การวิเคราะห์กระบวนการเก็บข้อมูลด้านการวิจัย กรณีศึกษาคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • พัชรนินท์ ธนทรัพย์บุรโชติ
  • ศศิธร สำราญจิต

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2016.19

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, ระดับความพึงพอใจ 5 ระดับ, ลิเคิร์ทสากล, ข้อมูลด้านการวิจัย, คณะทันตแพทยศาสตร์, คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

บทคัดย่อ

          การวิเคราะห์กระบวนการเก็บข้อมูลด้านการวิจัย คณะทันตแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจของอาจารย์  นักวิจัย  เจ้าหน้าที่สายสนับสนุน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางศึกษาผลสำเร็จในกระบวนการเก็บข้อมูลด้านการวิจัย และตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของบุคลากร เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับผู้บริหารในการวางแผนและพัฒนาระบบบริหารจัดการกระบวนการเก็บข้อมูลด้านการวิจัย ดังนั้นการสำรวจความพึงพอใจในครั้งนี้จึงเป็นกลไกอย่างหนึ่งในการพัฒนากระบวนการเก็บข้อมูลด้านการวิจัยของคณะทันตแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล

          จากการวิเคราะห์กระบวนการเก็บข้อมูลด้านการวิจัย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  โดยดำเนินการเก็บข้อมูลความพึงพอใจจากกลุ่มประชากร จำนวน  277 คน  พบว่า ร้อยละ  58.1  ของอาจารย์ นักวิจัย  เจ้าหน้าที่สายสนับสนุนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ให้ความร่วมมือโดยการให้ความคิดเห็นในการสำรวจความพึงพอใจเป็นมาตรส่วนประมาณ 5 ค่า ระดับของลิเคิร์ท (Likert  Scale) จากแบบสอบถาม และพบว่าระดับความพึงพอใจของแต่ละหัวข้อมี ดังนี้ การวางแผนการจัดเก็บข้อมูลวิจัยของคณะทันตแพทยศาสตร์ คะแนนเฉลี่ย 3.28 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง ความพึงพอใจต่อกระบวนการเก็บข้อมูลด้านการวิจัย คะแนนเฉลี่ย 3.15  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง โอกาสในการพัฒนากระบวนการเก็บข้อมูลด้านการวิจัย คะแนนเฉลี่ย 3.74 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก การกำหนดเกณฑ์ การกรอกข้อมูลผลงานวิจัยในหน่วยงาน คะแนนเฉลี่ย 3.74 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก การเผยแพร่ข้อมูลด้านการวิจัย  คะแนนเฉลี่ย 3.35  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง  

          จากภาพรวมทุกหัวข้อการประเมินระดับความพึงพอใจได้คะแนนเฉลี่ย  3.45  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง ผลการศึกษาพบว่า ตำแหน่งทางวิชาการของสายวิชาการได้แก่ อาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์  รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ส่งผลต่อตัวแปรด้านการวางแผนการจัดเก็บข้อมูลวิจัยของคณะทันตแพทยศาสตร์  ความพึงพอใจต่อกระบวนการเก็บข้อมูลด้านการวิจัย และโอกาสในการพัฒนากระบวนการเก็บข้อมูลด้านการวิจัยอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (p< 0.05)

References

จุฑาภรณ์ คำโยค, วลัยพร ราชคมน์, วรัญญา เขยตุ้ย. ความต้องการรับบริการทันตกรรมและความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการของโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ. MahidolR2R e-Journal. 2558; 2: หน้า 77-88.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. พรมแดนความรู้ด้านการวิจัยและสถิติ. ใน: เนาวรัตน์ พลายน้อย, ชัยยันต์ ประดิษฐ์ศิลป์, จุฑามาส ไชยรบ,บรรณาธิการ. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจมหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี; 2543. หน้า 121-125.

บุญธรรม จิตต์อนันต์. การวิจัยทางสังคมศาสตร์(การเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัย). พิมพ์ครั้งที่ 2. สุวีริยาสาส์น; 2540. หน้า 91-92.

ปาริชาติ สถาปิตานันท์. เครื่องมือวิธีการที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล.ระเบียบวิธีวิจัยการสื่อสาร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์; 2546. หน้า 163 - 165.

สมชาย วรกิจเกษมสกุล. การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2554; 265-296. เข้าถึงได้จาก www.udrc.ac.th.

อุทุมพร ไวฉลาด, วันทนีย์ โพธิ์กลาง. ศึกษาความพึงพอใจของบัณฑิตที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. Mahidol R2R e-Journal. 2557; 1: 2: หน้า 55-75.

Best JW. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey: PrenticeHall, Inc; 1977.

Wade M Vagias, editor. Likert-type scale response anchors. Clemson InternationalInstitute for Tourism & Research Development. Department of Parks. Recreation and Tourism Management: Clemson University; 2006

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย