อาหารและโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • เกณิกา จันชะนะกิจ

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2016.15

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, อาหารและโภชนาการ, การออกกำลังกาย, การตรวจสุขภาพ, สุขภาพกาย, สุขภาพจิต

บทคัดย่อ

           อาหารและโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ แต่ละช่วงวัยควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเป็นอาหารที่  รสไม่จัด ในกรณีที่มีโรคเรื้อรังด้วยควรหลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นอันตรายต่อโรคไม่ควรรับประทานมากเกินไป หมั่นออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัย            

           ผู้สูงอายุ หมายถึง ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งโดยทั่วไปมักประสบปัญหาโรคภัยทางร่างกายและจิตใจที่ บั่นทอนความสามารถในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้น้อยลงกว่าที่เคยทำมา ดังนั้น การเตรียมสภาพแวดล้อมทั้งด้านการบริการด้านสุขภาพและการสร้างสภาพแวดล้อมด้านจิตใจให้เหมาะสม เพื่อต่อสู้กับปัญหาด้านโรคภัยและจิตใจนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้สูงอายุ การรับประทานอาหารที่ดี ก็เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง ที่ช่วยพัฒนาสมองและความทรงจำ สร้างความกระปรี้กระเปร่าและภูมิต้านทานโรคให้กับผู้สูงอายุได้ ดังนั้น การออกแบบรูปแบบการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกายที่ดี โดยคำนึงถึงช่วงวัยและสภาพร่างกายของผู้สูงอายุ ก็จะมีส่วนช่วยให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุได้เช่นกัน ผู้สูงอายุควร ลด ละ เลิก การดื่มสุราและการสูบบุหรี่และหมั่นตรวจสุขภาพประจำปี รวมถึงควรออกกำลังกายเป็นประจำอาทิตย์ละ 3 – 4 ครั้ง ซึ่งจะช่วยป้องกัน และช่วยส่งเสริมความแข็งแรงของร่างกาย เพิ่มการยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เพื่อต่อสู้กับโรคต่างๆ  ที่มักเกิดขึ้นในวัยนี้ได้ นอกจากนี้ การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมทางจิตใจ ให้ผู้สูงอายุมีโอกาสทางสังคมกับบุคคลอื่นๆ เพิ่มขึ้นสร้างความมั่นใจและโอกาสที่ได้พึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น ก็จะช่วยป้องกันความรู้สึกยึดติดกับอดีต  และลดความเหงาและซึมเศร้าสำหรับคนในวัยนี้ได้ 

References

เจษฎา พาชิมภาพ และ ชุมพล บัวแย้ม. (2558, 13 เมษายน). เคล็ดลับการกินให้ชีวิตยืนยาว, หมวดสุขภาพความงาม. นิตยสารแมกเก็ตติ้ง. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2559, จาก www.oknation.net/blog/magketing.

นพมาศ สุนทรเจริญนนท์. (2559). ผัก ผลไม้ ที่ควรระวังในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2559, จาก http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/141.

ปิยนุช โรจน์สง่า. (2558). ธาลัสซีเมีย กินอย่างไรให้เหมาะสม. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2559, จาก www.pharmacy.mahidol.ac.th.ประมวล คิดคินสัน. (มปท.) วัยท้าย วัยทอง. กรุงเทพฯ : แพร่พิทยา.

แพรวพรรณ สุริวงศ์. (2559). ภัยเงียบ อาหารฟาสต์ฟู้ด. สืบค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2559 จาก http://www.pharmacy.mahidol.ac.th.

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2559). วิตามินบำรุงสายตา. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2559, จาก www.thaibodycare.com.

รัชนีวรรณ เอี่ยมลาภะ. (2558). กระดูกพรุนภัยเงียบของทุกช่วงวัย. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2559,จาก http://www.sc.mahidol.ac.th.

ริญ เจริญศิริ และ รัชนี คงคาฉุยฉาย. (2551). โภชนาการกับผลไม้. นครปฐม : สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล; นครปฐม.

สุพัตรา แสงรุจิ. (2555). อาหารผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2559, จาก http://www.si.mahidol.ac.th/th/division/hph/admin/news_files/145_49_1.pdf.

สุวินัย บุษราคัมวงษ์. (2557). ผลเสียของการกินแคลเซียมเม็ดเป็นประจำ. ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2559, จาก www.manager.co.th.

หมอชาวบ้าน. (2557, 1 กรกฎาคม). 10 ผลไม้วิตามินซีสูงปรี้ด สกัดหวัด เสริมภูมิคุ้มกัน. ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2559, จาก www.manager.co.th.

อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล. (2558, 22 มีนาคม). วิตามินดี Vitamin D. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2559, จาก www.oknation.net/blog/DIVING/.

Albersmeyer M, Hilge R, Schrottle A, Weiss M, Sitter T, Vielhauer V. (2012). Acute kidney injury after ingestion of rhubarb : secondary oxalate nephropathy in a patient with type 1 diabetes. BMC Nephrol 30(13): 141.

Chang JM, Hwang SJ, Kuo HT, Tsai JC, Guh JY, Chen HC, et al. Fatal outcome after ingestion of star fruit (Averrhoa carambola) in uremic patients. Am J Kidney Dis 2000; 35(2): 189-93.

Food for healthy. (2559). อาหารที่ผู้สูงวัยต้องเลี่ยงให้ไกล. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2559, จาก http://kaijeaw.com.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-30

ฉบับ

บท

บทความทางวิชาการ