ความพึงพอใจของนักศึกษาหลังปริญญาต่อหลักสูตร ภาควิชาทันตกรรมเด็ก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2551 - 2555

ผู้แต่ง

  • เพชรา ภูวิภานนท์
  • ทัศนีย์ เกตุคุ้มภัย
  • ประภาศรี ริรัตนพงษ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2015.4

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, นักศึกษาหลังปริญญา, ภาควิชาทันตกรรมเด็ก, มหาวิทยาลัยมหิดล

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาหลังปริญญาที่มีต่อหลักสูตร ภาควิชา         ทันตกรรมเด็ก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2551 - 2555 ในด้านต่างๆ 5 ด้าน ได้แก่ หลักสูตรการเรียนการสอน อาจารย์ผู้สอน เจ้าหน้าที่ดูแลหลักสูตร ปัจจัยสนับสนุนและสิ่งอำนวยความสะดวก และชื่อเสียงของสถาบัน โดยการส่งแบบสอบถามปลายปิดทางไปรษณีย์ให้นักศึกษาหลังปริญญาทุกคน  ทั้งหมด 75 คน ผู้วิจัยได้รับแบบสอบถามคืน 63 ชุด คิดเป็นร้อยละ 84  วิเคราะห์ข้อมูลที่โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาด้วยค่าความถี่ และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาหลังปริญญาทุกคนพึงพอใจมากและมากที่สุดในความรู้ทางวิชาการที่ได้รับจากหลักสูตรและส่วนใหญ่มีความพึงพอใจมากและมากที่สุดในเกือบทุกด้าน แต่กว่าครึ่งหนึ่งพึงพอใจปานกลางถึงน้อยที่สุดต่อการสนับสนุนเงินทุนวิจัย

References

1. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.(2554). คู่มือการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2553.กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.

2. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).(2555).คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554-2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับสถานศึกษา (แก้ไขเพิ่มเติม 2554). สมุทรปราการ: บริษัทออฟเซ็ท จำกัด.

3. กลุ่มงานจัดการฐานข้อมูล กลุ่มพัฒนาระบบสารสนเทศ ศูนย์สารสนเทศ สป.ศธ. 2542 (2542).หนังสือราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

4. สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา.(2552). การประชุมหารือคณะกรรมการอุดมศึกษา และคณะอนุกรรมการด้านมาตรฐานการอุดมเรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมระดับอุดมศึกษา 2552, 11 เม.ย.2557. http://www.mua.go.th/users/tgf-hed/

5. กระทรวงศึกษาธิการ.(2548).แนวทางการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2548 ราชกิจจานุเบกษา.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

6. ธีรพงษ์ มหาวีโร.(2555).แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.กรุงเทพมหานคร: บริษัทสำนักพิมพ์เดอะบุคส์จำกัด.

7. Vagias WM. Likert-type scale responseanchors. Clemson International Institute for Tourism & Research Development of Parks, Recreation and Tourism Management (Clemson University) 2006. Update 11 April 2014 Available from :URL: http://www.clemson.edu/centers- institutes/tourism/documents/sample-scales.pdf.

8. ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์.(2539).การพัฒนาหลักสูตร: หลักการและแนวทางปฏิบัติ.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อลีเพรส.

9. วรรณนภา โพธิ์ศรี.(2546).การพัฒนากระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนเครือข่ายการบริหารจัดการหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตการศึกษา 7 วิทยานิพนธ์ กศ.ม.มหาวิทยาลัยนเรศวร.พิษณุโลก.

10. ชัยนันท์ธรณ์ ขาวงาม.(2555).ศึกษาความพึงการเรียนการสอนนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง จังหวัดลำปาง.

11. อัญชลี พริ้มพรายและคณะ.(2549).ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อคุณภาพการสอนและปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้ของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช. มหาวิทยาลัยนครศรีธรรมราช.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-06-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย