ปัจจัยที่ส่งผลต่อการถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล สู่พนักงานระดับปฏิบัติการ

ผู้แต่ง

  • วรรณพันธุ์ อ่อนแย้ม

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2016.11

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อรูปแบบและวิธีการถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์สู่พนักงานระดับปฏิบัติการ วิธีการศึกษาผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ด้วยค่าความถี่ ร้อยละ (Percent) ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่า Independent Samples T Test และ ค่า One-Way Anova วิเคราะห์หาค่าความเชื่อถือได้ของเครื่องมือ (Reliability) โดยค่าสหสัมพันธ์ Cronbach's alpha มีค่าเท่ากับ 0.933 ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยแจกแบบสอบถามแก่พนักงานระดับปฏิบัติการ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แบบสอบถามกลับคืนมาร้อยละ 89.55 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

          การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อรูปแบบและวิธีการถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์สู่พนักงานระดับปฏิบัติการ ผลการวิจัยพบว่า เพศชายและเพศหญิงมีระดับการรับรู้จากรูปแบบการถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์โดยการสื่อสารแบบปัจเจกบุคคลแตกต่างกัน ประชากรที่มีประสบการณ์ในการรับรู้แผนยุทธศาสตร์แตกต่างกัน มีระดับการรับรู้แผนยุทธศาสตร์จากรูปแบบการถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์โดยการสื่อสารทางเดียว การสื่อสารสองทาง การสื่อสารจากบนลงล่าง การสื่อสารแบบปัจเจกบุคคล และการสื่อสารแบบกลุ่มบุคคล แตกต่างกัน และมีระดับการรับรู้แผนยุทธศาสตร์จากวิธีการถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์โดยการถ่ายทอดผ่านสิ่งพิมพ์ ผ่านสื่อบุคคล และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แตกต่างกัน ประชากรที่มีอายุแตกต่างกัน มีระดับการรับรู้แผนยุทธศาสตร์จากรูปแบบการถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์โดยการสื่อสารทางเดียว การสื่อสารจากบนลงล่าง การสื่อสารตามแนวนอน การสื่อสารแบบกลุ่มบุคคลแตกต่างกัน ประชากรที่มีอายุแตกต่างกัน มีระดับการรับรู้แผนยุทธศาสตร์โดยวิธีการถ่ายทอดแผนยุทธศาตร์ผ่านสื่อบุคคล และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แตกต่างกัน ประชากรที่มีการศึกษาแตกต่างกันมีระดับการรับรู้แผนยุทธศาสตร์จากรูปแบบและวิธีการถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์ไม่แตกต่างกัน ประชากรที่มีประสบการณ์ทำงานที่แตกต่างกัน มีระดับการรับรู้แผนยุทธศาสตร์จากรูปแบบการถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์โดยการสื่อสารทางเดียว การสื่อสารจากบนลงล่าง การสื่อสารแบบกลุ่มบุคคลแตกต่างกัน และมีระดับการรับรู้แผนยุทธศาสตร์โดยวิธีการถ่ายทอดผ่านสื่อบุคคลแตกต่างกัน ประชากรที่สังกัดงานแตกต่างกัน มีระดับการรับรู้แผนยุทธศาสตร์จากรูปแบบการถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์โดยผ่านสื่อสารแบบกลุ่มบุคคลแตกต่างกัน และมีระดับการรับรู้แผนยุทธศาสตร์โดยวิธีการถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์ผ่านสิ่งพิมพ์ ผ่านสื่อบุคคล ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยสรุปวิทยาลัยฯ ควรคำนึงถึงอายุ ประสบการณ์ทำงาน และสังกัดงานที่แตกต่างกันของพนักงานระดับปฏิบัติการซึ่งจะมีผลทำให้การรับรู้แผนยุทธศาสตร์แตกต่างกัน 

References

กริช สืบสนธิ์. (2525). การติดต่อสื่อสารในองค์การ. กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กริช สืบสนธิ์ . (2537). วัฒนธรรมและพฤติกรรมการสื่อสารในองค์การ. กรุงเทพฯ: สำนักงานพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณรงค์ สมพงษ์. (2543). สื่อสารมวลชนเพื่องานส่งเสริม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ดาริกา จารุวัฒนกิจ. (2539). ปัจจัยการสื่อสารภายในองค์การที่มีผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานกลุ่ม บ. มินิแบร์ (ประเทศไทย) (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ทรงธรรม ธีระกุล. (2548). การสื่อสาร: กลยุทธ์สู่ความสำเร็จขององค์กร. วารสารปาริชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 18(1), 51-61.

ทองใบ สุชารี. (2542). ทฤษฎีองค์การ: วิเคราะห์ แนวคิด ทฤษฎีและการประยุกต์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). อุบลราชธานี: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

ทิชาพร เลิศสมบูรณ์. (2532). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการสื่อสารของผู้บังคับบัญชากับความพึงพอใจในการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชา: ศึกษาเฉพาะกรณีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ธิติภพ ชยธวัช. (2548). แม่ไม้บริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ ซี.พี. บุ๊ค แสตนดาร์ด.

นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์. (2525). หลักการบริหารการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ระวีวรรณ ประกอบผล. (2540). หลักและทฤษฎีการสื่อสาร (พิมพ์ครั้งที่ 13). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เรวัตร สมบัติทิพย์. (2543). การติดต่อสื่อสารในองค์การ: กรณีศึกษา บริษัท ซีเกต เทคโนโลยี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

วนาวัลย์ ดาตี้. (2553). กลยุทธ์การบริหารภาพลักษณ์องค์กร. พิษณุโลก: คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สมยศ นาวีการ. (2537). การติต่อสื่อสารขององค์การ. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์บรรณกิจ 1991 จำกัด.

สุรเชษฐ์ ชิระมณี. (2534). พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 3). สงขลา: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อภิษฎา วัฒนะเสวี, และชนะเกียรติ สมานบุตร. (2557). รูปแบบการสื่อสารและปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อประสิทธิภาพของการสื่อสารภายในองค์กร: กรณีศึกษา บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนไทยพาณิชย์ จำกัด. วารสารการเงินการลงทุนการตลาด และการบริหารธุรกิจ, 4(2), 597-611.

Dubrin, A.J. (1984). Foundation of Organization Behavior: An applied Perspective. Cambridge. New Jersy, United States of America: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย