การศึกษาตลอดชีวิต : พัฒนาสังคมไทยสู่สังคมแห่งการเรียนรู้

ผู้แต่ง

  • ดุษณี ดำมี

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2014.5

คำสำคัญ:

การศึกษาตลอดชีวิต, สังคมแห่งการเรียนรู้, การพัฒนาสังคมไทย

บทคัดย่อ

          การศึกษาตลอดชีวิตของประเทศไทย ได้กลายเป็นแนวความคิด และแนวทางที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการปฏิรูปการศึกษาในลักษณะของการผสมผสาน ที่มีความสัมพันธ์กับทรัพยากรทางการศึกษา และวิถีชีวิตของคนในชุมชนจนเป็นหนึ่งเดียว  โดยได้ปรากฏเป็นนโยบายและยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ได้แก่ นโยบายรัฐบาล  (ปี พ.ศ. 2555)  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.  2555-2559)  พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับ 2) พ.ศ.2545 และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับ 3) พ.ศ.  2553  แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552 - 2559)  และข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) ซึ่งนโยบายและยุทธศาสตร์ดังกล่าว เป็นการกำหนดทิศทางการดำเนินงานเพื่อให้เกิดผลในเชิงประจักษ์

          การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ที่ทำให้ทุกคนในสังคมได้มีโอกาสเรียนรู้ตลอดชีวิตนั้น จำเป็นต้องมีเครื่องมือที่เหมาะสม มีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้  การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ให้กระจายไปอย่างทั่วถึง เปิดโอกาสให้ทุกคนได้รับการศึกษาตามความต้องการ  มีความยืดหยุ่นตามโอกาสและสถานการณ์ ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนในสังคมมีบทบาทในการจัดการศึกษา  มีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้เรียน การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ เพื่อพัฒนาคนให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนากลุ่มแห่งการเรียนรู้ องค์กรแห่งการเรียนรู้  และสังคมแห่งการเรียนรู้ต่อไป

References

กรมวิชาการ. (2540). ประทีปแห่งการศึกษา : พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสด้านการศึกษา. กระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพฯ : ศูนย์พัฒนาหนังสือกระทรวงศึกษาธิการ.

ชูเกียรติ ลีสุวรรณ์ .(2543), นโยบายส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตของประเทศไทย. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.นุชนาถ สุนทรพงธุ์. แนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาตลอดชีวิต.(ออนไลน์).แหล่งที่เข้าถึงhttp://km.ru.ac.th/hrd/Journal/vol_1No_1/nutchanart_1.pdf. เข้าถึงเมื่อ [18/11/2556].

ประเสริฐ บุญเรือง. นโยบายรัฐบาลด้านการจัดการศึกษาตลอดชีวิต. (ออนไลน์). แหล่งที่เข้าถึง http://panchalee.files.wordpress.com/2012/07/ksn_book.pdf. เข้าถึงเมื่อ [15 /10/ 2557].

ประดินันท์ อุปรมัย (2540), มนุษย์กับการเรียนรู้ เอกสารการสอนชุดวิชาพื้นฐานการศึกษา: พิมพ์ครั้งที่ 15, นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พิมพ์พรรณ เทพสุเมธานนท์และคณะ. (2546). ปรัชญาการศึกษา EF 703 (EF 603). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ฟาฏินา วงศ์เลขา (2555). การศึกษาตลอดชีวิตพัฒนาคนไทยอย่างยั่งยืน (ออนไลน์). แหล่งที่เข้าถึง.http://www.Content/education/net. เข้าถึงเมื่อ [18/11/2557].

มนัสวาสน์ โกวิทยา. (2545). การเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยการศึกษาทางไกล ในการศึกษานอกระบบโรงเรียนกับการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุทธการ สืบแก้ว. (2551). การพัฒนาแบบวัดอภิปัญญาสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รักกิจ ศรีสรินทร์. (2554). การเรียนรู้ตลอดชีวิต. กองการต่างประเทศ. กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย.

วิชัย อุตสาหกิจ. (2551). กระบวนการการเรียนรู้และพฤติกรรมมนุษย์. เอกสารประกอบการศึกษาวิชา ทม. 621. กรุงเทพมหานคร: คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สถาบันส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้. การศึกษาตลอดชีวิต. (ออนไลน์). แหล่งที่เข้าถึง http://dnfe5.nfe.go.th/ilp/liciti/longlife.html. เข้าถึงเมื่อ [ 8/10/ 2557]

สุนทร สุนันท์ชัย. (2532). หลักและปรัชญาการศึกษาตลอดชีวิต. เอกสารการสอนชุดวิชาการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษานอกระบบ หน่วยที่ 1 เล่มที่ 1 สาขาวิชาศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุมาลี สังข์ศรี. (2543). การศึกษาตลอดชีวิตเพื่อสังคมไทยในศตวรรษที่ 21 . สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุนทราภรณ์ มะโน เยาวนิจ กิตติธนกุล และชนิษฎา ชูสุข. (2552).การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้จริยธรรมสำหรับเยาวชนโดยวัดและชุมชน กรณีศึกษาสภาลานวัดตะโหมด ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา. สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). รายงานสรุปการสัมมนา. นโยบายส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ .(2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559). กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานบริหารการศึกษานอกโรงเรียน. (2538). การศึกษาตลอดชีวิต :การศึกษาของคนไทยในยุคโลกาภิวัตน์.กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน.(2552).ดัชนีและตัวชี้วัดด้านการศึกษาไทย. (ออนไลน์). แหล่งที่เข้าถึง http://www.qlf.or.th/Home/Contents/149. เข้าถึงเมื่อ [ 25/10/ 2557].

“-----------“(2557).สำรวจนิสัยการอ่านรากฐานสังคมแห่งการเรียนรู้.(ออนไลน์).แหล่งที่เข้าถึง http://www.qlf.or.th/Home/Contents/524.

เข้าถึงเมื่อ [25/10/ 2557].

องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) (2555). Literacy as Freedom .อ้างในวารสารการศึกษาตลอดชีวิต. ปีที่ 1 ฉบับที่ (1) นำทองการพิมพ์ จำกัด : กรุงเทพฯ

อุดม เชยกีวงศ์. (2551). การส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. กรุงเทพฯ : แปลนพริ้นติ้ง.

Edgar Faure, (1972) อ้างใน เอกสารสาระหลักการและแนวคิดประกอบการดำเนินงาน กศน. : คัมภีร์กศน.หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. กรุงเทพฯ: เอ็น. เอ รัตนะเทรดดิ้ง.

Hilgard, E. R., & Bower, G. H. (1981). Theories of Learning (3rd ed.). Englewood Cliffs, NJ :Prentice-Hall Policy Brief. (2004).Lifelong Learning, Organization for Economic Co-operation and Development:OECD.

R.H. Dave. (1976). Foundation of Lifelong Education.Paris : UNESCO.UNESCO. (1970). An Introduction to Lifelong Education. Paris : UNESCO.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-08

ฉบับ

บท

บทความวิจัย