ผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติและได้รับการอ้างอิงของ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

ผู้แต่ง

  • ธนารีย์ บัวเผื่อน
  • มุกดาลักษณ์ บุญทรง
  • ประทักษ์ โอประเสริฐสวัสดิ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2015.20

คำสำคัญ:

ผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ, การอ้างอิง, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

บทคัดย่อ

          คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มีวิสัยทัศน์ที่จะเป็นสถาบันการแพทย์ชั้นนำในระดับสากลและเป็นประทีปส่องทางด้านสุขภาพของประเทศ ซึ่งต้องดำเนินงานใน 3 พันธกิจหลัก ได้แก่ ด้านการศึกษา ด้านการวิจัย และด้านการบริการสุขภาพ โดยเน้นการวิจัยเพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่และจำเป็นจะต้องเป็นผลงานวิจัยที่มีคุณภาพได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติและได้รับการอ้างอิง ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลงานวิจัยของคณะฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติและได้รับการอ้างอิง จากฐานข้อมูล Scopus โดยทำการศึกษาย้อนหลัง 3 ปีในระหว่างปี พ.ศ.2555 – 2557 พบว่าจากผลงานวิจัยทั้งหมด 782 เรื่อง มีผลงานวิจัยที่ได้รับการอ้างอิง 449 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 57.4 ซึ่งเป็นผลงานวิจัยที่ได้รับการอ้างอิง 1 ครั้ง 2 ครั้ง 3 ครั้ง 4 ครั้ง และมากกว่าหรือเท่ากับ 5 ครั้ง เท่ากับร้อยละ 18.4, 10.1, 5.0, 6.5 และ 17.4 ตามลำดับ และเมื่อทำการจัดกลุ่มเปรียบเทียบตามภาควิชาต่างๆ พบว่า ภาควิชาฯ ที่มีผลงานวิจัยที่ได้รับการอ้างอิงสูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ร้อยละ 57.4 ได้แก่ ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คิดเป็นร้อยละ 70.6 ภาควิชาสูติศาสตร์ – นรีเวชวิทยา คิดเป็นร้อยละ 64.5 ภาควิชาพยาธิวิทยา คิดเป็นร้อยละ 63.3 ภาควิชาอายุรศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 62.3 และภาควิชาจักษุวิทยา คิดเป็นร้อยละ 59.1 และเมื่อวิเคราะห์ถึงผลงานวิจัยที่ได้รับการอ้างอิงตามระบบอวัยวะที่เกิดโรคหรือสาเหตุของโรคพบว่า ผลงานวิจัยเกี่ยวกับโรคมะเร็งได้รับการอ้างอิง ร้อยละ 13.1 ระบบต่อมไร้ท่อ ร้อยละ 11.8 โรคเลือดธาลัสสีเมียและฮีโมฟิเลีย             ร้อยละ 9.6 โรคติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์ ร้อยละ 8.5 และเป็นโรคหายาก ร้อยละ 7.6 เป็นต้น

          ดังนั้น ในการพัฒนาคุณภาพงานวิจัยของคณะฯ ให้ได้รับการอ้างอิงเพิ่มขึ้นนั้นจำเป็นที่จะต้องให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการดำเนินงานระหว่างภาควิชา จากภาควิชาที่มีผลงานวิจัยที่ได้รับการอ้างอิงสูงร่วมกับการทำงานเชิงรุกให้มีการวิจัยมุ่งเป้าเฉพาะโรคที่อาจารย์ของคณะฯ มีความเชี่ยวชาญชำนาญเฉพาะทางโดยเฉพาะกลุ่มโรคมะเร็ง โรคของระบบต่อมไร้ท่อ โรคเลือดธาลัสสีเมียและฮีโมฟิเลีย โรคติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์ และโรคหายาก ก็จะทำให้คณะฯ บรรลุเป้าหมายและวิสัยทัศน์ต่อไป

References

มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ข้อตกลงการปฏิบัติงาน (PA : Performance Agreement) ระหว่าง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กับ มหาวิทยาลัยมหิดล ปี พ.ศ. 2555-2557. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

Times Higher Education (THE) World UniversityRankings. [Online]. (สืบค้นเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2558) จาก https://www. timeshighereducation.com/world-university-rankings/Ministry of Public Health,Bureau of Policy and Strategy, Office of the Permanent Secretary, Thailand. International Statistical Classification of Diseases and Related Health Problems. Tenth revision Thai modification ICD-10-TM, Volumes 5, Standard coding guidelines. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-12-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย