Lluı´s Mont (Spain), Luigi Padeletti (Italy),Richard Sutton (UK), Panos E. Vardas (Greece). (2013). ESC GUIDELINES. European Heart Journal, 2013(34), 2281–2329.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-26

ฉบับ

บท

บทความทางวิชาการ