ผลประเมินความพึงพอใจเบื้องต้นในการปรับปรุง ระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ (มูเดิล) สำหรับนักศึกษาแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • ธวัชชัย ก้านศรีรัตน์
  • พรชนก นุชนารถ
  • เกรียงศักด์ บุญถวิล

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2016.23

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, ระบบบริหารจัดการการเรียนรู้, มูเดิล, นักศึกษาแพทย์, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

บทคัดย่อ

         การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจเบื้องต้น  ของระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ (มูเดิล) ของนักศึกษาแพทย์  คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี  ที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ พร้อมทั้งขอชื่อเว็บไซต์ย่อยชื่อใหม่เพื่อความสะดวกในการเข้าถึง ระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ (มูเดิล) ที่ปรับปรุงใหม่ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามแบ่งแบบมาตราส่วน 5 ระดับ การตอบแบบสอบถามเป็นตามความสมัครใจ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เป็นนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 3 เรียนรายวิชา RAID 303 บทนำทางเวชศาสตร์คลินิก ปีการศึกษา 2557 จำนวน 80 คน หลังจากนั้นนำแบบสอบถามที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติมาหาค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ผลการศึกษาพบว่า การประเมินความพึงพอใจโดยรวมทั้งหมด เกี่ยวกับระบบการเรียนการเรียนรู้ (มูเดิล) ที่ปรับปรุงขึ้นใหม่นี้ มีค่าเฉลี่ย (Mean) รวม = 3.69 อยู่ในระดับที่มาก สำหรับผลการศึกษาที่ออกมาจะเป็นแนวทางที่ดีในการมุ่งสู่การพัฒนาการใช้ระบบการจัดการเรียนรู้  เพื่อสร้างความพึงพอใจที่ดีให้กับนักศึกษาแพทย์ที่เป็นผู้ใช้งานต่อไป

References

กฤษณา สิกขมาน. (2555). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการสื่อสารภาษาอังกฤษธุรกิจโดยการใช้การสอนแบบ E-Learning มหาวิทยาลัยศรีปทุม ปีการศึกษา 2554. รายงานวิจัย, มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพฯ.

จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2554). โครงการตำราอีเลิร์นนิ่งโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย หลักการออกแบบเว็บไซต์ทางการศึกษา:ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ:สยามพริ้นท์

จรูญศักดิ์ แก้วกล่า. (2556). การสร้างสื่อการเรียนการสอนวิชาระบบคอมพิวเตอร์กราฟิกด้วย blogger ของนักศึกษาระดับชั้น ปวช.2/13สาขางานคอมพิวเตอร์กราฟิก. วิทยาลัยเทคโนโลยีการจัดการเพชรเกษม ปีการศึกษา 2556 ค้นเมื่อ 5 มกราคม 2558 จาก สมาคมอาชีวะศึกษาเอกชนจังหวัดลำปาง เว็บไซด์:http://pvca-ri.com/myfile/120913142130_1.pdf

ฐาปนีย์ ธรรมเมธา. (2557). อีเลิร์นนิง: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ e-Learning: from theory to practice. นนบุรี: บริษัท สหมิตรพริ้งติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (มปป). Center Best Practice in Teaching with e-Learning ค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2559, จาก thanompo เว็บไซต์ : http://thanompo.edu.cmu.ac.th/load/BestPracticenew.pdf

ณัฐพล รัตนเวโรจนวิไล. (2552). ความพึงพอใจของนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตกล้วยน้ำไทต่อการให้บริการของโรงภาพยนตร์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ สาขาเอกมัย กรุงเทพมหานคร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.

ทีมอีเลิร์นนิ่งนักศึกษาแพทย์ งานบริหารทรัพยากรการเรียนรู้. (2558). สรุปผลดำเนินการแผนการพัฒนาอีเลิร์นนิ่งสำหรับนักศึกษาแพทย์รามาธิบดี “โครงการการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาสื่อการสอนและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา” เอกสารสรุปผลการดำเนินงาน, กรุงเทพฯ : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ธัญญลักษณ์ วจนะวิศิษฐ. (2557). การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์. วารสารเกื้อการุณย์, 21(1), 103.

