การศึกษาวิเคราะห์การขอใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุดในมหาวิทยาลัยมหิดล(Mahidol Library Book Delivery Service) ของหอสมุดกลาง หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2016.6คำสำคัญ:
บริการยืมระหว่างห้องสมุด, หอสมุดและคลังความรู้, มหาวิทยาลัยมหิดล, ความพึงพอใจของผู้รับบริการห้องสมุดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงศึกษาวิเคราะห์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลของผู้รับบริการ การใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุดในมหาวิทยาลัยมหิดลของหอสมุดกลาง หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงและพัฒนาการบริการ และใช้ประกอบการตัดสินใจในการจัดซื้อ จัดหาทรัพยากรสารสนเทศเพิ่มเติมของหอสมุดกลาง หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้รับบริการที่ขอใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุดในมหาวิทยาลัยมหิดลของหอสมุดกลาง หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล จากระบบบริการยืมระหว่างห้องสมุดในมหาวิทยาลัยมหิดล ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2554 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2556 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิเคราะห์ คือ แบบบันทึกข้อมูลที่สร้างโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟท์เอ็กเซล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยการหาค่าความถี่ และร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า การขอใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุดในมหาวิทยาลัยมหิดลของหอสมุดกลาง หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดลในช่วงปี 2554 - 2556 มีแนวโน้มสูงขึ้น ผู้รับบริการขอใช้บริการหนังสือภาษาไทย คิดเป็นร้อยละ 64.93 มากกว่าหนังสือภาษาอังกฤษ คิดเป็นร้อยละ 35.07 วิทยาเขตพญาไทขอใช้บริการจัดส่งมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 66.94 วิทยาเขตศาลายาขอใช้บริการขอรับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 81.55 ผู้รับบริการที่มีสถานภาพปริญญาโท/เอกขอใช้บริการมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 33.59 หนังสือสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์มีผู้ขอใช้บริการมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 44.39 ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการบริการ คือ ควรเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ให้ผู้รับบริการทราบถึงบริการยืมระหว่างห้องสมุดในมหาวิทยาลัยมหิดลของหอสมุดกลาง หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรสารสนเทศอย่างคุ้มค่า ครอบคลุม และทั่วถึง และควรทำการบันทึกข้อมูลสำรองการขอใช้บริการ เพื่อป้องกันการสูญหายและสามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ต่อไปได้ ข้อเสนอแนะเพื่อการจัดซื้อ จัดหาทรัพยากรสารสนเทศเพิ่มเติมของหอสมุดกลาง การวิจัยพบว่า ผู้รับบริการขอใช้บริการขอรับสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ สิ่งพิมพ์ภาษาไทย และสิ่งพิมพ์สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์สุขภาพมากที่สุด โดยนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจในการจัดซื้อ จัดหาทรัพยากรสารสนเทศเพิ่มเติมของหอสมุดกลาง หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดลต่อไป
References
นวลลออ จุลพุ์ปสาสน์. (2542). การใช้บริการห้องสมุดและทรัพยากรสารนิเทศของผู้ใช้ห้องสมุดคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
ภาวณา เขมะรัตน์. (2554). รายงานผลการสำรวจการใช้บริการ “บริการหนังสือ ส่งถึงที่” Book Delivery Service ของสำนักบรรณสารการพัฒนาสถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
วิภา บุญแดง. (2546). การใช้หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ของอาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
วิลาวัณย์ ฉิมประเสริฐ. (2543). การใช้ทรัพยากรสารนิเทศของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
สิทธิชัย ลำธารทรัพย์. (2548). พฤติกรรมการใช้ห้องสมุดคุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร ของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
สุกัญญา แป้นสุขเย็น. (2542). พฤติกรรมการใช้ห้องสมุดของนิสิตปริญญาตรี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. (2554). ประวัติ. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2557, จากhttp://www.li.mahidol.ac.th/about/history-tha.php
หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. (2557). รหัสห้องสมุด. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2557, จาก http://www.li.mahidol.ac.th/service/code.php