การศึกษาปัจจัยการประยุกต์ใช้นวัตกรรมดิจิทัล ในการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียน การสอนของสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2023.28คำสำคัญ:
เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์, สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล, การเรียนการสอนบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการประยุกต์ใช้นวัตกรรมดิจิทัล ในการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอนของสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุลในปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีอิทธิพลต่อการการประยุกต์ใช้นวัตกรรมดิจิทัล ในการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอนของสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล และ 3) เพื่อพัฒนาการประยุกต์ใช้นวัตกรรมดิจิทัล ในการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอนของสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล ที่ได้ประโยชน์สูงที่สุด โดยผู้วิจัยได้ทำการวิจัยเอกสาร ทบทวนวรรณกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างกรอบแนวคิดและสมมติฐานของการวิจัย จากนั้นดำเนินการด้วยระเบียบวิจัยเชิงปริมาณ ที่ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากประชากร ประกอบด้วย 3 กลุ่ม ประกอบด้วย คณะผู้บริหาร บุคลากร และนักศึกษาของสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล รวมทั้งสิ้น 253 คน
ผลการวิจัยสรุปได้ว่าการประยุกต์ใช้นวัตกรรมดิจิทัล ในการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอนของสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุลจะมีองค์ประกอบสำคัญเรียงตามลำดับ ได้แก่ ลำดับที่ 1 ด้านการจัดการประยุกต์ใช้นวัตกรรมดิจิทัล มีค่าเฉลี่ย 4.01 สอดคล้องกับค่าสัมประสิทธิ์ของค่าอิทธิพล มากที่สุดเท่ากับ 0.711 ลำดับที่ 2 ด้านการปรับโครงสร้างด้านการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ย 3.96 สอดคล้องกับค่าสัมประสิทธิ์ของค่าอิทธิพลที่มีค่าเท่ากับ 0.627 และ ลำดับที่ 3 ด้านนวัตกรรมดิจิทัล มีค่าเฉลี่ย 3.92 สอดคล้องกับค่าสัมประสิทธิ์ของค่าอิทธิพล มากที่สุดเท่ากับ 0.588
การประยุกต์ใช้นวัตกรรมดิจิทัล ในการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอนของสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุลในอีก 10 ปีข้างหน้า ควรมีเป้าหมายในการใช้นวัตกรรมดิจิทัล เช่น สื่อดิจิทัลในการเชื่อมโยงด้านการศึกษาให้สัมพันธ์กันเป็นระบบ ด้วยปัจจัยด้านการเรียนการสอนในการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในระดับชาติที่มีคุณภาพมาตรฐานให้แก่นักศึกษาทุกคน เกิดทุนทางปัญญาอย่างรู้คุณค่าและสร้างประโยชน์ได้สำเร็จตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิผล ด้วยการกระตุ้นนักศึกษาของสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุลให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างเรียบง่ายและทันสมัย เหมาะสมตรงกับความสนใจและสามารถนำความรู้ไปใช้ได้จริง จากการสร้างความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล อย่างจริงจัง โดยยึดประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญสอดคล้องกับเป้าหมายในการสร้างผลสัมฤทธิ์ที่เป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในอนาคตมากที่สุดอันจะเป็นประโยชน์ต่อตนเอง สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล สังคมและประเทศชาติต่อไป
References
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2563). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับ ที่ 2) พ.ศ.2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ.2565–2569. สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2561). แผนปฏิบัติการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕). สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สุกิจ อัครมหาเสนาวงศ์, สุวดี อุปปินใจ, ไพรภ รัตนชูวงศ์, และ ประเวช เวชชะ. (2565). แนวทางการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านดิจิทัลในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. Journal of Modern Learning Development, 7(2), 1-18.
Ahonen, A. K., & Kankaanranta, M. (2015). Introducing assessment tools for 21st century skills in Finland. In P. Griffin & E. Care (Eds.), Assessment and teaching of 21st century skills. Methods and approaches, (pp. 213-225). Dordrecht.
Blikstein, P. (2013). Digital fabrication and “making” in education: The democratization of innovation. FabLabs: of machines, makers and inventors. Bielefeld: Transcript.
Baker, R. S. (2016). Stupid tutoring systems, intelligent humans. International Journal of Artificial Intelligence in Education, 26(2), 600-614.
Baldwin, S. J., Ching, Y. H., & Friesen, N. (2018). Online course design and development among college and university Instructors: An analysis using grounded theory. Online Learning Journal, 22(2), 157-171.
Dalinger, T., Thomas, K. B. Stansberry, S., Xiu, Y. (2020). A mixed reality simulation offers strategic practice for pre-service teachers. Computers & Education, 144, 1-15.
Dziuban, C., Howlin, C., Moskal, P., Johnson, C., Parker, L., & Campbell, M. (2018). Adaptive learning: A stabilizing influence across disciplines and universities. Online Learning Journal, 22(3), 7-39.
Howard, E., Meechan, M., & Parnell, A. (2018). Contrasting prediction methods for early warning systems at the undergraduate level. The Internet and Higher Education, 37, 66-75.
Rasheed, R. A., Kamsin, A., & Abdullah, N. A. (2020). Challenges in the online component of blended learning: A systematic review. Computers & Education, 144, 103701.
Sottilare, R. A., Baker, R. S., Graesser, A. C., & Lester, J. C. (2018). Special Issue on the Generalized Intelligent Framework for Tutoring (GIFT): Creating a stable and flexible platform for Innovations in AIED research.
International Journal of Artificial Intelligence in Education, 28 (2), 139-151.
Saba, F. & Shearer, R. (2018). Transactional Distance and Adaptive Learning: Planning for the Future of Higher Education. Routledge.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Mahidol R2R e-Journal
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.