การศึกษาความต้องการของคณาจารย์ในสังกัดคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ระหว่างการค้นคว้าข้อมูลจากสื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบตัวเล่มและความต้องการค้นคว้าข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบออนไลน์

ผู้แต่ง

  • เกรียงศักด์ บุญถวิล
  • ธวัชชัย ก้านศรีรัตน์
  • พรชนก นุชนารถ

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2017.14

คำสำคัญ:

ความต้องการของคณาจารย์, การค้นคว้าข้อมูล, สื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบตัวเล่ม, สื่ออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบออนไลน์, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

บทคัดย่อ

         การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาสถานที่ค้นคว้าข้อมูลของคณาจารย์ และระดับความต้องการของคณาจารย์ที่ใช้บริการค้นคว้าข้อมูลจากห้องสมุด งานบริหารทรัพยากรการเรียนรู้ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล การค้นคว้าข้อมูลแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ  ค้นคว้าข้อมูลจากสื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบตัวเล่ม และจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบออนไลน์  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นคณาจารย์ในสังกัด คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี  ตอบแบบสอบถามโดยสมัครใจ จำนวน 151 คน สถิติที่ใช้สำหรับการแปลผลข้อมูล คือ ค่าร้อยละ          ผลการศึกษาพบว่า สถานที่ค้นคว้าข้อมูลของคณาจารย์  มีการค้นคว้าข้อมูลทั้งภายในและภายนอก  คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยส่วนใหญ่เป็นการค้นคว้าข้อมูลอยู่ภายในคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สำหรับความต้องการค้นคว้าข้อมูล พบว่าคณาจารย์ส่วนใหญ่ต้องการใช้วารสารภาษาอังกฤษและหนังสือภาษาอังกฤษ  ที่เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบออนไลน์มากกว่าการค้นคว้าข้อมูลด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบออนไลน์ที่เป็นวารสารภาษาไทยและหนังสือไทย นอกจากนี้  ยังมีความต้องการค้นคว้าข้อมูลด้วยวารสารภาษาอังกฤษและหนังสือภาษาอังกฤษที่เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบออนไลน์มากกว่าการค้นคว้าข้อมูลจากวารสารภาษาไทยและหนังสือภาษาไทยที่เป็นสิ่งพิมพ์รูปแบบตัวเล่มเช่นกัน

References

1. จิตพิสุทธิ์ จันตะคุต. (มปป). ความสำคัญของภาษาอังกฤษ. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2559, จาก https://sites.google.com/site/krujitpisut/khwam-sakhay-khxng-phasa-xangkvs

2. จุฑามาศ ปานคีรี. (2554). วิชาการใช้ห้องสมุดเรื่อง การศึกษาค้นคว้าและการเขียนรายงาน. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2559, จาก https://www.gotoknow.org/posts/440950+

3. ชมพูนุช บุญญวรรณ. (2544). ปัญหาและความต้องการสืบค้นข้อมูลสารนิเทศบนอินเทอร์เน็ตของอาจารย์และแพทย์ของห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; เชียงใหม่.

4. สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2557). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับฐานข้อมูลออนไลน์และฐานข้อมูลฟรีออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2559, จาก https://library. kku.ac.th/freedatabase/index.php?option=com_content&view=article&id=204&Itemid=7

5. โสภี อุณรุท. (2541). การศึกษาการใช้วารสารวิชาการภาษาต่างประเทศของอาจารย์และนิสิตห้องสมุดคณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (รายงานวิจัย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; กรุงเทพฯ.

6. นพวรรณ เขื่อนเพชร. (2555). การเปรียบเทียบปัจจัยความต้องการของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในการใช้บริการห้องสมุดและการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2558, จาก http://library.cmu.ac.th/faculty/econ/Exer751409/2555/Exer2555_no119

7. นิดา เพ็ชร์พิรุณ. (2540). ความต้องการใช้ทรัพยากรห้องสมุดของอาจารย์และนักเรียนเพื่อการเรียนการสอนในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง. (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยรามคำแหง; กรุงเทพ.

8. นันทินี ปาจินะ. (2546). ศึกษาความต้องการใช้บริการศูนย์วิทยบริการของนักศึกษาสถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม; พิษณุโลก.

9. ลัดดา บุญเปลี่ยนพล. (2014). การใช้วารสารวิชาการของคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.วารสารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ, 3 (1), 38-44

10. วัชรีย์พร คุณสนอง. (2546). การใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ของคณาจารย์มหาวิทยาลัยบูรพา. (วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา; ชลบุรี.

11. วันทนีย์ แสนภักดีธน . (2552). วิชาการวิจัยตลาด:การค้นคว้าเอกสารและรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2560, จาก http://management.aru.ac.th/mnge/images/pdf/ebook/wanthanee/marketing/chapter4.pdf

12. มะลิวรรณ สุวรรณพฤกษ์ . (2546). การใช้ทรัพยากรห้องสมุดเพื่องานวิจัยและการสอนของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์. (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์; กาฬสินธุ์

13. ศรีสุภา นาคธน . (2549). การรู้สารสนเทศ. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2559, จากhttp://library.tru.ac.th/images/academic/book/b56244/11chap8.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย