ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • รัตนสุดา โสภวัฒนกุล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นัดดา วรรณราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุชีรา วิบูลย์สุข คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พิราวรรณ หนูเสน คณะแพทยสาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2023.21

คำสำคัญ:

วิทยาศาสตร์สุขภาพ, ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกเรียน, ปริญญาโท

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ 5 ด้าน คือ ปัจจัยทางด้านบุคคล  ปัจจัยทางด้านหลักสูตร  ปัจจัยทางด้านสถาบันการศึกษา ปัจจัยทางด้านค่าใช้จ่ายในการศึกษา และปัจจัยทางด้านสังคม

          วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง คือ 1. กลุ่มผู้ที่สำเร็จการศึกษา หรือ กำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้าย ในหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยจะทำการเก็บข้อมูลจากนักศึกษา ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยของรัฐ ในคณะที่มีการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ครุศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ 2. กลุ่มผู้ที่มีประสบการณ์ทำงานทางด้านการศึกษาทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้แก่ บุคลากรสายวิชาการ และ บุคลากรสายสนับบสนุน ผู้วิจัยจะทำการเก็บข้อมูลจากผู้ที่ปฏิบัติงานตามคณะแพทย์ต่างๆ ในประเทศไทย จำนวนกลุ่มตัวอย่างจำนวน  85 รายเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีการวิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้เทคนิควิธี Pearson Correlation เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าศึกษาต่อกับการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

          ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31 - 40 ปี มีสถานภาพโสด มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเป็นพนักงานของรัฐ/พนักงานมหาวิทยาลัย มีรายได้เฉลี่ย ไม่น้อยกว่า 50,000 บาท และมีประสบการณ์ในการทำงานด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ในช่วง 1 – 3 ปี โดยผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ อยู่ในระดับมาก และให้ความสำคัญกับปัจจัยทางด้านสถาบันการศึกษา มากที่สุด รองลงมาคือ ปัจจัยทางด้านหลักสูตร ปัจจัยทางด้านสังคม และ ปัจจัยทางด้านค่าใช้จ่ายในการศึกษา ตามลำดับ

          สรุป: เพศ อายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และประสบการณ์ในการทำงานด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่แตกต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. สืบค้นจาก tungsong.com/Law/l_การศึกษา.htm

ใจชนก ภาคอัต. (2556). ปัจจัยด้านการพัฒนาคุณภาพของสถาบันที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักศึกษาระดับปริญญาโท สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์[เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ชนินทร์ เลิศประภาภรณ์. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับปริญญาโททางการบัญชี. [วิทยานิพนธ์ บัญชีมหาบัณฑิต].

ธันยากร ช่วยทุกข์เพื่อน. (2558). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนในระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารสุทธิปริทัศน์, 29(90), 256–271.

นิธิมา สังคหะ. (2547). แรงจูงใจในการเลือกเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีของนักศึกษา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

พรรณพนัช จันหา และ อัจฉริยา ปราบอริพ่าย. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. Veridian E-Journal, Silapakorn University, 8(1), 291 – 318.

ศศิธร บูรณ์เจริญ. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจศึกษาต่อหลักสูตรระดับปริญญาโทของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 4(2), 136-159.

อาภรณ์ เชี่ยวชาญเกษตร. (2551). เหตุจูงใจในการเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาของนักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. [ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต].

อุทุมพร ไวฉลาด และจงดี โตอิ้ม. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวลัยลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมถ์, 10(2), 165 – 177.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย