แนวทางการพัฒนาการให้บริการด้านข้อมูลและบริการอื่นของ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ภาควิชาวิทยาระบบบดเคี้ยว คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • เฉิดฉวี กิตติกุลพันธ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2017.15

คำสำคัญ:

ผู้ให้บริการ, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้ข้อมูลที่ครบถ้วน  ถูกต้องและชัดเจน  ความสะดวกรวดเร็วในการได้รับข้อมูลหรือบริการจากผู้ให้บริการ  ความพึงพอใจด้านเจ้าหน้าที่  ด้านผู้รับบริการ  ด้านสภาพแวดล้อมและความพร้อมของอุปกรณ์ในการติดต่องาน  รวมทั้งศึกษาข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อหาแนวทางพัฒนาการให้บริการข้อมูลและบริการอื่นของผู้ให้บริการ  กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ติดต่อขอข้อมูลหรือรับบริการ จำนวน 514 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล  สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สถิติที่ใช้ในการทดสอบ คือ สถิติทดสอบแบบเอฟ (F – test) ค่าความแปรปรวน (ANOVA)  และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ (LSD)

          ผลจากการวิจัยพบว่า  ผู้รับบริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 71.80  ช่วงอายุที่มารับบริการมากที่สุด คือ ช่วงอายุ 20 - 30 ปี คิดเป็นร้อยละ 79.40  กว่าร้อยละ 92  มีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่ากว่าร้อยละ 78  มีอาชีพเป็นนักศึกษาทันตแพทย์  ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่องานบริการของผู้ให้บริการอยู่ในระดับมาก  โดยมีค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x})  ความพึงพอใจอยู่ระหว่าง 3.68-4.08  โดยเฉพาะความสะอาดเรียบร้อยบริเวณที่มาติดต่องาน  ผู้รับบริการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด  (gif.latex?\bar{x} = 4.08 ± 0.68)  ส่วนการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี พูดจาสุภาพและให้บริการด้วยความยิ้มแย้มของผู้ให้บริการพบว่า ผู้รับบริการมีความพึงพอใจในระดับน้อยที่สุด  (gif.latex?\bar{x} = 3.68 ± 0.89)  จากการวิจัยพบว่า กลุ่มประชากรส่วนใหญ่ที่เป็นนักศึกษาทันตแพทย์มีความพึงพอใจในการได้รับบริการแตกต่างจากเจ้าหน้าที่ภายในและบุคลากรภายนอกส่วนงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  เมื่อแบ่งตามระดับการศึกษาพบว่า ผู้รับบริการที่มีการศึกษาระดับอนุปริญญาส่วนใหญ่จะมีความพึงพอใจในการได้รับบริการแตกต่างจากผู้ที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า  ระดับปริญญาโทและปริญญาเอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ทั้งนี้ด้านสภาพแวดล้อมและความพร้อมของอุปกรณ์ในการติดต่องานกลับพบว่า  กลุ่มประชากรและระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อการได้รับบริการไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่เมื่อพิจารณาจากช่วงอายุกลับพบว่า  ช่วงอายุที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อการได้รับบริการแตกต่างกันมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประชากรและระดับการศึกษา โดยเฉพาะผู้ที่มีช่วงอายุระหว่าง 41 - 50 ปี 

 

References

1. กิจภรณ์ เอื้อตรงจิตต์, อรสา พันธ์ภักดี, และอภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ. (2555). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง. วารสารสภาการพยาบาล, 27(2), 5-16.

2. ณัฐพร ปิ่นประภา, และธรรมนิตย์ วราภรณ์. (ม.ป.ป.). ความพึงพอใจในการบริการงานทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชนของเทศบาลเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2558, จาก http://bkk.umdc.tsu.ac.th/

3. บุริม โอทกานนท์. (2552). มัดใจพนักงานสู่ความพอใจลูกค้า WRITTEN BY SUPER USER. POSTED IN MK ARTICLES. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2558, จาก http://inside.cm.mahidol.ac.th/mkt/index.

4. สมิต สัชฌุกร. (2550). การต้อนรับและบริการที่เป็นเลิศ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สายธาร.แสงเทียน อยู่เถา. (2557). การรังสรรค์งานวิชาการ.(พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: กอล์ฟ กราฟฟิคแอนด์พริ้นติ้ง.

5. Siriphattrasophon, S. & Thanaphikhuptanon, P.(2011). RELATIONSHIPS BETWEEN PERCIEVED SERVICE QUALITY, PATIENT SATISFACTION AND LOYALTY : A CASE OF PRIVATE HOSPITAL IN BANGKOK. KKU Res. J. (be) 10(2), 160-172.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย