การพัฒนาระบบติดตามการจัดซื้อจัดจ้างและการใช้งบประมาณโดยกูเกิลชีต

ผู้แต่ง

  • เอกลักษณ์ สงแทน สถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • อัศจรรย์ อาเมน สถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • กนิษฐา ภูวนาถนรานุบาล สถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2021.25

คำสำคัญ:

ระบบติดตาม, การจัดซื้อจัดจ้าง, งบประมาณ, กูเกิลชีต

บทคัดย่อ

          การประเมินความเสี่ยงของสถาบันชีววัตถุที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2560-2562 พบว่าความเสี่ยงที่พบบ่อย คือโครงการหรือกระบวนการล่าช้ากว่ากำหนด จากการไม่มีวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งมีปัจจัยความเสี่ยงจากการจัดซื้อจัดจ้างที่ล่าช้า รวมทั้งหัวหน้าโครงการหัวหน้ากลุ่มและผู้บริหารไม่สามารถบริหารงบประมาณที่มีหลายโครงการหรือหลายแหล่งเงินได้ภายในระยะเวลาและเป้าหมายที่กำหนด เป็นความเสี่ยงที่ต้องบริหารจัดการอย่างเร่งด่วนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารการใช้จ่ายงบประมาณที่ได้รับจัดสรร จึงต้องจัดทำแผนดูแลความเสี่ยงเพื่อลดผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงโดยการพัฒนาระบบติดตามการจัดซื้อจัดจ้างและการใช้งบประมาณ ผู้พัฒนาได้เลือกใช้กูเกิลชีตซึ่งเป็นบริการของกูเกิลที่มีลักษณะคล้ายกับโปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็กเซล ที่มีระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆและเข้าถึงข้อมูลผ่านเครือข่ายสาธารณะผู้ใช้สามารถใช้บริการได้โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งซอฟต์แวร์เฉพาะซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้และผู้พัฒนา ทำให้ง่ายต่อการใช้งานและพัฒนา เข้าถึงได้จากทุกแพลตฟอร์มผ่านเว็บเบราว์เซอร์ รวมถึงคุณสมบัติด้านความปลอดภัยของการบันทึกและสำรองข้อมูล และเมื่อนำมาใช้งานจริงในช่วงเดือนตุลาคม 2562 ถึงเดือนกันยายน 2563 ได้ร้อยละของการเบิกจ่ายอยู่ในระดับที่ 5 (ร้อยละ 100) เพิ่มขึ้นจากปี 2561-2562  ซึ่งอยู่ในระดับ 2 และ 3 ตามลำดับ ซึ่งต้องอาศัยการติดตามการใช้จ่ายอย่างเร่งด่วน แต่การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ ทำให้เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน และเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดซื้อจัดจ้าง ไม่ต้องอาศัยการติดตามอย่างใกล้ชิดระหว่างบุคคล รวมถึงการบริหารการใช้เงินที่ได้รับจัดสรร และลดผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงการจัดซื้อจัดจ้างที่ล่าช้า

References

กนิษฐา อินธิชิต, วรปภา อารีราษฎร์, จรัญ แสนราช. (2561). การพัฒนารูปแบบการประยุกต์ใช้กูเกิลแอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุนการแนะแนวการศึกษา สำหรับสถาบันอุดมศึกษา. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยี-สารสนเทศและนวัตกรรม. ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2561 หน้าที่ 83-93

วรรณประภา เอี่ยมฤทธิ์. (2556). ระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆกับงานห้องสมุด. วารสารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ปีที่ 14 หน้าที่ 14-21

สุชาดา พลาชัยภิรมย์ศิล. (2553). การลดต้นทุนในธุรกิจด้วย Cloud Computing. วารสารนักบริหาร, ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 หน้าที่ 83-87

Sanchai, R., Kulkantni, G.(2011). Cloud Computing in Digital and University Libraries. Global journal of computer science and technology. 11(12). 37-41.

Shanhong L. (2019) Public IT cloud services: global market growth 2011-2022. [เว็บบล็อก]. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2563, จาก www.statista.com/statistics/203578/global-forecast-of-cloud-computing-services-growth

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย