ผลของการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์ต่อการรับรู้และ การนำแผนปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์ไปปฏิบัติของพนักงานสายสนับสนุน วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • กวิน ปลาอ่อน

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2017.16

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การรับรู้, แผนปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์ต่อการรับรู้และการนำแผนปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์ไปปฏิบัติของพนักงานสายสนับสนุน ประชากรของการวิจัย ได้แก่ พนักงานสายสนับสนุนของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 131 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS โดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า Independent – Samples T Test ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One - Way ANOVA) และค่าสหสัมพันธ์ (Correlation Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ประชากรส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 60.00) รูปแบบความรู้ความเข้าใจที่ประชากรส่วนใหญ่ได้รับเกี่ยวกับการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ คือ การประชุม อบรม สัมมนา (ร้อยละ 36.60) มีการศึกษาแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยฯ แผนปฏิบัติงานของหน่วยงาน และคู่มือการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ก่อนลงมือจัดทำแผนปฏิบัติการฯ เป็นบางครั้ง (ร้อยละ 47.50) และระบุว่าผู้บังคับบัญชาให้คำแนะนำการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ทุกครั้งที่มีการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ (ร้อยละ 38.60)  จากการวิเคราะห์การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ การรับรู้แผนปฏิบัติการฯ  และการนำแผนปฏิบัติการฯ ไปปฏิบัติ พบว่า พนักงานสายสนับสนุนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x} = 3.83) มีการรับรู้แผนปฏิบัติการฯ ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x} = 4.03) และมีส่วนร่วมในการนำแผนปฏิบัติการฯ ไปปฏิบัติในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x} = 3.67)  การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ การรับรู้ และการนำแผนปฏิบัติการฯ ไปปฏิบัติ พบว่า พนักงานสายสนับสนุนที่มีเพศ ส่วนงานที่สังกัด และระยะเวลาการปฏิบัติงานที่แตกต่างกันมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนปฏิบัติการฯการรับรู้แผนปฏิบัติการฯ  และการนำแผนปฏิบัติการฯ ไปปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ กับการรับรู้แผนปฏิบัติการฯ และการมีส่วนร่วมในการนำแผนปฏิบัติการฯไปปฏิบัติของพนักงานสายสนับสนุนมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และการรับรู้แผนปฏิบัติการฯ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการมีส่วนร่วมในการนำแผนปฏิบัติการฯ ไปปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01  

References

1. ใจชนก ภาคอัต. (ม.ป.ป.). รายงานการวิจัยการรับรู้และการมีส่วนร่วมของบุคลากร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ในการพัฒนาคุณภาพสถาบันสู่ความเป็นเลิศ ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ. สืบค้นจาก http://planning.nida.ac.th/main/images/Planning%20Division/QA/AjJA-ResearchTQA25551-5.pdf

2. ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2540). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนกับโรงเรียนประถมศึกษาในเขตปริมณฑลกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

3. ทวีป ศิริรัศมี. (2544). การวางแผนพัฒนาและประเมินผลโครงการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.ประชุม รอดประเสริฐ. (2539). นโยบายและการวางแผน: หลักการและทฤษฎี. กรุงเทพฯ: เนติกุลการพิมพ์.พระกิตติชัย ปัญญาธโร (สินคง). (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, ปทุมธานี.

4. วรรณพันธุ์ อ่อนแย้ม. (2558). การรับรู้แผนยุทธศาสตร์วิทยาลัยนานาชาติของพนักงานระดับปฏิบัติการ วิทยาลัย. Mahidol R2R e-Journal, 2(2). สืบค้นจาก http://www.r2r.mahidol.ac.th/publish/2558-1.pdf

5. เสนาะ กลิ่นงาม. (2542). การวางแผนและการบริหารโครงการ. เพชรบุรี: สถาบันราชภัฏเพชรบุรี.

6. เสนาะ ติเยาว์. (2543). หลักการบริหาร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (ม.ป.ป.). เอกสารเพื่อการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ หมายเลข 010. สืบค้นจาก http://www.opdc.go.th/oldweb/Knowledge/File_download/1151037467-1.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย