การพัฒนาแบบประเมินคุณภาพการกลืนสำหรับนักกิจกรรมบำบัด
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2021.22คำสำคัญ:
การกลืน ,ภาวะกลืนลำบาก , แบบประเมิน ,นักกิจกรรมบำบัดบทคัดย่อ
การฟื้นฟูการกลืนเป็นหนึ่งบทบาทสำคัญของนักกิจกรรมบำบัด ในการบรรลุเป้าหมายสูงสุดของการฟื้นฟูนั้น ต้องประกอบด้วยการประเมินและติดตามผลที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามยังไม่มีแบบประเมินที่สามารถให้ข้อมูลเชิงคุณภาพการกลืนในบริบทของกิจกรรมบำบัดอย่างครบถ้วน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบประเมินคุณภาพการกลืนสำหรับนักกิจกรรมบำบัด และทำการศึกษาความตรงและความเที่ยงของแบบประเมินดังกล่าว
แบบประเมินที่พัฒนาขึ้นในการศึกษานี้ประกอบด้วยหัวข้อการประเมินหลักด้านคุณภาพการกลืน 6 ข้อ ซึ่งนักกิจกรรมบำบัดควรประเมินและติดตามผลอย่างละเอียด การศึกษาความตรงของแบบประเมินได้แก่ การวัดความตรงเชิงเนื้อหา การศึกษาความเที่ยงของแบบประเมินประกอบด้วยการวัดความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมินและการวัดความเที่ยงภายในผู้ประเมิน ผลการศึกษาความตรงเชิงเนื้อหา พบค่าดัชนีความสอดคล้องในระดับสูง ส่วนการวัดความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมินและการวัดความเที่ยงภายในผู้ประเมินพบ ค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ภายในชั้นในระดับดีเยี่ยม
การศึกษานี้สรุปได้ว่าการพัฒนาแบบประเมินคุณภาพการกลืนสำหรับนักกิจกรรมบำบัดมีค่าความตรงและค่าความเที่ยงในระดับสูง กล่าวคือแบบประเมินนี้มีมาตรฐานและเหมาะสมต่อการนำไปใช้เพื่อวัดผลลัพธ์เชิงคุณภาพในการฟื้นฟูการกลืนโดยนักกิจกรรมบบัดได้
References
American Occupational Therapy Association (AOTA). (2014). Standards of practice for occupational therapy. American Journal of Occupational Therapy, 69(3).
Crary MA., et al. (2005). “Initial psychometric assessment of functional oral intake scale for dysphagia in stroke patients”. Archives of Physical Medicine and Rehabilitation 86(8) :1516-1520.
Ding Y., Zhang C.J., Shi.J., Deng J., Lan C.N. (2016). Clinical application of ICF ket codes to evaluate patients with dysphagia following stroke. Journal of Rehabilitation Medicine, 95(38): 1-8.
Giselle D, Carnaby Mann G D, &Crary M A. (2007). Examining the evidence on neuromuscular electrical stimulation for swallowing: a meta-analysis. Arch Otolaryngol Head & Neck Surg. 133(6):564-571.
Mann G, Hankey GJ, Cameron D.(1999). Swallowing function after stroke: prognosis and prognostic factors at 6 months. Stroke, 30,744-8.
Martino R, Foley N, Bhogal S, Diamant N, Speechley M,Teasell R. (2005). Dysphagia after stroke: incidence, diagnosis, and pulmonary complications. Stroke,36: 2756-63.
Norine C. Foley, Ruth E. Martin, Katherine L. Salter, BA and Robert W. Teasell. (2009). A Review of the Relationship Between Dysphagia and Malnutrition Following Stroke. Journal of Rehabilitation Medicine, 41: 707–713.
O’Brien J.C., & Hussey S. M. (2012). Occupational therapy process: Evaluation, intervention, and outcomes. In O’Brien J. C., & Hussey S. M. (Eds.), Introduction to Occupational Therapy. 4th Ed. St. Louis, Miss.: Elsevier/Mosby: 113-123.
Portney, L. G., & Watkins, M. L. (2009). Reliability of measurements. In Portney, L. G., & Watkins, M. L. (Eds), Foundations of clinical research: Application to practice. 3rd Ed. Upper Saddle River, N.J.: Pearson Education, Inc : 86-87.
Threats T. T. (2007). Use of the ICF in dysphagia management. Seminars in speech and language, 28(4), 323–333. https://doi.org/10.1055/s-2007-986529
พรสวรรค์ โพธิ์สว่าง. (2562). การฟื้นฟูสมรรถภาพเบื้องต้นแก่ผู้ที่มีภาวะกลืนลำบาก. เอกสารประกอบการบรรยายโครงการพัฒนาเครือข่ายบริการด้านการฟื้นฟูภาวะกลืนลำบากเบื้องต้น งานกิจกรรมบำบัด สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ.
พรสวรรค์ โพธิ์สว่าง. (บรรณาธิการ). (2554). แนวทางปฏิบัติในการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดสำหรับผู้ที่มีภาวะกลืนลำบากจากโรคหลอดเลือดสมอง (Occupational therapy for post stroke dysphagia: a clinical guideline).
แนวปฏิบัติทางคลินิกกิจกรรมบำบัดสำหรับผู้รับบริการโรคหลอดเลือดสมอง,คณะกรรมการวิชาชีพ สาขากิจกรรมบำบัดและสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2555).