บุญชม ศรีสะอาด. (ไม่ปรากฏปีพิมพ์). การแปลผล เมื่อใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลแบบมาตราส่วนประมาณค่า. ค้นเมื่อ 4 กันยายน 2557. จาก วัดผลจุดคอม วัดผล สถิติ และวิจัยทางการศึกษา เว็บไซต์: http://www.watpon.com/boonchom/05.doc.

ผกาสอน พูนพิพัฒน์ ภัทรชัย ลลิตโรจน์วงศ์ และพิชัย สดภิบาล. (2546). องค์ประกอบที่ต้องคำนึงในการพัฒนา e-Learning.สาร NECTEC, 10(50), 23-31.

พงศ์พัทธ์ มังคละคีรี และวราวุธ บัวชุม. (2014). การประยุกต์ใช้บทเรียนอีเลิร์นนิ่ง (E-Learning) ช่วยในการจัดการความรู้ วิชาปฏิบัติเทคนิคการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี, April30, 2014 Bangkok, Thailand

ภัทรดร จั้นวันดี. (2557). การศึกษาทัศนคติและความพึงพอใจของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครเกี่ยวกับการนำระบบ E – learning. ค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2559, จากวารสารมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เว็บไซต์: http://www.journal.msu.ac.th/index.php?page=show_journal_article&j_id=5&article_id=59

ยาซีเราะห์ เจะหลง, อีซัน สะแต, ณัฐณิชา ดาวประดับ, นารีหม๊ะ นิมะ, สุรียานี เจะเละ และนูรฮายาตี ปิตาราโซ. (2556). ความพึงพอใจของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ในการใช้บริการอินเทอร์เน็ต ของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. รายงานวิจัย หลักสูตรการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์,มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. ยะลา

วิจิตร สมบัติวงศ์. (2549). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning). ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

วิทยบริการสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดตรัง. (2555). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการให้บริการด้านการจัดการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง. รายงานวิจัยมหาวิทยาลัยรามคำแหง, สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ, ตรัง.

วรรณวิมล จงจรวยสกุล. (2551). ความพึงพอใจในการบริการของงานทะเบียนและวัดผล. รายงานวิจัย วิทยาลัยราชพฤกษ์. กรุงเทพฯ.

วรัสยารี จิรพัฒน์เจริญ. (2554). การพัฒนาและการทดสอบสัมฤทธิผลและความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้ บทเรียนอีเลิร์นนิ่ง. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ} กรุงเทพฯ.

สมหมาย เปียถนอม. (2551). ความพึงพอใจของนักศึกษาในการได้รับการบริการจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, นครปฐม.

สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์, พรชนก นุชนารถ, รุจิรา เลิศกิตติวรากุล และธวัชชัย ก้านศรีรัตน์. (2558). การฝึกอบรมการใช้อีเลิร์นนิ่งเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนทางการแพทย์ด้วยระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ (มูเดิล), วารสารธรรมศาสตร์เวชสาร, 15(1), 63

สวณี เต็งรังสรรค์. (2557). การใช้ E-Learning เป็นสื่อการเรียนเสริมหัวข้อรูปแบบการศึกษา ทางวิทยาการระบาดของนักศึกษาแพทย์ปีที่ 5, วารสารธรรมศาสตร์, 33(3), 104-114

สุวลี บัวสุวรรณ์, พัฒนาพร ดอกไม้ และปัญญาพร แสงสมพร. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาที่ใช้อีเลิร์นนิงเติมเต็มการเรียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. รายงานวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, กรุงเทพฯ.

สุเนตร สืบค้า. (2554). โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสร้างห้องเรียนออนไลน์ด้วย Moodle e-learning. รายงานผลโครงการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมเกษตร, มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย