ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเหตุแห่งความรับผิดตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ 2539

ผู้แต่ง

  • ธนาชัย มาโนช กองกฎหมาย มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อวยชัย อิสรวิริยะสกุล กองกฎหมาย มหาวิทยาลัยมหิดล

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2022.1

คำสำคัญ:

ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

บทคัดย่อ

         เมื่อเกิดความเสียหายกับหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานของรัฐพิจารณาแล้วเห็นว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นมีเหตุอันควรเชื่อว่า เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ หน่วยงานของรัฐจะดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด เพื่อดำเนินการสอบสวนให้ได้ความว่า ความเสียหายเช่นว่านั้น เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ผู้ใด และการกระทำนั้นเป็นการกระทำด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันเป็นการกระทำผิดต่อกฎหมายหรือไม่ หากพบว่าจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เจ้าหน้าที่ผู้นั้นต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งหน่วยงานของรัฐจะมีคำสั่งทางปกครองให้ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทน หากเจ้าหน้าที่ไม่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานของรัฐชอบที่จะใช้มาตรการบังคับทางปกครองดำเนินการยึด อายัดทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่นำมาชำระหนี้ให้กับหน่วยงานของรัฐ แต่หากพบว่าเป็นเพียงการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ เจ้าหน้าที่ผู้นั้นไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ประเด็นสำคัญที่จะพิจารณาถึงความรับผิดของเจ้าหน้าที่คือ กรณีใดที่จะถือว่าเป็นการกระทำที่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง อันเป็นเหตุแห่งความรับผิดตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ 2539 ซึ่งถือเป็นประเด็นปัญหาในการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐ
          จากการศึกษาพบว่า เมื่อนำคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดมาวิเคราะห์แล้ว การกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง (gross negligence) จะมีพฤติการณ์และลักษณะ คือ เป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยไม่ได้คำนึงสิ่งที่ควรทำในหน้าที่ ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ทั้งไม่กระทำหรือละเลยที่จะกระทำตามขั้นตอนที่กำหนด และไม่ได้ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเพียงพอ เบี่ยงเบนไปจากเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ หากได้ใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้น ก็อาจป้องกันมิให้เกิดความเสียหายได้ ดังนั้นการจะพิจารณาว่าพฤติการณ์ใดจะถือว่าเป็นการกระทำที่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง (gross negligence) อย่างใดจะเป็นเพียงประมาทเลินเล่อ (negligence) ผู้พิจารณาทางปกครองเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ควรที่จะศึกษา ค้นคว้า คำพิพากษาศาลปกครอง คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด หรือแม้แต่คำพิพากษาของศาลยุติธรรม นำมาประกอบการใช้เป็นดุลพินิจในการพิจารณา เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของรัฐ

References

กิตติบดี ใยบูล. (2560). สรุปการบรรยายละเมิด (9) เรื่องประมาทเลินเล่อ.ม.ป.ท.

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.214/2549

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.338-339/2549

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.362/2549

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.254/2550

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.267/2550

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.104/2551

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.146/2553

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.626/2557

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.942/2558

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.1012/2563

จิตติ ติงศภัทิย์.(2516). กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย.กรุงเทพ.นิติบรรณาการ.

นิตา บุณยรัตน์.ม.ป.ป.,ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่?....เทียบได้จากเกณฑ์มาตรฐานทั่วไป.ม.ป.ท.

ปกรณ์ นิลประพันธ์. (2563). หน้าที่โดยปริยาย คำอธิบายในห้วงวิกฤติ. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2563, จาก http://public-law.net/publaw/view.aspx?id=1910

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2535.(2535).

ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 169 ตอนที่ 42 วันที่ 8 เมษายน 2535

ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2499. (2499). ราชกิจจา-นุเบกษา เล่ม 73 ตอนที่ 95 ฉบับพิเศษ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2499

พัชฌา จิตรมหึมา.(2563). ปัญหาความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พิเคราะห์หลักเกณฑ์การพิจารณาและการแยกความรับผิด โดยเปรียบเทียบกับการจัดแบ่งความผิดตามกฎหมายฝรั่งเศษ.กรุงเทพ.สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539. (2539). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 ตอนที่ 60 ก วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539

พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542. (2542). ราชกิจจา-นุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 94 ก วันที่ 10 ตุลาคม 2542

พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522. (2522).

ราชกิจจานุเบกษา เลม 96 ตอนที่ 8 ฉบับพิเศษ วันที่ 29 มกราคม 2522

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551. (2551). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนที่ 22 ก วันที่ 25 มกราคม 2551

พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539.(2539). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 ตอนที่ 60 ก วันที่ 14 พฤศจิกายน 2539

ภัฏ พงศ์ธามัน. (2561). “ความเสียหาย (damage) กับ ค่าเสียหาย (damages) มีนัยต่างกัน มิใช่สิ่งเดียวกัน” สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2563 จาก https://m.facebook.com/nt/screen/?params=%7B%22note_id%22%3A344015530183512%7D&path=%2Fnotes%2Fnote%2F&_rdr

สำนักงาน ก.พ.(OCSC). (2564) หน้าที่ของเจ้าหน้าที่พัสดุตามมาตฐานกำหนดตำแหน่ง สำนักงาน ก.พ.(OCSC).ปฏิบัติงานพัสดุ สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2564 จากhttps://www.ocsc.go.th/sites/default/files/attachment/job_specification/4-1-002-1.pdf

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2565,https://www.dsi.go.th/files/Images/img 25610830153511ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี_หลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดชอบฯ2539.pdf

อุดมศักดิ์ โหมดม่วง. (2563). ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ : หลักกฎหมายและแนววินิจฉัย สืบค้นเมื่อ10 ตุลาคม 2563,จาก https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/114515

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-12

ฉบับ

บท

บทความทางวิชาการ