การพัฒนาระบบบริหารจัดการการปฏิบัติราชการของบุคลากร

ผู้แต่ง

  • กุณฑล กระบวนรัตน์ สำนักคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2021.7

คำสำคัญ:

วันลา, การปฏิบัติราชการ, บุคลากร, การบริหารจัดการ, งานบุคคล, ระบบสารสนเทศ

บทคัดย่อ

          การดำเนินงานทางด้านการบริหารงานบุคคลของสำนักคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โดยเฉพาะในส่วนของการมาปฏิบัติราชการว่าด้วยเรื่องของการลาของบุคลากรภายในสำนัก ในปัจจุบันการรวบรวมข้อมูล จัดทำสถิติยังไม่มีการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ และยังคงเป็นการดำเนินการทางกระดาษ ส่งผลให้การกรอกฟอร์มการลามีความล่าช้าและไม่สะดวก เนื่องจากบุคลากรไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลวันมาปฏิบัติราชการได้ด้วยตนเอง ดังนั้นวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือเพื่อศึกษากระบวนการทำงานของการลา พัฒนาระบบบริหารจัดการการปฏิบัติราชการของบุคลากร ทดลองใช้งานระบบ และหาประสิทธิภาพของระบบที่พัฒนาขึ้น โดยระบบที่พัฒนาขึ้นนี้จะต้องมีอำนวยความสะดวกต่อบุคลากรของสำนัก ทำให้การลามีความรวดเร็ว และช่วยลดปริมาณการใช้กระดาษ

          ผลการวิจัยพบว่า ระบบบริหารจัดการการปฏิบัติราชการของบุคลากร สามารถช่วยอำนวยความสะดวกในการตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติราชการ การลา ของบุคลากรภายในสำนักคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และจากผลการประเมินประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์จากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการดำเนินการทางด้านการออกแบบระบบสารสนเทศ, การพัฒนาระบบสารสนเทศ และการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ พบว่า มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X} = 4.13, S.D. = 0.35) 3 อันดับแรกคือ (1) ระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นมีความสามารถในการใช้งาน ( gif.latex?\bar{X} = 4.84, S.D. = 0.99) (2) ระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพในการทำงาน ( gif.latex?\bar{X} =4.46, S.D. = 0.54) (3) ระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นสามารถทำหน้าที่ตามที่ตั้งไว้ ( gif.latex?\bar{X} = 4.40, S.D. = 0.30)

References

กฤตยา ทองผาสุก. (2554). ระบบการลาและบันทึกเวลาปฏิบัติงานออนไลน์ : กรณีศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. เอกสารการประชุมทางวิชาการครั้งที่ 6 National Conference on Computing and Information Technology. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

กองบริหารและจัดการทรัพยากรมนุษย์ มจพ. (2555). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๕. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2560 , จาก http://www.hrd.kmutnb.ac.th/images/3.ระเบียบ-สน.นายกว่าด้วยการลา-ป-2555.pdf

กองบริหารและจัดการทรัพยากรมนุษย์ มจพ. (2555). ประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2560 , จาก http://law.kmutnb.ac.th/

กองบริหารและจัดการทรัพยากรมนุษย์ มจพ. (2555). ข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ว่าด้วย การบริหารงานบุคคลพนักงานมหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2560 , จาก http://www.hrd.kmutnb.ac.th/

นนิดา สร้อยดอกสน, ณัฐพร สวัสดิ์นาวิน, ปิยนุช ขันติศุข (2557). การพัฒนาระบบลางานออนไลน์. วารสารวิชาการและวิจัย มทร. พระนคร, 8(2)ม 115-126.

สุนทร คล้ายสุบรรณ์, อรทัย ทองฤกษ์ฤทธิ์, เบญจมาศ ฉลากการณ์ และคณะ (2561). การพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการวิจัยของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นวันที่ 15 ธันวาคม 2561 , จาก https://r2r.mahidol.ac.th/document/preparedoc.pdf

สุธกิจ อุดมทรัพย์ (2550). ระบบบริหารงานบุคคลสำหรับการบริหารเวลาทำงานของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัท เจมาร์ท จำกัด (มหาชน) (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ)

Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. Reading inAttitude Theory and Measurement. P.90-95. Fishbeic, Matin, Ed. NewYork : Wiley & Son.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-23

ฉบับ

บท

บทความวิจัย