ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาในหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • ลัชชา ชุณห์วิจิตรา
  • ณัฐวรรณ ครุฑสวัสดิ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2016.9

คำสำคัญ:

การตัดสินใจ, เลือกศึกษา, โรงเรียนทันตแพทยศาสตร์นานาชาติ, หลักสูตรนานาชาติ

บทคัดย่อ

         การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาในโรงเรียนทันตแพทยศาสตร์นานาชาติ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และเพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาในโรงเรียนทันตแพทยศาสตร์นานาชาติ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ของครอบครัว และอาชีพของผู้ปกครองที่แตกต่างกัน  โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นนักเรียนที่ต้องการสมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม จำนวน 20 ข้อ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 เป็นข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่  2  ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาในหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)  จำนวน 5 ตัวเลือก จากการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษามากเป็นอันดับแรกคือ ปัจจัยด้านบุคลากร มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.53 รองลงมาคือ ปัจจัยด้านการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.42 ผลการเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลกับเพศ  อายุ รายได้ของครอบครัว และอาชีพของผู้ปกครองพบว่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ

References

กาญจนา สมมิตร และคณะ. (2552). ความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในหลักสูตรนานาชาติของนักเรียนในจังหวัดเชียงใหม่. ทุนสนับสนุนการวิจัย. มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, เชียงใหม่.

กุลธิดา สิงห์สี. (2556). อุดมศึกษาไทยในอาเซียน รูปแบบ แนวโน้ม และทิศทางการปรับตัวในอนาคต. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 2, 13-23.

จิรากรณ์ ในฝัน. (2546). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกโรงเรียนนานาชาติของผู้ปกครองนักเรียนในจังหวัดเชียงใหม่. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

จุฑามาศ ชูจินดา, กิติยานภาลัย ภู่ตระกูล และณภัทร โชคธนินกุล. (2555). แรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกกษาปีที่ 6 และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปที่ 3 ในเขตจังหวัดนนทบุรี. นนทบุรี: วิทยาลัยราชพฤกษ์.

ธารินี พัชรเจริญพงศ์. (2554). ปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาหลักสูตรนานาชาติของนักศึกษาชาวต่างชาติในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี, ปทุมธานี.

ปวิณ พงษ์โอภาส, สมพร พวงเพ็ชร และรัชชนก สวนสีดา. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี. วารสารการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 5, 25 - 33.

ปิยนุช ทองทั่ว. (2552). ปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองนักเรียนไทยในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนนานาชาติหลักสูตรประเทศอังกฤษ ระดับประถมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, กรุงเทพ.

สุรพงษ์ คงสัตย์ และคณะ. การหาค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC). เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2558, จาก http://mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=656&articlegroup_id=146.

อรวรรณ แจขจัด. (2547). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนานาชาติของนักเรียนไทยระดับอินเทอมีเดียท โรงเรียนนานาชาติเอกมัย เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,กรุงเทพ.

QS University Rankings: Asia 2015. QS TOP UNIVERSITIES. เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2558, จาก http://www.

topuniversities.com/university-rankings/asian-university-rankings/2015#sorting= rank+region=+country=+faculty=+stars=false+search=.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย