ปัจจัยการตัดสินใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในการเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา

ผู้แต่ง

  • อัมพร สงคศิริ

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2016.25

คำสำคัญ:

โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา, การตัดสินใจ, นักศึกษา

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลในการเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา รวมทั้งศึกษาระดับความสำคัญของปัจจัยในโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยประเภท Cross-sectional study โดยใช้วิธีการวิจัยแบบสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 2 - 5 ในภาคการศึกษาที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2557 จำนวน 466 คน โดยใช้แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.89 โดยเก็บข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปของนักศึกษา และระดับความสำคัญของปัจจัยในโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาทั้งหมด 9 ด้าน ผู้วิจัยได้รับแบบสอบถามที่มีความสมบูรณ์จำนวนทั้งสิ้น 382 ชุด หรือคิดเป็นร้อยละ 82 ของประชากรที่ใช้ในการศึกษาทั้งหมด สำหรับนำไปวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และ ค่า F-test

         ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านเจ้าหน้าที่ต่างชาติฯ (mean=4.46+0.5) ด้านค่าครองชีพ (mean=4.31+0.61) ด้านทุนสนับสนุน (mean=4.23+0.54) และด้านสถานที่พักและสภาพแวดล้อม (mean=4.22+0.48) มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาในระดับมากที่สุด นอกจากนี้พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของนักศึกษาได้แก่ เพศ ชั้นปีที่เรียน และศาสนาที่นักศึกษานับถือมีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่อายุ เกรดเฉลี่ย และรายได้ของผู้ปกครองไม่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า นักศึกษาในภาพรวมให้ความสำคัญกับเรื่องการดูแลนักศึกษาโดยมหาวิทยาลัยคู่ความร่วมมือ ปัจจัยด้านการเงิน และสภาพแวดล้อมของสถานที่ๆ จะเดินทางไป นอกจากนี้การจัดการโครงการแลกเปลี่ยนอาจต้องคำนึงถึงปัจจัยส่วนบุคคลของนักศึกษาด้วย เนื่องจากนักศึกษาแต่ละกลุ่มอาจมีการตัดสินใจที่แตกต่างกัน

References

จีรภัทรา โรจนประภาพรรณ. (2546). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเดินทางไปต่างประเทศของคนไทย. (สารนิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, บัณฑิตวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะเภสัชศาสตร์. (2556). แผนยุทธศาสตร์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2556-2559. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

วทัญญู ขลิบเงิน. (2555). คุณลักษณะและทักษะที่จำเป็นสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในศตวรรษที่ 21. วารสารครุศาสตร์, 10(1), 65-80.

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน. (3 ตุลาคม 2557). ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คืออย่างไร?. สืบค้นจาก http://www.qlf.or.th/Home/Contents/417.

Chi, N. (2013). Absorbing Australian culture through the exchange program at RMIT International University in Vietnam. Journal ofInternational Education and Leadership, 3(1), 1-9. Retrieved from http://www.jielusa.org/wp-content/uploads/2012/01/Chi-Final.pdf.

Cowie, Milne A. (2013), Promoting culturally competent care: the Erasmus exchange programme. Nursing Standard, 27(30), 42-46.

Daly, A. (2011). Determinants of participating in Australian university student exchange programs. Journal of Research in International Education, 10(58), 58-70. DOI: 10.1177/1475240910394979.

Daly, A, & Barker, M. (2005). Australian and New Zealand university students' participation in international exchange program. Journal of Studies in International Education, 9(1), 26-41.

Daly, A., & Barker, M. (2010). Australian universities’ strategic goals of student exchange and participation rates in outbound exchange programmes. Journal of Higher Education Policy and Management, 32(4), 333-342.

Dedee, Lynda S., & Stewart, Stephanie. (2003). The effect of student participation in international study. Journal of Professional Nursing, 19(4), 237-242. DOI:10.1016/S8755-7223(03)00086-3.

Doyle, S., Gendall, P., Meyer, L., Hoek, J., Tait, C,; McKenzie, L., & Loorparg, A. (2010). An investigation of factors associated with student participation in study abroad. Journal of Studies inInternational Education, 14(5), 471-490. DOI: 10.1177/1028315309336032.

Guest, D., Livett, M., & Stone, N. (2006). Fostering international student exchanges for science students. Journal of Studies in International Education, 10(4), 378-395. DOI: 10.1177/1028315306287632.

Murphy, D., Sahakyan, N., Yong-Yi, D., & Magnan, Sally S. (2014). The impact of study abroad on the global engagement of university graduates. Frontiers: the Interdisciplinary Journal of Study Abroad, XXIV, 1-24.

Partnership for 21st Century Skills. (August 28th, 2016,). Framework for 21st century learning. Retrieved from http://www.p21.org/our-work/p21-framework.

Shieh, Carol.(2004).International exchange program: Findings from Taiwanese graduate nursing students. Journal of Professional Nursing, 20(1), 33-39.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย