ความต้องการรับบริการทันตกรรมและความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการของโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2015.18คำสำคัญ:
ความต้องการรับบริการทันตกรรม, ความพึงพอใจของผู้รับบริการ, วันทันตสาธารณสุขแห่งชาติบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการมารับบริการทันตกรรม และความพึงพอใจของผู้มารับบริการเนื่องในวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ ที่โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้มารับบริการโดยไม่คิดมูลค่าในวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2557 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามความต้องการรับบริการทันตกรรม ในวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ ที่โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 ความพึงพอใจต่อการบริการ และส่วนที่ 3 ข้อเสนอแนะ โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 668 คน นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าผู้มารับบริการมีความต้องการมารับการรักษาทันตกรรมในวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติมาด้วยอาการและต้องการรับการรักษาทันตกรรมที่เลือกเป็นลำดับแรก คือ ตรวจฟัน ร้อยละ 43.2 รองลงมาคือ ฟันผุหรือฟันเป็นรู ร้อยละ 26.0 และถอนฟันหรือผ่าฟันคุด ร้อยละ 20.5 ตามลำดับ ผู้มารับบริการสนใจมารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลทันตกรรม ในระบบการเรียนการสอน ร้อยละ 66.7 ประเภทที่สนใจมารับการรักษามากที่สุดคือ ขูดหินน้ำลาย ร้อยละ 30.8 รองลงมาคือ อุดฟัน ร้อยละ 26.1 และรักษารากฟัน ร้อยละ 13.3 ตามลำดับ มีผู้มารับบริการอายุตั้งแต่ 10-76 ปี และผู้รับบริการสามารถมารับการรักษาได้ทุกวันหากนัดล่วงหน้า ร้อยละ 54.4 ส่วนความพึงพอใจต่อการให้บริการของโรงพยาบาลทันตกรรมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.35 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน)
References
ฐิติมา เดียววัฒนวิวัฒน์. (2553). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของผู้รับบริการ ต่อการให้บริการของคลินิกทันตกรรม วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี. ชลบุรี: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี.
ณัฐพงศ์ คำบุรี. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการคลินิกทันตกรรมสำหรับจัดฟันของนักศึกษาสายสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ทิพาพร เสถียรศักดิ์พงศ์. (2552). ความพึงพอใจความต้องการและความคาดหวังของผู้รับบริการในคลินิกทันตกรรม กลุ่มพัฒนาความร่วมมือทันตสาธารณสุขระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ :
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.แบบรายงานกิจกรรมการรณรงค์จัดบริการทางทันตสาธารณสุข เนื่องในวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ 21 ตุลาคม 2557. (2557). โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ปฐมพงศ์ เปรินทร์. (2555). ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการของคลินิกทันตกรรมโรงพยาบาลเขื่องใน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้ารับบริการทันตกรรมพระราชทาน.(2555). สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2557, จาก http://doc.qa.tu.ac.th/documente/13.dentistry/dentistry
รายละเอียดการเตรียมการรับการเยี่ยมเพื่อประเมินระดับการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล. (2555). กรุงเทพฯ : คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.วันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2557, จากhttp://www.hfocus.org/content/2014/10/8426#sthash.twYfu4Qr.dpuf
วิภาวรรณ แก่นจันทร์หอม. (2551). ความพึงพอใจของผู้รับบริการทันตกรรมของโรงพยาบาลพญาไท 3 ในปี พ.ศ.2552. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
วิสุทธิ์สิตา ตัณสถิต. (2555). ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อส่วนประสมการตลาดบริการของแผนกทันตกรรม โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สรานันท์ อนุชน. (2556). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการบริการที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก, 14(3), 159-169.
สราพร คูห์ศรีวินิจ, ลภัสรดา กาญจนพัฒนากุล, ภฑิตา ภูริเดช. การใช้บริการทางทันตกรรมและความพึงพอใจต่อสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรม ในโครงการประกันสังคม: เปรียบเทียบปี พ.ศ.2548 และ พ.ศ.2549. ว.ทันต, 59(1), 39-50.
เอกอนงค์ อัตประชา. (2554). พฤติกรรมของผู้บริโภคในการใช้บริการจากคลินิกทันตกรรมพิเศษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.