การรับรู้แผนยุทธศาสตร์วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ของพนักงานระดับปฏิบัติการ

ผู้แต่ง

  • วรรณพันธุ์ อ่อนแย้ม

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2015.17

คำสำคัญ:

การรับรู้, แผนยุทธศาสตร์, พนักงานระดับปฏิบัติการ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาการรับรู้แผนยุทธศาสตร์วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดลของพนักงานระดับปฏิบัติการ และเพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการรับรู้แผนยุทธศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ประชากรของการวิจัย ได้แก่ พนักงานวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 131 คน  ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ค่าความเชื่อถือได้ของเครื่องมือโดยค่าสหสัมพันธ์วิธีของ Cronbach เท่ากับ 0.870 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า Independent-Samples T Test และค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Anova) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 63.4 เพศชายร้อยละ 36.3 มีอายุระหว่าง 31 – 35 ปี การศึกษาอยู่ระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์ทำงานที่วิทยาลัยฯ ระหว่าง 1 - 5 ปี และส่วนใหญ่สังกัดฝ่ายบริหาร จากการวิเคราะห์การรับรู้แผนยุทธศาสตร์ของพนักงานระดับปฏิบัติการพบว่ามากกว่าร้อยละ 60 รับรู้แผนยุทธศาสตร์ โดยระดับการรับรู้วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม ยุทธศาสตร์วิทยาลัยฯ ที่ 1- 7 อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนระดับการรับรู้ข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงานอยู่ในระดับน้อย ซึ่งมีระดับการรับรู้โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.846 สาเหตุของการไม่รับรู้เกิดจากพนักงานระดับปฏิบัติการไม่ได้รับการถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์จากผู้บังคับบัญชาทำให้ไม่ทราบรายละเอียดของแต่ละยุทธศาสตร์ การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการรับรู้แผนยุทธศาสตร์พบว่า พนักงานระดับปฏิบัติการที่มีเพศ อายุ ประสบการณ์ทำงาน และสังกัดงานที่แตกต่างกันมีการรับรู้แผนยุทธศาสตร์ไม่แตกต่างกัน แต่พนักงานระดับปฏิบัติการที่มีวุฒิการศึกษาที่แตกต่างกันมีการรับรู้ค่านิยม  แผนยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการวิจัย และยุทธศาสตร์ที่ 6 ความรับผิดขอบต่อสังคมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีข้อเสนอแนะว่าควรมีการประชาสัมพันธ์หลายๆ ช่องทาง เล่มแผนยุทธศาสตร์ควรมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อให้มีความเข้าใจที่ตรงกันมากขึ้น ควรมีการกระตุ้นเพื่อให้เกิดการรับรู้อย่างสม่ำเสมอ และควรสนับสนุนให้พนักงานระดับปฏิบัติการมีความรู้และมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของวิทยาลัยฯ มากยิ่งขึ้น

References

กันยา สุวรรณแสง. (2540). จิตวิทยาทั่วไป. สำนักพิมพ์ รวมสาร์น. 129.ฉัตรแก้ว ไชยคราม และประสาท อิสรปรีดา. (2555). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูโรงเรียนประถมศึกษา ในอำเภอธาตุพนมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์. นครพนม:มหาวิทยาลัยนครพนม.

ทรงพล ภูมิพัฒน์. (2540). จิตวิทยาทั่วไป. ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา ฝ่ายเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยศรีปทุม. 110.

นวลศิริ เปาโรหิตย์. (2535). จิตวิทยาทั่วไป. ภาควิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 14.

บรรยงค์ โตจินดา. (2543). องค์การและการจัดการ.สำนักพิมพ์ รวมสาส์น. 287.

รัจรี นพเกตุ. (2539). จิตวิทยาทั่วไปเรื่องการรับรู้. สำนักพิมพ์ประกายพรึก. 1.

ลักขณา สริวัฒน์. (2549). จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์. 50.

วิภาพร มาพบสุข. (2540). จิตวิทยาทั่วไป. สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ. 242.

สุชา จันทร์เอม. (2540). สุขภาพจิต. สำนักพิมพ์แพร่พิทยา. 119.

อุบลวรรณ ภวกานันท์และคณะผู้เขียน. (2554). จิตวิทยาทั่วไป. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Schiffaman; & Kanuk. (2000). Customer Behavior-Psychology Aspects. New Jersey: Prentice-Hall. 146.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-12-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย