ผลการตรวจทางอณูชีววิทยาของการขาดหายไปของยีนอัลฟาโกลบินในคนไทย จากประสบการณ์การให้บริการทางห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลศิริราช 12 ปี

ผู้แต่ง

  • วราภรณ์ กลมเกลา
  • อัจจิมา ตรีสุคนธ์
  • กชปิญชร จันทร์สิงห์
  • วิยการณ์ อินทรรุจิกุล
  • ปรียนันท์ ศิระประภาภัสส์
  • กลีบสไบ สรรพกิจ

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2016.14

คำสำคัญ:

แอลฟ่าธาลัสซีเมีย, การขาดหายไปของยีน, คนไทย

บทคัดย่อ

          แอลฟ่าธาลัสซีเมีย (gif.latex?\alpha ธาลัสซีเมีย) เป็นโรคโลหิตจางชนิดหนึ่งที่พบมากในคนไทย เกิดจากการสร้าง สายแอลฟ่าโกลบินซึ่งเป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดงลดลงหรือสร้างไม่ได้เลยทำให้เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นและแตกง่าย ผู้ป่วยอาจจะมีอาการซีดเพียงเล็กน้อยหรือปานกลางหรืออาจรุนแรงมากถึงกับเสียชีวิตได้ทั้งนี้แล้วแต่รูปแบบของความผิดปกติของยีนแอลฟ่าโกลบินซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการขาดหายไปของยีน ทั้งนี้เราสามารถตรวจหาความผิดปกตินี้ได้โดยวิธี gap-PCR ซึ่งเป็นวิธีทางอณูชีววิทยา

          ห้องปฏิบัติการสาขาวิชาโลหิตวิทยาและอองโคโลยี ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดให้บริการการตรวจวินิจฉัยการขาดหายไปของยีนแอลฟ่าโกลบินจำนวน 7 ชนิด ด้วยวิธี multiplex-gap PCR คือ ชนิด Southeast Asia (--SEA), Thai (--THAI), Filipino (--FIL), Mediteranean (--MED), -(gif.latex?\alpha)20.5, -gif.latex?\alpha4.2 และ -gif.latex?\alpha3.7  จากการให้บริการ 12 ปีที่ผ่านมาระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ.2545 – เดือนมีนาคม พ.ศ.2557 มีตัวอย่างเลือดคนไทยที่ส่งมาตรวจการขาดหายไปของยีนแอลฟ่าโกลบิน เป็นจำนวน 4,663 ตัวอย่าง ผลจากการตรวจวิเคราะห์พบการขาดหายไปของยีนแอลฟ่าโกลบินเพียง 4 ชนิด คือ ชนิด Southeast Asia (--SEA),Thai (--THAI), -gif.latex?\alpha3.7 และ -gif.latex?\alpha4.2 ที่ความถี่ของอัลลีลร้อยละ 12.7, 0.3, 12.0 และ 1.0 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับอัลลีลปกติที่มีความถี่ร้อยละ 74 โดยมีจีโนไทพ์ 12 แบบ คือ gif.latex?\alphagif.latex?\alpha/gif.latex?\alphagif.latex?\alpha, gif.latex?\alphagif.latex?\alpha/--SEA, gif.latex?\alphagif.latex?\alpha/-gif.latex?\alpha3.7, --SEA/-gif.latex?\alpha3.7, -gif.latex?\alpha3.7 /-gif.latex?\alpha3.7, gif.latex?\alphagif.latex?\alpha/-gif.latex?\alpha4.2, gif.latex?\alphagif.latex?\alpha/--THAI, --SEA/-gif.latex?\alpha4.2, -gif.latex?\alpha3.7/-gif.latex?\alpha4.2, --THAI/gif.latex?\alpha3.7, --SEA/--SEA และ -gif.latex?\alpha4.2/-gif.latex?\alpha4.2  ที่ความถี่ร้อยละ 55.03, 20.72, 15.40, 4.27, 1.99, 1.31, 0.49, 0.36, 0.24, 0.11, 0.06 และ 0.02 ตามลำดับ จากการศึกษาพบว่าในคนไทยพบความผิดปกติชนิด --SEA ได้บ่อยที่สุดจึงมีความเสี่ยงที่จะทำให้มีลูกเป็นโรคฮีโมโกลบินบาร์ตสไฮดรอพส์ฟิทัลลิสที่อันตรายถึงชีวิตได้ นอกจากนี้ยังมีความหลากหลายของจีโนไทพ์ของแอลฟ่าธาลัสซีเมีย ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานของรูปแบบของแอลฟ่าธาลัสซีเมียที่พบได้ในประเทศไทย

References

วราภรณ์ กลมเกลา, วิยการณ์ อุทโท, วิไลวรรณ จันทร์สิงห์, ปาริฉัตร พึ่งอัมฤทธิ์, วรวุฒิ จีนช้าง, วิปร วิประกษิต. การตรวจวินิจฉัยการขาดหายของยีนอัลฟ่าโกลบินที่พบบ่อย7 ชนิดด้วยวิธี Multiplex GAP PCR ในงานบริการประจำ. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด 2549; 18(1): 43-50.

Ahmad R, Saleem M, Aloysious NS, Yelumalai P, Mohamed N, Hassan S. Distribution of alpha thalassaemia gene variants in diverse ethnic populations in Malaysia: data from the institute formedical research. Int J Mol Sci 2013; 14, 18599-614.

Azma R Z, Ainoon O, Hafiza A, Azlin I, Noor Farisah AR, Nor Hidayati S, et alMolecular characteristic of alpha thalassaemia among patients diagnosed in UKM Medical Centr. Malaysian J Pathol 2014; 36(1) : 27 – 32

Chaibunruang A, Prommetta S, Yamsri S, Fucharoen G, Sae-ung N, Sanchaisuriya K, et al. Molecular and hematological studies in a large cohort of a0-thalassemia in northeast Thailand: Data from a single referral center. Blood Cells Mol Dis 2013; 51: 89-93.

Fucharoen S, Winichagoon P. Prevention and control of thalassemia in Asia.Asian Biomed 2007; 1(1): 1-6.

Harteveld CL, Higgs DR. a-Thalassaemia. Orphanet J Rare Dis 2010; 5: 13.

Ko TM, Hwa HL, Liu CW, Li SF, Chu JY, Cheung YP. Prevalence study and molecular characterization of alpha-thalassemia in Filipinos. Ann Hematol 1999; 78(8): 355-7.

Laosombat V, Viprakasit V, Chotsampancharoen T, Wongchanchailert M, Khodchawan S, Chinchang W, et al. Clinical features and molecular analysis in Thai patients with Hb H disease. Ann Hematol 2009; 88: 1185-92.

Miller SA, Dykes DD, Polesky HF. A simple salting out procedure for extracting DNA from human nucleated cells. Nucleic Acids Res 1988; 16(3): 1215.Piel FB, Weatherall DJ. The α-Thalassemias. N Engl J Med 2014; 371: 1908-16.

Sambrook J, Fritsch EF, Maniatis T. Molecular Cloning : A Laboratory Manual; 2nd ed. New York: Cold Spring Harbor Laboratory Press, 1989.

Tan AS, Quah TC, Low PS, Chong SS. A rapid and reliable 7-deletion multiplex polymerase chain reaction assay for a-thalassemia. Blood 2001; 98(1): 250-1.

Tritipsombut J, Sanchaisuriya K, Phollarp P, Bouakhasith D, Sanchaisuriya P, Fucharoen G, et al. Micromapping of thalassemia and hemoglobinopathies in different regions of northeast Thailand and Vientaine, Laos People’s Democratic Republic. Hemoglobin 2012; 36(1): 47–56.

Xu XM, Zhou YQ, Luo GX, Liao C, Zhou M, Chen PY, et al. The prevalence and spectrum of a- and a-thalassaemia in Guangdong province: Implications for the future health burden and population screening. J Clin Pathol 2004; 57: 517–22.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย