ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการลงทะเบียนออนไลน์เพื่อสมัครเข้าร่วม โครงการฝึกอบรมของบุคลากรคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • นันธิดา ทีฆภาคย์วิศิษฏ์
  • จินดานนท์ ศิริรัตน์
  • สุภาภรณ์ นักฟ้อน

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2016.24

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, ลงทะเบียนออนไลน์, โครงการฝึกอบรม

บทคัดย่อ

         การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการลงทะเบียนออนไลน์เพื่อสมัครเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมของบุคลากรคณะทันตแพทยศาสตร์   มหาวิทยาลัยมหิดล 2) ระดับความพึงพอใจต่อการลงทะเบียนในระบบออนไลน์เพื่อสมัครเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมของบุคลากรคณะทันตแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้คือ บุคลากรสังกัดคณะทันตแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล ที่เคยลงทะเบียนในระบบออนไลน์เพื่อเข้าอบรมโครงการที่หน่วยพัฒนาทรัพยากรบุคคลจัดในปีงบประมาณ 2558  จำนวน 106 คน  ซึ่งได้มาจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีของ Taro Yamané ผู้วิจัยได้รับแบบสอบถามคืน 96 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 90.56 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าความพึงพอใจในการลงทะเบียนออนไลน์เพื่อสมัครเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมในด้านต่าง ๆ 3 ด้าน คือ ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์   ด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน  และด้านการใช้งานอุปกรณ์เข้าถึงระบบสารสนเทศ  ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS for Window ในการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (T-Test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way ANOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

         ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการลงทะเบียนออนไลน์เพื่อสมัครเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมของบุคลากรคณะทันตแพทยศาสตร์   มหาวิทยาลัยมหิดล เช่น ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านเพศ อายุ อายุงาน  ประเภทการจ้าง  สังกัด และระดับการศึกษา ที่แตกต่างกันพบว่าไม่มีผลต่อความพึงพอใจในการลงทะเบียนออนไลน์เพื่อสมัครเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมแตกต่างกัน   แต่ปัจจัยอื่นๆ ในด้านจำนวนชั่วโมงที่ใช้คอมพิวเตอร์ต่อวันที่แตกต่างกันมีผลต่อความพึงพอใจในการลงทะเบียนออนไลน์เพื่อสมัครเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  (Sig.= 0.018)

         ส่วนบุคลากรมีระดับความพึงพอใจต่อการลงทะเบียนออนไลน์เพื่อสมัครเข้าร่วมโครงการฝึกอบรม ในภาพรวมและรายด้านทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ (gif.latex?\bar{x} =4.12, SD = 0.74)  รองลงมาคือ ด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน  (gif.latex?\bar{x} = 3.90, SD = 0.83)  และด้านการใช้งานอุปกรณ์เข้าถึงระบบสารสนเทศ (gif.latex?\bar{x} = 3.60, SD = 0.94) ตามลำดับ

References

กรรณิการ์ กงพาลี. (2555). การยอมรับเทคโนโลยี สารสนเทศเพื่อการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต7. ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย. เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, กรุงเทพฯ.

นงลักษณ์ สวัสดิผล. (2541). เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

นพรัตน์ วินิจเจริญชัย. (2554). ความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบการจองห้องสื่อโสตของห้องสมุด: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม. สารนิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีมหานคร, กรุงเทพฯ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์นพนิดา

น้อยศรี. (2549). ปัจจัยในการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาของครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 2. ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, ลพบุรี.

พรรณทิพา แอดำ. (2549). การยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศของข้าราชการสานักงานปลัดกระทรวงพลังงาน.รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะทันตแพทยศาสตร์. (2558). โครงสร้างคณะทันตแพทยศาสตร์ปี 2558. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2558, จาก http://www.dt.mahidol.ac.th/division/th_Planning_Unit/index.php/2014-12-15-08-17-24.

มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะทันตแพทยศาสตร์. (2558). รายงานข้อมูลบุคลากร เดือนพฤศจิกายน 2558. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2558, จาก http://www.dt.mahidol.ac.th /division/th_Compensation_and_Employee_Data_Unit/images/data/8-12-8/11-58/1/1-3.pdf

มหาวิทยาลัยมหิดล, สำนักงานอธิการบดี. (2558). แผนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2559-2562. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2558, จาก https://www.mahidol.ac.th/th/strategic-plan-mu/strategic-plan-mu_2559-2562.pdf

มหาวิทยาลัยมหิดล, สำนักงานอธิการบดี. (2559). มาตรการประหยัดพลังงานและการใช้ ทรัพยากร กองเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานอธิการบดี. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2559, จาก http://www.muit.mahidol.ac.th/green/index.php/post/1?lang=TH.

ฤทัยชนนี สิทธิชัย. (2540). เทคโนโลยีสารสนเทศรวมบทวิทยุรายการห้องสมุดลอยฟ้า. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2558, จาก http://sureechayaom.blogspot.com/2012/07/blog-post_9532.html

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2557). การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือการวิจัย. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2559, จาก http://rlc.nrct.go.th/ewt_dl.php?nid=988.

วิสาขา ดีประเสริฐกุล. (2551). ความพึงพอใจในการใช้งานระบบบันทึกคะแนนและตัดเกรด: กรณีศึกษา โรงเรียนบริหารธุรกิจและพณิชยการ. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2540). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริศักดิ์ สุขชื่น. (2540). การนำนโยบายเทคโนโลยี สารสนเทศแห่งชาติไปปฏิบัติ: ศึกษาเฉพาะกรณีสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

สุทธนู ศรีไสย์. (2551). สถิติประยุกต์สำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพฯ :คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อารี พันธ์มณี. (2546). จิตวิทยาสร้างสรรค์การเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ใยไหม

เอมมิกา เหมมินทร์. (2556). พฤติกรรมการใช้และความคิดเห็นเกี่ยวกับผลที่ได้จากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Media) ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย