ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อปัญหาของระบบลงทะเบียนออนไลน์บน OASIS (Online Access to Student Information Services) วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • กวิน ปลาอ่อน

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2015.16

คำสำคัญ:

ระบบลงทะเบียนออนไลน์, OASIS

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาต่อปัญหาของระบบลงทะเบียนออนไลน์บน OASIS 4 ด้าน คือ ด้านความเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน (User - friendly) ด้านความเร็วและความเสถียรของระบบ ด้านความถูกต้องของข้อมูล และด้านฟังก์ชั่นการใช้งาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักศึกษาของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2554-2555 จำนวน 392 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน  ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาเห็นด้วยกับปัญหาของระบบ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า นักศึกษาเห็นด้วยกับปัญหาด้านความเร็วของระบบและความเสถียรของระบบในระดับมาก ด้านความถูกต้องของข้อมูลและด้านฟังก์ชั่นการใช้งานในระดับปานกลาง ส่วนด้านความเป็นมิตรกับผู้ใช้งานอยู่ในระดับน้อย อีกทั้งนักศึกษาชายและหญิงมีความเห็นไม่แตกต่างกันเกี่ยวกับปัญหาด้านความเร็วและความเสถียรของระบบ โดยมีความคิดเห็นในด้านดังกล่าวในระดับมาก เมื่อพิจารณาปัญหาด้านความเร็วและความเสถียรของระบบเป็นรายข้อพบว่า นักศึกษาเห็นว่าระบบช้าเมื่อมีผู้ใช้งานพร้อมๆ กันเป็นจำนวนมากในระดับมากที่สุด ระบบไม่มีความเสถียรในระดับมาก การวิเคราะห์เปรียบเทียบโดยจำแนกตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล พบว่า นักศึกษาชายเห็นด้วยมากกว่านักศึกษาหญิงต่อปัญหาของระบบด้านความเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน ด้านความถูกต้องของข้อมูล และด้านการตอบสนองความต้องการใช้งานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีระดับความเห็นด้วยต่อปัญหาของระบบด้านความเร็วและความเสถียรของระบบ และด้านความถูกต้องของข้อมูลน้อยกว่าชั้นปีที่ 2 ชั้นปีที่ 3 ชั้นปีที่ 4 และที่สูงกว่าชั้นปีที่ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยวและการบริการมีระดับความเห็นด้วยต่อปัญหาของระบบด้านความเป็นมิตรกับผู้ใช้งานน้อยกว่าสาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศาสตร์ และสาขาวิชาการผลิตสื่อบันเทิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

รณชัย คงสกนธ์. (2549). คู่มือวัดความพึงพอใจของลูกค้า. สำนักพิมพ์ เบรนนิกซ์ บุ๊คส์. กรุงเทพฯ.

อุดมรัตน์ ทิวะทรัพย์ และคณะ. (2549). การสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ OASIS. นครปฐม: วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล.

คิตตี้พู; พศ ต่อศรีเจริญ, บรรณาธิการ. (2553). ใช้ให้เป็น เล่นให้เพลิน กับ facebook. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิตตี้กรุ๊ป.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-12-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย