การใช้บริการงานพัสดุของบุคลากรในวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • สาวิตรี พิชญชัย
  • ณัชชา พวงสมบัติ

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2016.18

คำสำคัญ:

การบริการ, งานพัสดุ, วิทยาลัยนานาชาติ, มหาวิทยาลัยมหิดล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาความพึงพอใจของการให้บริการงานพัสดุ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล และ 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการให้บริการงานพัสดุ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล และนำมาปรับปรุง/แก้ไขการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประชากรที่ศึกษาเป็นบุคลากรที่ทำงานในหน่วยงานต่างๆ ของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล และมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 คน ซึ่งได้แบบสอบถามกลับมาร้อยละ 100 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows (Statistical Package for the Social Sciences for Windows) ผลการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจในการได้รับบริการงานพัสดุในด้านต่างๆ ของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ในภาพรวมทั้งหมด อยู่ในระดับปานกลางถึงมาก และเมื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านประชากร กับความพึงพอใจในการได้รับบริการงานพัสดุในด้านต่างๆ ของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า อายุ มีผลต่อความพึงพอใจที่ได้รับบริการงานพัสดุในด้านต่างๆ มากที่สุด รองลงมาคือ เพศ และระยะเวลาการทำงาน ส่วนข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะต่อการได้รับบริการงานพัสดุในด้านต่างๆ ของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า พนักงานส่วนใหญ่ไม่ทราบและไม่เข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอน กฎเกณฑ์ วิธีการจัดซื้อ/จัดจ้าง และระเบียบพัสดุ, ไม่ได้รับข้อมูลความคืบหน้าการจัดซื้อวัสดุ/ครุภัณฑ์ ว่าดำเนินการถึงขั้นตอนไหน และจะได้รับของเมื่อไหร่, อยากให้พัสดุกับหน่วยงบประมาณจัดทำขั้นตอนและข้อกำหนดในการจัดซื้อต่างๆ , ขาดสถานที่จัดเก็บวัสดุอุปกรณ์ที่เสื่อมสภาพเมื่อเวลาหน่วยงานส่งคืน, น่าจะมีข้อมูลวัสดุคงคลังที่ Update อยู่ใน Website หรือแจ้งทางอีเมล์ให้ทราบเป็นระยะ, ไม่เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการขอจองงบประมาณครุภัณฑ์ (รหัสใบสั่งงานภายใน Internal Order (IO) ในแต่ละปีของระบบ ERP, อยากให้อธิบายขั้นตอนการส่งซ่อมอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น

References

ก้องกิต ตันติวิภาวิน. (2555). ความพึงพอใจในการให้บริการของงานพัสดุ ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม, กรุงเทพมหานคร.

ไกรษร แก้วกล้า. (2540). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อการบริการไปรษณีย์: ศึกษาเฉพาะกรณีที่ทำการไปรษณีย์อำนาจเจริญ. ภาคนิพนธ์ปริญญาพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

ชนะ กล้าชิงชัย. (2541). ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อบริการของธนาคารไทยพาณิชย์ สาขา บังบูรณ์ จังหวัดศรีษะเกศ. ภาคนิพนธ์พัฒนาบริหารศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์,กรุงเทพมหานคร.

ชรินี เดชจินดา. (2530). ความพึงพอใจขอผู้ประกอบการต่อศูนย์บริการกำจัดกากอุตสาหกรรมแขวงแสมดำเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล,นครปฐม.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.

เนตร หงษ์ไกรเลิศ และคณะ. (2550). การประเมิน ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลบางกระทึก. สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตำบลบางกระทึก, นครปฐม.

พนิดา โวทานัง. (2542). ความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลต่อระบบนิเทศงานสาธารณสุข: กรณีศึกษาจังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาประชากรศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล,นครปฐม.

มณีวรรณ ตั้นไทย. (2533). พฤติกรรมการให้บริการของเจ้าหน้าที่กองควบคุมสำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยาต่อประชาชนผู้มาติดต่อ. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,กรุงเทพมหานคร.

วิรุฬ พรรณเทวี. (2542). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของหน่วยงานกระทรวงมหาดไทย ในอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,เชียงใหม่: .

เวทิสา กาญจนแก้ว. (2544). ความพึงพอใจของประชาชนผู้มาใช้บริการต่อการจัดการสวนสาธารณะ: กรณีศึกษาสวนสาธารณะหนองประจักษ์ จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อม, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล,นครปฐม.

สรชัย พิศาลบุตร. (2549). สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ทำได้ง่ายนิดเดียว. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: บริษัท วิทยพัฒน์ จำกัด.

สุพัตรา บุนนาค. (2533). การพัฒนาระบบการบริหารวัสดุของโรงพยาบาลการไฟฟ้านครหลวง.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาการบริหารโรงพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล,นครปฐม.

อมร รักษาสัตย์. (2522). ทฤษฎีผู้ตาม, ในอนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพศาสตราจารย์มาลัย หุวะนันทน์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น. Gilmer, V.B. (1966). Industrial and Organization Psychplogy. New York: McGraw Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย